Show simple item record

dc.contributor.authorวราวุธ เสือดี
dc.contributor.authorสรณ์ สุวรรณโชติ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-06-05T02:34:39Z
dc.date.available2018-06-05T02:34:39Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/415
dc.description.abstractโครงการศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลปีงบประมาณ 2560 เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ คุณภาพอากาศ ระดับเสียง และความสั่นสะเทือน ตามแนวสายทางของทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ภายหลังเปิดดำเนินโครงการ ตามที่ระบุไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเสนอมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากทางพิเศษหากผลการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมมีค่าเกินกว่าค่ามาตรฐาน และเพื่อศึกษาการจำแนกแหล่งกำเนิดเสียงบริเวณจุดที่มีระดับเสียงมีแนวโน้มหรือเกินค่ามาตรฐานของทางพิเศษบูรพาวิถี เพื่อทราบระดับเสียงที่เกิดขึ้นว่ามาจากแหล่งกำเนิดใด รวมถึงพัฒนาระบบฐานข้อมูลคุณภาพสิ่งแวดล้อมของ กทพ. ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับข้อมูลของ กทพ. ที่มีอยู่ ผลการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ – 5 เมษายน 2560 ทั้งสิ้น 13 สถานี พบว่า ด้านคุณภาพอากาศมีค่าผลการตรวจวัดในทุกพารามิเตอร์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทุกสถานีตรวจวัด ส่วนคุณภาพสิ่งแวดล้อมในด้านระดับเสียงมีการตรวจวัดทั้งสิ้น 17 สถานี พบว่า ในภาพรวมแล้วผลการตรวจวัดตามแนวสายทางต่างๆ มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งกำหนดให้ค่า Leq 24 hr จะต้องไม่เกินกว่า 70 dBA ยกเว้นเพียงค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (Leq 24 hr) บริเวณโรงพยาบาลบางนา 1 และ บริษัท นำแสงเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในแนวสายทางบูรพาวิถี ซึ่งมีค่าเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป โดยมีค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (Leq 24 hr) อยู่ในช่วง 70.3-71.5 และ 70.9-71.3 เดซิเบลเอ ตามลำดับ จากการศึกษาจำแนกแหล่งกำเนิดเสียงบริเวณดังกล่าวพบว่า แหล่งกำเนิดเสียงหลักมาจากการจราจรบนทางหลวงสายบางนา-ตราด และในด้านความสั่นสะเทือนซึ่งมีการตรวจวัดทั้งสิ้น 10 สถานี พบว่า มีค่าผลการตรวจวัดอยู่ในระดับที่ไม่มีผลต่อโครงสร้างอาคารใดๆ ตามมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร ในทุกสถานีตรวจวัดth
dc.description.abstractThe Study on Environmental Monitoring Program of Express Ways in Bangkok and Vicinity in Fiscal Year 2017 was the program provided by the Expressway Authority of Thailand (EXAT). The objectives of the program were to follow up the mitigations to reduce the environmental impacts and do the environment monitoring program as proposed in the Environmental Impacts Assessment (EIA) report of the project. The program monitored the quality of the environment, air quality, noise and vibration levels, along the express ways in Bangkok and vicinity. The express ways in this program were Chalerm Maha Nakhon Expressway, Chalong Rat Expressway, Burapha Withi Expressway, Bang Na - At Narong Expressway and Bang Phli - Suk Sawat Expressway. Objectives of the project included verification and identification of noise sources for the Burapha Withi Expressway at the locations where the measured noise levels valid the standard. The third objective was to improve the environmental quality data base on EXAT’s website for the new set of data. The environmental quality monitoring program was conducted during 19 February to 5 April 2560 and the results were concluded. For air quality, result from 13 stations, the air quality at all stations and all parameters were found below the Thai Ambient Air Quality Standard. For noise levels monitored at 17 stations, almost noise levels at the stations were found below the Thai General Ambient Noise Standard which limits the Leq 24 hr to not over 70 dBA excepted for the Leq 24 hr monitored at Bangna 1 Hospital and Namsaeng Engineering Co;Ltd. which locate along Burapha Withi Expressway. The leq 24 hr at the locations were found in the ranges of 70.3-71.5 and 70.9-71.3 dBA respectively. From the verification and identification of noise sources study found that the main noise was from Bangna-Trad Highway. The vibration levels were monitored at 10 stations, comparing to Thai Vibration to Protect Building Standard, the monitored levels at all stations were found in the level of no impact to any kind of building.th
dc.description.sponsorshipการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectผลกระทบสิ่งแวดล้อมth
dc.subjectตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมth
dc.titleศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปีงบประมาณ 2560
dc.title.alternativeThe Study on Environmental Monitoring Program of Expressways in Bangkok and Vicinity in Fiscal Year 2017
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
cerif.cfProj-cfProjId2560A00003
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)
turac.contributor.clientการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record