Show simple item record

dc.contributor.authorกฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง
dc.contributor.authorสายันต์ ศิริมนตรี
dc.contributor.authorบุรฉัตร ฉัตรวีระ
dc.contributor.authorนรินทร์ วัฒนกุล
dc.contributor.authorวชิรา พรหมสาขา ณ สกลนคร
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-06-05T02:48:48Z
dc.date.available2018-06-05T02:48:48Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/417
dc.description.abstractการจัดทำคู่มือการตรวจสอบสะพานกาญจนาภิเษกในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบสะพานกาญจนาภิเษกสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม มีการสำรวจ เก็บบันทึกข้อมูล และติดตามผลการปฏิบัติงานซึ่งจะทำให้การตรวจสอบ ซ่อมแซมและบำรุงรักษาสะพานเป็นไปอย่างต่อเนื่องให้สะพานมีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย มีอายุการใช้งานยาวนานต่อไป และเป็นการบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาว คู่มือการตรวจสอบสะพานกาญจนาภิเษก ประกอบด้วยข้อมูลทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องของสะพาน องค์ประกอบและรหัสชิ้นส่วนของโครงสร้างสะพาน หลักการ ขั้นตอนและวิธีการสำรวจสภาพและความชำรุดเสียหายของสะพาน การประเมินระดับความเสียหายและผลกระทบที่มีต่อการใช้งานและความปลอดภัยของสะพาน แบบฟอร์มในการตรวจสอบสะพานและเก็บบันทึกข้อมูล รวมถึงแนวทางในการทดสอบวัสดุแบบไม่ทำลาย (NDT) และการซ่อมบำรุงสะพานเบื้องต้น ตลอดจนแผนงานและระยะเวลาในการตรวจสอบสะพานเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงการตรวจสอบแบบพิเศษที่นอกเหนือจากการตรวจสอบปกติ หรือเป็นการตรวจสอบแบบฉุกเฉินในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติทางธรรมชาติหรือเหตุการณ์ที่มนุษย์เป็นผู้กระทำและกระทบต่อความปลอดภัยในการใช้งานของสะพาน เช่น อุบัติเหตุไฟไหม้ การชนของรถบรรทุกขนาดใหญ่ การก่อการร้าย แผ่นดินไหว หรือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นเป็นต้น ซึ่งจะมีผลให้การบริหารจัดการ ตลอดจนการบำรุงรักษาสะพานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อเหตุการณ์ สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพการใช้งานที่เป็นปัจจุบันของสะพาน ผลการดำเนินงานได้ครอบคลุมถึงการติดตั้งหมุดตรวจถาวรและหมุดอ้างอิง และได้ทำการตรวจวัดค่าพิกัดและค่าระดับของโครงสร้างสะพานกาญจนาภิเษกเพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบและติดตามการเปลี่ยนแปลงเชิงรูปร่าง (Bridge Geometrical Identity) ของสะพานรวมถึงการเคลื่อนตัวที่ผิดปกติของโครงสร้างส่วนบน (Superstructure) และโครงสร้างส่วนล่าง (Substructure) ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสะพานได้รับความเสียหายหรือเมื่อเกิดภัยพิบัติรุนแรง พร้อมทั้งได้ทำการตรวจสอบลักษณะทางกายภาพเชิงปริมาณ และการตรวจวัดคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชิ้นส่วนโครงสร้างสะพานกาญจนาภิเษก เพื่อจัดทำเป็นข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบและตรวจติดตาม รวมถึงเป็นข้อมูลประกอบในการซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้างสะพานในอนาคต นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์และทำการออกแบบเบื้องต้นสำหรับระบบเฝ้าติดตามพฤติกรรม (Bridge Health Monitoring System, BHMS) สำหรับสะพานกาญจนาภิเษก เพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยสามารถนำไปใช้ในการวางแผนและดำเนินการติดตั้งระบบเฝ้าติดตามพฤติกรรมของโครงสร้างสะพานที่มีประสิทธิภาพในอนาคต เป็นระบบที่สามารถตรวจสอบและประเมินความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพานได้อย่างต่อเนื่อง ถูกต้อง รายงานผลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และได้จัดทำร่างขอบเขตของงาน (Term of Reference : TOR) พร้อมการประมาณราคาสำหรับระบบเฝ้าติดตามพฤติกรรมของโครงสร้างสะพานกาญจนาภิเษกเพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปth
dc.description.abstractAn inspection manual for Kanchanapisek Bridge is established with the aims to provide bridge officers a systematic and efficient procedure for bridge inspection and maintenance of Kanchanapisek Bridge structure to remain in safe and good conditions and prolong bridge life-cycle. The inspection manual consists of bridge technical information, bridge components and member inspection codes, inspection types, procedures and methods, bridge damage evaluation and condition rating, inspection forms and records as well as nondestructive testing and bridge maintenance, and inspection plan. The manual also includes emergency or special inspection in case of disasters, such as fire and explosion, vehicle collision, earthquake, etc. In addition, the tasks carried out covers installation of surveying markers and measurement of bridge alignment and profile for references to monitor bridge movement in future. Furthermore, a preliminary design of a bridge health monitoring system (BHMS) is presented for a systematic structural monitoring of Kanchanapisek Bridge structure.th
dc.description.sponsorshipการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectคู่มือth
dc.subjectการตรวจสอบสะพานกาญจนาภิเษกth
dc.titleจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำคู่มือการตรวจสอบสะพานกาญจนาภิเษก
dc.title.alternativeKanchanapisek bride inspection manual
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
cerif.cfProj-cfProjId2560A00297
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษา
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรมก่อสร้าง (Building sector : BU)
turac.contributor.clientการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record