จัดทำระบบแสดงผลวิเคราะห์ในเชิงนโยบาย (Policy Impact)
by นิจ ตันติศิรินทร์
จัดทำระบบแสดงผลวิเคราะห์ในเชิงนโยบาย (Policy Impact) | |
Creating a visualizing system foe policy impact analysis | |
นิจ ตันติศิรินทร์ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และอัญมณี โดยภาคตะวันออกนั้นเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทยมาหลายทศวรรษ ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินในภูมิภาคจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โรงงานกลั่นน้ำมันและท่อก๊าซธรรมชาติ นิคมอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงการที่ดินในภาคการเกษตร โดยการเปลี่ยนแปลงภายใต้การเจริญเติบโตของเมืองและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แบบจำลองเซลลูลาร์ออโตมาตา (Cellular Automata; CA) และแบบจำลองบนพื้นฐานพฤติกรรมผู้กระทํา (Agent-Based Model; ABM) เป็นวิธีการที่นิยมกันมากใช้ในการวิเคราะห์และการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของระบบที่มีความซับซ้อน เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์ที่ต่างจากแบบจำลองแบบอื่นที่ใช้กันมานานซึ่งเป็นการประเมินหรือคาดการณ์จากการเปลี่ยนแปลงค่าคงที่หรือตัวแปร เป็นวิธีการวิเคราะห์แบบบนลงล่าง (Top-Down Approach) แต่ที่อิงกับผลการเปลี่ยนแปลงหรือพฤติกรรมของหน่วยวิเคราะห์หรือปัจเจกบุคคล เป็นวิธีการวิเคราะห์แบบล่างขึ้นบน (Bottom-Up Approach) ในการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินที่จําเป็นจะต้องทําความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ซึ่งรวมถึงเจ้าของที่ดิน ผู้อยู่อาศัย ธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐ และผู้วางนโยบาย โดยปฏิสัมพันธ์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่และเมืองนั้นมีความซับซ้อน ซึ่งแบบจำลองระบบซับซ้อน (Complex System) เช่น CA และ ABM นั้นสามารถนํามาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบายต่างๆ ได้ดี อีกทั้งการพัฒนาของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems) ทําให้ระบบฐานข้อมูลและการวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองระบบซับซ้อนนั้นมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานกับความซับซ้อนของระบบพื้นที่ (Spatial Structure) ผลของการวิเคราะห์เบื้องต้นของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินด้วยแบบจำลอง CA-Markov พบว่า ในช่วง พ.ศ. 2550-2555 มีการแปลงเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพืชไร่และพืชสวนเป็นประเภทไม้ยืนต้นค่อนข้างสูง และมีพื้นที่ที่มีความน่าจะเป็นสูงในการเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพืชไร่อยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากชายฝั่งทะเล ซึ่งตรงกันข้ามกับความน่าจะเป็นในการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่เมืองที่จะมีค่าสูงในพื้นที่ที่ใกล้ชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่ที่มีความน่าจะเป็นสูงที่สุดในการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่เมือง คือ พื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่เบ็ดเตล็ด สำหรับในช่วง พ.ศ. 2550-2559 ความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพืชไร่และพืชสวนเป็นไม้ยืนต้นมีค่าสูงมาก ที่ประมาณร้อยละ 37 และ 31 ตามลำดับ และการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่เบ็ดเตล็ดมีการแปลงเปลี่ยนเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่เมืองยังคงสุดที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทการใช้ที่ดินอื่นๆ โดยมีค่าความน่าจะเป็นที่ร้อยละ 17
ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของภาคตะวันออกพบว่า ในช่วง พ.ศ. 2550-2559 พื้นที่นาข้าวและพืชไร่มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นและพืชสวนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแบบเกษตรกรรมยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก จากการเก็บข้อมูลเกษตรกร พบว่า มีแนวโน้มการปลูกข้าวลดลง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และพบว่ามีการปลูกพืชผสมผสานเพิ่มมากขึ้น โดยข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามจะนำไปใช้ในการสร้างแบบจำลอง ABM ของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งมีตัวแปรสำคัญ คือ (1) ลักษณะพืชที่ปลูก (พืชสวนหรือพืชไร่ ชนิดของพืช) (2) รายได้-รายจ่าย ของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม (3) ประสบการณ์ในการปลูก (จำนวนปีทีประกอบอาชีพ) (4) กรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกินเป็นอย่างไร (เช่าหรือเป็นเจ้าของ) (5) มีลูกหลานประกอบอาชีพนี้ต่อหรือไม่ (6) นโยบายรัฐมีส่วนในการสนับสนุนการเลือกชนิดพืชอย่างไร โดยผลจากการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลอง ABM จะสามารถนำไปวิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น รายได้ และความเหลื่อมล้ำทางรายได้ เป็นต้น ในขั้นตอนถัดไป |
|
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
แบบจำลอง Cellular Automata – Markov แบบจำลอง Agent-based ประเทศไทย Land use change Cellular Automata-Makov agent-based model Thailand |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/388 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|