Show simple item record

dc.contributor.authorสถาพร โอภาสานนท์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2017-12-22T07:12:18Z
dc.date.available2017-12-22T07:12:18Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/359
dc.description.abstractโครงการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการ (1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม ออกแบบรายละเอียดเบื้องต้นและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE); และ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการลงทุน และการบริหารจัดการ และด้านอื่นๆ ที่มีความจำเป็นให้ครอบคลุมและเพียงพอสำหรับประกอบการพิจารณาของผู้บริหารในการตัดสินใจดำเนินโครงการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก เพื่อสนับสนุนการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง จากผลการวิเคราะห์โดยใช้การตัดสินใจแบบพิจารณาหลายเกณฑ์พบว่า จังหวัดขอนแก่น มีศักยภาพในการเป็นพื้นที่พัฒนาท่าเรือบก เนื่องจากมีความเหมาะสมด้านการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการขนส่งทางราง บรรยากาศการลงทุน ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางนโยบายและระดับเศรษฐกิจ โดยที่ปรึกษาเสนอรูปแบบการลงทุนที่เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการโครงการ (PPP) โดยได้เสนอสัดส่วนการถือหุ้นที่ยังคงให้กิจการดังกล่าวเป็นของรัฐ กล่าวคือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ถือหุ้นร้อยละ 60 และภาคเอกชนถือหุ้นร้อยละ 40 ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการคือ ความมีประสิทธิภาพและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของระบบขนส่งทางราง ทั้งนี้ หากไม่พิจารณาถึงความคุ้มค่าทางการเงินของโครงการแล้ว การลงทุนในรูปแบบ PPP ในท่าเรือบกแห่งใหม่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐและเอกชน โดยหน่วยงานจากภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะมีศักยภาพในการลงทุนและดำเนินการมากกว่า ทำให้สามารถสร้างผลกำไร และก่อให้เกิดโอกาสในการขยายผลประโยชน์ทางธุรกิจต่อไป โดยรัฐยังคงเป็นเจ้าของร่วมในกิจการบริการสาธารณะ ซึ่งสามารถดำเนินกิจการตามนโยบายของรัฐบาลและประสานงานกับหน่วยงานรัฐอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ส่วนการท่าเรือแห่งประเทศไทย ก็ได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบของการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน การเกิดความคุ้มค่าของต้นทุน และการให้บริการที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการลดความแออัดในบริเวณท่าเรือแหลมฉบังth
dc.description.abstractThe objective of this project is twofold. First, the project is designed to study economic, engineering and environmental feasibility, and perform preliminary design and initial environment evaluation (IEE) for developing a dry port supporting Bangkok and Leam Chabang Ports. Second, it aims at proposing proper investment and business models for the project. Multiple Criteria Analysis is employed for selecting the dry port location. The result shows that Khon Kaen province is the optimal location for the dry port project due to her strengths in terms of railway infrastructure, investment atmosphere, and supporting provincial policy and economy. Public-Private Partnership (PPP) with 60% from the Port Authority of Thailand and 40% from private sector is proposed. The key success factors of the project are the efficiency and continuous improvement of the rail transport system. Irrespective of its financial feasibility, implementing PPP model to this new dry port project would benefit both public and private sectors. That is, triple-win situation would occur: higher revenues for investors, lower expenditures for the government, and better services for the general public. Importantly, the Port Authority of Thailand could take advantage of the dry port in accommodating the operations of Leam Chabang Port.th
dc.description.sponsorshipการท่าเรือแห่งประเทศไทย
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectDry Portth
dc.subjectศึกษาความเป็นไปได้th
dc.subjectท่าเรือกรุงเทพth
dc.subjectท่าเรือแหลมฉบังth
dc.titleจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจท่าเรือบก (Dry Port) เพื่อสนับสนุนการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง
dc.title.alternativeFeasibility Study of a Dry Port to Support Bangkok and Laem Chabang Ports
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderการท่าเรือแห่งประเทศไทย
cerif.cfProj-cfProjId2559A00136
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษา
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN)
turac.contributor.clientการท่าเรือแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record