จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ว่างให้เช่าและประเภทธุรกิจในพื้นที่เจริญกรุง-คลองสาน
by พีรดร แก้วลาย; ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า
จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ว่างให้เช่าและประเภทธุรกิจในพื้นที่เจริญกรุง-คลองสาน | |
Types of Businesses and Rental Space Database in Chareon krung-klongsan | |
พีรดร แก้วลาย
ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การจัดงาน Bangkok Design Week ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงศักยภาพทางด้านการออกแบบ ศิลปะ วัฒนธรรม เศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการก่อให้เกิดการสนับสนุนผู้ประกอบการ นักออกแบบ และชุมชนในพื้นที่ ทั้งในด้านของการพัฒนากายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการจัดเตรียมงานที่มีศักยภาพ และเหมาะสมกับพื้นที่ ดังนั้น โครงการจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ว่างให้เช่า และประเภทธุรกิจในพื้นที่เจริญกรุง-คลองสานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดรายละเอียดในการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมทั้งในเชิงกายภาพของพื้นที่ และรูปแบบหรือประเภทธุรกิจในพื้นที่สำหรับการจัดทำฐานข้อมูลภายในพื้นที่เจริญกรุง-คลองสาน ได้แบ่งพื้นที่การเก็บข้อมูลออกเป็น 3 พื้นที่ได้แก่ (1) พื้นที่บริเวณถนนเจริญกรุง (2) พื้นที่บริเวณถนนเจริญนคร และ (3) พื้นที่บริเวณถนนเจริญรัถ และกำหนดรายละเอียดในการเก็บข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดเตรียมงาน Bangkok Design Week และใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาพื้นที่เจริญกรุง-คลองสานให้เป็นย่านสร้างสรรค์ โดยแบ่งเป็น 4 รายการข้อมูล ได้แก่ (1) ลักษณะทางกายภาพ (2) ประเภทการใช้งานอาคาร (3) ประเภทธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจขายของ ธุรกิจบริการ และธุรกิจสร้างสรรค์ (ธุรกิจที่มีกระบวนการคิดสร้างสรรค์/ ออกแบบ) โดยธุรกิจบริการและธุรกิจสร้างสรรค์จะถูกนับเป็นธุรกิจเฉพาะด้าน (4) ที่ว่าง บ้านว่าง อาคารว่าง โดยเก็บข้อมูลในส่วนของกายภาพ เช่น ระบบสาธารณูปโภค การเข้าถึง ฯลฯ และรูปแบบการถือครองที่ดิน ตลอดจนผู้ดูแลพื้นที่ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า พื้นที่สำรวจทั้ง 3 พื้นที่ จำนวนธุรกิจส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่เจริญกรุงพื้นที่เจริญนคร และพื้นที่เจริญรัถ ตามลำดับ มีธุรกิจรวมทุกประเภทจำนวน 1,879 ตำแหน่ง โดยธุรกิจที่มีจำนวนสูงที่สุดสามลำดับแรก ได้แก่ ธุรกิจประเภทขายอาหาร ร้อยละ 13.46 ธุรกิจขายจิวเวลรี่และเครื่องเงิน ร้อยละ 13.04 และธุรกิจค้าขายอื่นๆ ร้อยละ 8.62 มีจำนวนธุรกิจเฉพาะด้านรวมทุกประเภททั้งหมด 584 ตำแหน่ง โดยมีสำนักงานทั่วไปสูงที่สุดเป็นอันดับแรก ร้อยละ 16.61 ธุรกิจบริการช่างฝีมือ/งานช่าง และธุรกิจบริการอื่น ๆ ร้อยละ 13.01 และธุรกิจบริการเสริมความงาม/ สปา-นวด ร้อยละ 9.93 ตามลำดับ มีธุรกิจที่มีกระบวนการคิดสร้างสรรค์/ ออกแบบจำนวน 30 ตำแหน่ง จำแนกธุรกิจออกเป็นธุรกิจสร้างสรรค์ประเภทช่างฝีมือ/งานช่างจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 20 ธุรกิจสร้างสรรค์ประเภทเครื่องหนัง ธุรกิจสร้างสรรค์ประเภทจิวเวลรี่และเครื่องเงิน ร้อยละ 14.55 และธุรกิจสร้างสรรค์บริการออกแบบ ร้อยละ 10.91 และในการเก็บข้อมูลพื้นที่ว่าง พบว่า ทั้ง 3 พื้นที่มีที่ว่างทั้งหมด 107 ตำแหน่ง แบ่งเป็นพื้นที่เจริญกรุง 74 ตำแหน่ง พื้นที่เจริญนคร 18 ตำแหน่ง และพื้นที่เจริญรัถ 15 ตำแหน่ง โดยพื้นที่ว่างส่วนมากมีตำแหน่งอยู่ไม่ห่างจากเส้นทางการสัญจรหลัก และมีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์เป็นส่วนใหญ่ |
|
Bangkok Design Week
พื้นที่เจริญกรุง-คลองสาน |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ(TCDC) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/421 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|