การแปรรูปวัสดุชีวมวลจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการประยุกต์ใช้งานเป็นแผ่นดูดซับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
by ศรุต อำมาตย์โยธิน
การแปรรูปวัสดุชีวมวลจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการประยุกต์ใช้งานเป็นแผ่นดูดซับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม | |
Development of cellulose based composite for membrane material in industrial wastewater treatment | |
ศรุต อำมาตย์โยธิน | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำหรับงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวัสดุเชิงประกอบของแบคทีเรียเซลลูโลสและพอลิเอทิลีนไกลคอล ซึ่งออกแบบเป็นแผ่นเยื่อบางขึ้นโดยการสกัดแบคทีเรียเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าวผสมกับพอลิเอทิลีนไกลคอล พบว่า พอลิเอทิลีนไกลคอลจะแทรกตัวเข้าไปในโครงสร้างรูพรุนของโครงร่างตาข่ายแบคทีเรียเซลลูโลส โดยศึกษาโครงสร้างทางจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) อย่างไรก็ตามวัสดุเชิงประกอบเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างกันจากการศึกษาโครงสร้างและหมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิค FTIR โดยที่หมู่ไฮดรอกซิลของทั้งแบคทีเรียเซลลูโลสและพอลิเอทิลีนไกลคอลสร้างพันธะระหว่างกัน นอกจากนี้ยังมีค่าการเสถียรทางความร้อนได้สูงถึง 300 องศาเซลเซียส ด้วยเทคนิค TGA เมื่อทดสอบค่าศักย์ซีต้ามีค่าประจุไฟฟ้าอยู่ที่ -40 มิลลิโวลต์ และยังมีการศึกษาความมีขั้ว (polarity) ของวัสดุด้วยค่าไดอิเล็กทริกอีกด้วย อีกทั้งยังทำการทดสอบการดูดซับไอออนโลหะโครเมียม พบว่ามีระยะเวลาในการดูดซับที่จุดสมดุล คือ 5 ชั่วโมง และการดูดซับซึ่งตัวดูดซับเป็นแผ่นเยื่อบางมีประสิทธิภาพในการดูดซับที่ดีในน้ำเสียที่มีการเจือปนของสารที่อันตราย |
|
แบคทีเรียเซลลูโลส
วัสดุเชิงประกอบ การดูดซับ Bacterial cellulose Composites Adsorption |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สถาบันพลาสติก | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/370 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|