Show simple item record

dc.contributor.authorพิภพ อุดร
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2017-10-31T07:31:21Z
dc.date.available2017-10-31T07:31:21Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/350
dc.description.abstractหลักการตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence-HRDD) ได้รับการระบุไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) หลักการชี้แนะเป็นกรอบสำหรับรัฐ เพื่อควบคุมให้ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชนด้วยการจัดทำ ‘พิมพ์เขียว’ สำหรับบริษัทต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสนอแนวทางในการจัดการความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ และประชาสังคมเช่นเดียวกับจากรัฐต่างๆ โดยมีหลักการวางอยู่บนหลัก 3 ประการ คือ 1) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) คือ รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากองค์กรของรัฐหรือบุคคลที่สาม ซึ่งหมายรวมถึงองค์กรภาคธุรกิจต่างๆด้วย 2) การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) องค์กรและบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรภาคธุรกิจมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน 3) การเยียวยา (Remedy) เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น รัฐจะต้องจัดให้มีการเยียวยาที่เหมาะสม รวมทั้งยังเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจควรจัดให้มีช่องทางในการร้องเรียน และเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นด้วยไม่ว่าโดยกิจการนั้นเอง หรือการรวมกลุ่มองค์กรภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รวมกันเป็นสมาคมธุรกิจ กระบวนการตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยหลักการสำคัญตามที่ระบุไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) การประกาศนโยบายและหลักการของบริษัทที่ว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน 2) การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงหรือ มีแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของบริษัท 3) การบูรณาการนโยบายเข้ากับการประเมินรวมถึงกลไกควบคุมภายในและภายนอก 4) การติดตามและการรายงานผลการดำเนินงาน และ (5) การแก้ไขให้ถูกต้องและเยียวยา จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องพบว่า เหตุผลที่ธุรกิจตัดสินดำเนินกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนมักเกี่ยวข้องกับเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ การลดความเสี่ยงด้านชื่อเสียงของบริษัท ความเสียหายทางธุรกิจจากการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ และการบังคับจากรัฐ การลดความเสี่ยงด้านชื่อเสียงของบริษัท จากการสำรวจพบว่า บริษัทที่เคยมีกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนมักมีแนวโน้มที่จะดำเนินการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบในประเภทอุตสาหกรรมและประเทศเดียวกัน นอกจากนี้ ความกังวลต่อการจัดทำ HRDD ของธุรกิจมีหลายประการได้แก่ ธรรมชาติที่ซับซ้อนของธุรกิจ การที่ธุรกิจไม่แน่ใจว่าตนเองจะต้องดำเนินการมากเพียงใดจึงจะถือว่าครบถ้วน ประสิทธิผลของมาตรฐานเชิงสมัครใจth
dc.description.abstractAccording to UN Guiding Principles for Business and Human Rights, human rights due diligence is essential tool for companies to protect human rights since 2011, linking the three pillars; respect, protect, and remedy.. The UN defined it as a ongoing process in order to identify, prevent, mitigate and account for how [a company] addresses its adverse human rights impacts. It includes five elements; statement of policy articulating the company’s commitment to respect human rights, a assessment of policy articulating the company’s commitment to respect human rights, assessment of actual and potential human rights impacts of company activities and relationships, incorporating into company procedures and addressing impacts, tracking and reporting performance, and remediation and remedy. Since then, many different companies have carried out human rights due diligence for several incentives. As a result of literature reviews, it could be concluded that human rights due diligence is beneficial for business. Still practice depends on their circumstance, while following those four steps. The major incentives are reputation, operation risk, and legal risk. While been a number of companies comply with this process slightly increasing, most of business conducting human rights due diligence had been accused of violation. Furthermore, what business concern are; nature of business which is complicated, unsure how much is enough, efficiency of voluntary principle.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectสิทธิมนุษยชนth
dc.subjectHuman Rights Due Diligenceth
dc.subjectHuman Rights Due Diligence Handbook)th
dc.titleการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) และการจัดทำคู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม รวมทั้งรายการตรวจสอบ (Checklist) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการโรงแรม
dc.title.alternativeStudy of Human Rights Due Diligence Process ( HRDD ) and Creation of HRDD Handbook and Checklist for Hotel Industry
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
cerif.cfProj-cfProjId2559A00509
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record