Show simple item record

dc.contributor.authorชิราวุฒิ เพชรเย็น
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-01-30T02:52:50Z
dc.date.available2018-01-30T02:52:50Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/365
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของถ่านกัมมันต์จากขยะชีวมวลจากข้าวจากการกระตุ้นด้วยสารละลายกรด (กรดไฮโดรคลอริก, กรดซัลฟูริก) สารละลายด่างด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์, โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์) และสารละลายโลหะคลอไรด์ (ซิงค์คลอไรด์, แมกนีเซียมคลอไรด์) โดยวิธีการทดลองประกอบด้วยกระบวนการคาร์บอไนเซชันและกระบวนการกระตุ้น ซึ่งในกระบวนการกระตุ้นมีการผันแปรอุณหภูมิในช่วง 400, 500, 600 และ 700 องศาเซลเซียส อัตราส่วนของสารละลายในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 ซึ่งพบว่า ภาวะที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อัตราส่วนถ่านชาร์ต่อกรดซัลฟูริกเท่ากับ 1:2 ของขยะชีวมวลจากข้าวขนาด 0.45 ถึง 0.50 มิลลิเมตร ดังนั้นจึงนำถ่านกัมมันต์ผสมพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำเพื่อขึ้นรูปเป็นฟิล์ม โดยเปรียบเทียบพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำผสมถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการกระตุ้นและไม่ผ่านการกระตุ้น ในปริมาณ 1, 3, 5, 7 และ 10 พีเอชอาร์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับก๊าซเอทิลีนจากฟิล์มพอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำผสมถ่านกัมมันต์ และศึกษาการยืดอายุของมะละกอพันธุ์ปลักไม้ลาย (Carica papaya L.) พบว่าการเติมถ่านกัมมันต์ที่ผ่านการกระตุ้นปริมาณ 10 พีเอชอาร์ แสดงประสิทธิภาพในการดูดซับก๊าซเอทิลีนที่สูงที่สุด โดยแสดงอายุการเก็บรักษาของมะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายจาก 12 วัน เป็น 20 วัน ที่อุณหภูมิ 13  2 องศาเซลเซียสth
dc.description.abstractThis research was the study of the effect of activation by acid (HCl, H2SO4), alkaline (NaOH, KOH) and metal chloride (ZnCl2, MgCl2) solution on proterties of activated carbon from biomass (waste from rice process). The experiment was included both carbonization and activation. The variable studied was temperature (400, 500, 600, 700 C) and chemical ratio by weight (1:1, 1:2, 1:3) in activation process. It was found that the optimum condition was 700 C in 30 minutes using 1:2 of char:H2SO4 for biomass (waste from rice process) size of 0.45 - 0.50 mm. Then the activated carbon was mixed with low density polyethylene (LDPE) for film forming. Comparison of LDPE blend with activation and non-activation carbon were 1, 3, 5, 7 and 10 phr. Efficacy of the ethylene absorber from LDPE in-situ activated carbon for extending shelf life of papaya cv. Pluk Mai Lie (Carica papaya L.) was also investigated. The efficacy study showed that the ethylene adsorption in-situ 10 phr treared activated carbon performed the high gaseous ethylene adsorption. It decelerated shelf life of papaya cv. Pluk Mai Lie from 12 to 20 days at the storing temperature of 13  2 C.th
dc.description.sponsorshipสถาบันพลาสติก
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectสูตรคอมพาวนด์พลาสติกth
dc.subjectcompounding from agricultural productsth
dc.titleพัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากการเกษตร
dc.title.alternativeFormulation development of plastic compounding from agricultural products
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสถาบันพลาสติก
cerif.cfProj-cfProjId2559A00153
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการเกษตรและการพัฒนาชนบท (Agriculture And Rural Development sector : AG)
turac.contributor.clientสถาบันพลาสติก
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record