ศึกษาสถานการณ์ความผิดด้านยาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงในมิติด้านจิตสังคม ฐานความผิด และผลที่ได้รับจากกระบวนการยุติธรรม
by อภิญญา เวชยชัย; วิไลภรณ์ โคตรบึงแก; เสาวธาร โพธิ์กลัด
ศึกษาสถานการณ์ความผิดด้านยาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงในมิติด้านจิตสังคม ฐานความผิด และผลที่ได้รับจากกระบวนการยุติธรรม | |
A Study on Drug offence Situation of Woman Inmates in aspect of Socio- psychological Factor,Allegation and Criminal Iustice Process | |
อภิญญา เวชยชัย
วิไลภรณ์ โคตรบึงแก เสาวธาร โพธิ์กลัด |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การศึกษาสถานการณ์ความผิดด้านยาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงในมิติด้านจิตสังคม ฐานความผิด และผลที่ได้รับจากกระบวนการยุติธรรมนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลและสถานการณ์ความผิดด้านยาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงในมิติด้านจิตสังคม (2) ศึกษาข้อมูลและฐานความผิดที่เกี่ยวข้องกับคดีความของผู้ต้องขังหญิงที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด และ (3) ศึกษาบทบาทของผู้ต้องขังหญิงที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติด รวมถึงผลที่ได้รับจากกระบวนการยุติธรรม โดยวิธีการศึกษาใช้วิธีวิทยาแบบผสานวิธีวิทยาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเพื่อให้ผลการศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว การศึกษาเชิงปริมาณเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิของผู้ต้องขังหญิงที่ได้รับจากเรือนจำ 76 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยเป็นข้อมูลที่มาจากจากเอกสารประวัติผู้ต้องขังหญิงซึ่งคดีเด็ดขาดแล้ว ซึ่งได้แก่ แบบ รท. 101, ข้อมูลคำพิพากษาในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์, และแบบสอบถามของโครงการกำลังใจ ซึ่งรวมแล้วได้กลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์จำนวนทั้งสิ้น 12,257 ราย โดยผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับ โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง ในส่วนของประวัติทางสังคมของผู้ต้องขังหญิง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ต้องขังหญิงจำนวนมากกว่าสามในสี่ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด เป็นหญิงที่อยู่ในวัยแรงงานหรือวัยกลางคน ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในช่วงวัยที่เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว และจำนวนกว่าร้อยละ 95 มีภูมิลำเนาในประเทศไทย โดยในกลุ่มของผู้ต้องขังที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศนั้น เป็นผู้ต้องขังที่มีภูมิลำเนาเดิมจากประเทศลาวมากที่สุด และรองลงมา คือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ราชอาณาจักรกัมพูชา และ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (ร้อยละ 76.4 , 13.6, 8.9, และ 1.0 ตามลำดับ) สำหรับผู้ต้องขังหญิงที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยนั้น เป็นผู้ต้องขังหญิงที่มีภูมิลำเนาจากกรุงเทพฯ ประมาณร้อยละ 9 รองลงมา คือ จังหวัดลพบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา มีจำนวนประมาณร้อยละ 5 และ 4 ตามลำดับ และหากพิจารณาในระดับภาค (ไม่นับรวมกรุงเทพฯ) พบว่าภาคที่มีจำนวนผู้ต้องขังสูงสุด คือ ภาคกลาง รองลงมา คือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 32.76, 23.31, และ 22.57 ตามลำดับ) ผู้ต้องขังหญิงจำนวนมากถึงร้อยละ 50.1 ที่ไม่ได้รับการศึกษาหรือได้รับการศึกษาสูงสุดในชั้นประถมศึกษา และรองลงมาคือได้รับการศึกษาสูงสุดชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 30.4 ซึ่งโดยภาพรวมจะเห็นว่าเกือบร้อยละ 80 ของผู้ต้องขังมีการศึกษาไม่สูงไปกว่าการศึกษาภาคบังคับ ในส่วนของอาชีพนั้น ผู้ต้องขังหญิงร้อยละ 38 โดยประมาณระบุว่าประกอบอาชีพรับจ้างเมื่อก่อนการต้องโทษ รองลงมาร้อยละ 29 ระบุว่าประกอบอาชีพอื่นๆ และร้อยละ 18.8 ระบุว่าประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง อย่างไรก็ดี ผู้ต้องขังหญิงจำนวนไม่น้อย กล่าวคือ กว่าร้อยละ 13 ระบุว่าไม่ได้ประกอบอาชีพ ข้อมูลของผู้ต้องขังหญิงด้านการประกอบอาชีพในภาพรวมนั้น ประกอบอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งการประกอบอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอนนั้นอาจจะมีความเชื่อมโยงกับการเข้าสู่ขบวนการค้ายาเสพติด ในส่วนของการระบุว่ามีอาชีพรับจ้างนั้น ก็มีความหมายที่กว้างไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่ามีเป็นการรับจ้างลักษณะใด ซึ่งอาจจะรวมถึงการรับจ้างทั่วไป การค้าขาย ไปจนถึงการจำหน่ายยาเสพติด อีกทั้ง มีการระบุรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อยู่ที่ราว 122,949 บาท ต่อเดือน ถือว่าเป็นรายได้ที่สูงมาก และไม่สอดคล้องกับลักษณะงานอาชีพที่เป็นงานรับจ้าง การเกษตร/ประมง หรือไม่ได้ประกอบอาชีพ และในขณะเดียวกันก็ไม่สอดคล้องกับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างด้วย ผู้ต้องขังหญิงคิดเป็นร้อยละ 55.9 มีสถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกันก่อนต้องโทษ และข้อมูลพบว่าผู้ต้องขังหญิงประมาณร้อยละ 36 เดิมอาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกจำนวน 3 – 4 คน ซึ่ง อาจจะทำให้สามารถคาดคาดการณ์ได้ว่าในจำนวนผู้ที่อาศัยอยู่ด้วยกันกับผู้ต้องโทษก่อนการรับโทษนั้น อาจจะเป็นสามี บุตร หรือบิดามาดาของผู้ต้องขังเองหรือของคู่สมรส ที่ส่วนหนึ่งอาจจะต้องการการดูแล/อุปการะจากผู้ต้องขังในฐานะที่ผู้ต้องขังเป็นแม่หรือลูก เป็นต้น การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับโทษที่ได้รับโทษของผู้ต้องขังหญิงพบว่า ในจำนวนผู้ต้องขังหญิงเด็ดขาดที่ต้องโทษในคดียาเสพติด (กลุ่มที่ 1) จำนวน 12,257 ราย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ต้องขังที่กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดประเภทที่ 1 (เมทแอมเฟตามีนและยาไอซ์) ในขณะที่ผู้ต้องขังที่ต้องโทษในคดียาเสพติดประเภทอื่น ๆ จะมีจำนวนไม่มากนัก โดยมากกว่าร้อยละ 50 จะเป็นผู้ต้องขังที่มีการกระทำความผิดและถูกตัดสินโทษให้เข้ารับการควบคุมด้วยการจำคุกเป็นครั้งแรกและเมื่อพิจารณารายละเอียดของการกระทำผิดที่มีความจำเพาะคือ กลุ่มผู้ต้องขังที่มีการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องเฉพาะยาเสพติดประเภทที่ 1 (เฉพาะเมทแอมเฟตามีน) จำนวน 7,489 ราย (กลุ่มที่ 2) และกลุ่มที่มีการกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องเฉพาะยาเสพติดประเภทที่ 1 (เฉพาะเมทแอมเฟตามีน) ที่มีจำนวนไม่เกิน 5 เม็ด และไม่มีโทษอื่น ๆ ประกอบ จำนวน 679 ราย (กลุ่มที่ 3) ก็พบลักษณะของประวัติการต้องโทษจำคุกเช่นเดียวกับกลุ่มประชากรของการศึกษาครั้งนี้ ฐานความผิดของผู้ต้องขังส่วนใหญ่จะเป็นฐานความผิดครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดประเภทที่ 1 โดยมาตรากฎหมายที่ใช้เป็นบทพิจารณาโทษความผิดจำนวนมากที่สุด (ร้อยละ 70 โดยประมาณ) คือ มาตรา 66 และมาตรา 15 วรรค 3 ซึ่งเป็นลักษณะของการตัดสินโทษด้วยข้อสันนิษฐานเด็ดขาด การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนปีของการต้องโทษกับปริมาณยาเสพติด ด้วยสถิติ Pearson Correlations ของกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 พบว่าปริมาณของยาเสพติด (เม็ด) ไม่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของการต้องโทษ (ปี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ลักษณะของผลการวิเคราะห์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า โทษจำคุกที่ผู้ต้องขังหญิงได้รับภายหลังจากการพิพากษาโทษ ไม่มีความสอดคล้องกับปริมาณยาเสพติดที่ผู้ต้องขังหญิงเหล่านี้มี คือ แม้ผู้ต้องขังจะมีปริมาณยาน้อยแต่ก็มีโอกาสที่ผู้ต้องขังจะได้รับโทษสูงมากกว่าข้อกำหนดที่กำหนดไว้ได้ ทั้งนี้ อาจจะเป็นไปได้ว่า มีปัจจัยแทรกซ้อนหรือปัจจัยร่วมอื่น ๆ ที่ทำให้โทษที่ผู้ต้องขังหญิงเหล่านี้ได้รับไม่สัมพันธ์กับปริมาณยาเสพติดที่ระบุอัตราโทษไว้ในตัวบทกฎหมาย การวิเคราะห์สถิติ Kruskal-wallis Test เพื่อทดสอบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังหญิงที่มีสัญชาติและระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ว่ามีความแตกต่างกันในแง่ของระยะเวลาของการตัดสินโทษหรือไม่นั้น ค่า Sig. ที่ได้จากการทดสอบสถิติมีค่าเท่ากับ 0.000 ซึ่งน้อยกว่าระดับนัยสำคัญ 0.01 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าผู้ต้องขังหญิงอย่างน้อย 1 สัญชาติได้รับการตัดสินให้จำคุกแตกต่างกับผู้ต้องขังหญิงสัญชาติอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 และผู้ต้องขังที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันอย่างน้อย 1 กลุ่มที่ได้รับการตัดสินให้จำคุกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .01 ในส่วนของการศึกษาเชิงคุณภาพ คณะผู้วิจัยได้สัมภาษณ์ผู้ต้องขังหญิงจำนวน 11 ราย รวมทั้งการติดตามครอบครัวและญาติพี่น้องที่ยินดีให้ข้อมูล และการสัมภาษณ์ทนายความที่มีประสบการณ์การทำงานกับผู้ต้องขังหญิงคดียาเสพติด ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมในมิติด้านเศรษฐกิจสังคม ในมิติด้านเศรษฐสังคม ผู้ต้องขังหญิงที่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล เป็นผู้ต้องขังที่อยู่ในช่วงวัยกลางคนและวัยสูงอายุ เกือบทั้งหมดเป็นผู้ที่มีฐานะทางบ้านยากจน ทำงานรับจ้างรายวัน บางรายหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต บางครอบครัวมีสมาชิกในบ้านที่สูงอายุ ป่วยเรื้อรัง หรือพิการที่ต้องดูแลต่อเนื่อง เป็นกำลังหลักที่ต้องรับภาระเลี้ยงดูคนในบ้าน รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของบ้านและครอบครัว ปัจจัยในการตัดสินใจกระทำความผิด เกิดจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจและครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์ทางสังคมที่กว้างขวาง ไม่รู้จักทางเลือกและทรัพยากรอื่นในชีวิต ปัจจัยความไม่รู้บทลงโทษตามกฎหมาย ขาดการทำความเข้าใจกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา และปัจจัยที่เสพยาเพื่อหลีกเลี่ยง หรือทำให้ลืมความขัดแย้งในครอบครัว และปัจจัยของการตีความเรื่อง “ยาบ้า” ที่ให้ความหมายว่าเป็น “ยาขยัน” “ยาที่ทำให้สามารถลืมความทุกข์ได้” “ยาทำให้ผอม” การศึกษาฐานความผิดของผู้ต้องขังหญิงแต่ละคน พบว่าส่วนใหญ่ถูกล่อซื้อผ่านรูปแบบที่อาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้กระทำผิด โทษความผิดคือการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ร่วมกันครอบครองเพื่อจำหน่ายและเสพยา ผลการศึกษาพบว่าผู้ต้องขังหญิงกลุ่มที่มีส่วนร่วมในงานวิจัยนี้ไม่ได้มีบทบาทนำหรือบทบาทหลักหรือเป็นผู้นำในกระบวนการค้ายาเสพติด บทบาทที่แสดงออกเป็นบทบาทรองในกระบวนการ เช่น มียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การร่วมกันครอบครองยาไว้จำหน่าย การซื้อเพื่อเสพ และบางรายทำหน้าที่ “รับจ้างขนยา” หลายคนสะท้อนความไม่เป็นธรรมและตั้งคำถามต่อจำนวนเม็ดยากับมาตรฐานของโทษ ปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ผู้ต้องขังหญิงได้พบในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเริ่มตั้งแต่ การล่อซื้อ การจับกุม การขาดความรู้ ความเข้าใจ ไม่รับรู้สิทธิของตนในการขอพบญาติและทนายความ ทำให้ขาดผู้ให้คำปรึกษาแนะนำทางเลือกต่าง ๆ ให้ ผู้ต้องขังหญิงส่วนมากต้องจำนนต่อหลักฐานเพราะความกลัว การถูกข่มขู่ หว่านล้อมในชั้นสอบสวน การได้พบทนายศาลที่ไม่ให้เวลาและทุ่มเทเพียงพอในการคุ้มครองสิทธิของพวกเธอ ผลกระทบที่เกิดกับผู้ต้องขังหญิง คือ ผลกระทบทางจิตใจจากการถูกตัดขาดความสัมพันธ์จากครอบครัวและคนที่รัก การมีความสัมพันธ์ที่เริ่มเปราะบางมากขึ้นกับเครือญาติ ความสะเทือนใจจากความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเธอและครอบครัว ทั้งการถูกปฎิเสธ ถูกประทับตรา ส่งผลให้เกิดการถูกละเมิดสิทธิ การถูกระบบบั่นทอนศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของตน และการต้องจำนนต่ออิสรภาพ แม้จะพ้นโทษออกมาแล้วก็ยังพบความเสี่ยงต่อการถูกเฝ้าติดตาม ทำให้ชีวิตมีมลทินตลอดเวลา ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ในด้านกฎหมาย การตัดสินโทษหรือการกำหนดตัวบทกฎหมาย ควรให้ความสำคัญกับข้อเท็จจริง หรือ พิจารณาถึงพยานแวดล้อมอื่น ๆ ในมิติทางสังคม มิติของสถานะ ความเป็นหญิง มิติครอบครัว ตลอดจนความกดดันอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นท่ามกลางปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจภายใต้กระบวนการยุติธรรม และควรการปรับเปลี่ยนกฎหมายและระบบเพื่อให้ผู้กระทำผิดในคดีเสพสามารถเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหารายบุคคลและยอมรับในหลักสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิง อีกทั้ง ควรมีการทบทวนกฎหมายและองค์ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและอนุพันธุ์ของเมทแอมเฟตามีน ร่วมกับการทบทวนกลไกการนำจับ การให้สินบนนำจับให้มีหลักการที่เป็นธรรม ไม่สร้างเหยื่อในกลุ่มของคนยากจนที่ด้อยโอกาส ใน ด้านระบบการแก้ไขฟื้นฟู ควรมีการเสริมสร้างระบบการบำบัด-ฟื้นฟูสมรรถภาพที่เต็มประสิทธิภาพ ทั้งเรื่องการกำหนดพื้นที่ กระบวนการ ขั้นตอนที่จูงใจให้สมัครใจเข้าระบบ ในด้านการป้องกัน ในการป้องกันในระยะยาว ควรมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้หญิงได้สามารถเข้าถึงการศึกษาที่เหมาะสมให้มากขึ้น ส่งเสริมให้ผู้หญิงมีข้อมูลและความรู้ที่เพียงพอเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด ความเสี่ยงของการถูกล่อลวงเข้าขบวนการยาเสพติดได้โดยง่าย และกฎหมายและสิทธิที่เกี่ยวข้อง ผ่านการรณรงค์ การให้ความรู้ผ่านกลไกต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น และในด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ต้องขัง ควรมีการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ต้องขังที่ได้มาตรฐาน จัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดย และใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเช้ามาช่วยให้ฐานข้อมูลถูกนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในการพัฒนาระบบบริการหรือการขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้อง The main objectives of the present study on the situation of female offenders with the offense of drug in the dimension of psychosocial, offenses, and results from justice process, are (1) to study situation of offense of drug of female offenders in psychosocial dimension (2) to study offenses information of female offenders involved in drug-related cases, and (3) to study roles of female offenders that involve in offense of drug, including results from justice process. Research methodology employed for this study is a mix methodology in which quantitative and qualitative approaches are used to achieve above objectives. For the quantitative study, secondary data of female offenders from 76 prisons nationwide, including those in Bangkok was analyzed. Profiles of criminal black case retrieved from history document of offenders including Ror Tor 101, Court order under the King’s monogram, and questionnaire of the Kamlangjai Project under the Royal initiative of HRH Princess Bajrakitiyabha were used. There were a total of 12,257 cases used as a research sample, in which all had been analyzed without any random selection. For the social history of female offenders, the study found that more than three-fourths of a total samples of female offenders are women in working age or mid-life, which regarded as a major workforce in the family. More than 95 percent of the sampling have their hometown in Thailand; for those with foreign hometown, the majority is Lao, with Myanmar, Cambodia, and Vietnam in subsequent order (76.4%, 13.6%, 8.9% and 1.0% respectively). For those with hometown in Thailand, 9% came from Bangkok, 5% came from Lopburi, and 4% came from Chachoengsao. At the regional level (excluding Bangkok), the region with the highest number of sampling offenders is central region, followed by southern and northeastern region (32.76%, 23.31% and 22.57% respectively). As many as 50.1 percent of female offenders have not received any education or have been educated only at elementary level, while 30.4 percent have finished only junior high school. In total, more than 80 percent of the offenders have received no higher than compulsory education. For occupation of female offenders before convicted, approximately 38 percent stated that they work as “employee or for hire”, 29 percent selected “other occupations” category, 18.8 percent stated their “work in agriculture / fishing” category, while more than 13 percent stated themselves as “no occupation”. In general, most female offenders have irregular income, which might be correlated with their entry into drug trafficking. For those stated that they work as “employee or for hire”, there was no details of the types of employment or hiring which can possibly refer to general errand, trading, or drug/substance distribution. While the average monthly income of those selected occupation as employee or for hire is Baht 122,949 which is extremely high, and inconsistent with the general errand, or agriculture/ fishing, or those with no occupation; and also inconsistent with the level of education of the sample group. More than 55 percent of female offenders selected marital status before convicted as married/ living together. Approximately 36 percent specified that there were 3-4 members in their family, which can possibly be anticipated that those were husband, children, or parents of the offender or spouse that might need care or support from the offender. Analysis of data on the sentences of female offenders found that from the total number of criminal black cases female offenders with the offense of drug (group 1) of 12,257 cases, most committed offenses involving drugs type 1 (Methamphetamine and Ice), while offenses involving other drugs were limited. More than 50 percent of the offenders have committed an offense and sentenced to imprisonment for the first time. When considering the details of the offense with specification which are group of offenders that committed an offense involving only drug type 1 (only Methamphetamine) of 7,489 cases (group 2); and group that committed an offense involving only drug type 1 (only Methamphetamine) of less than 5 tablets, with no other penalty of 679 cases (group 3) were found to have similar imprisonment history with population of this study. Most offenses involve possession for sale of drug type 1, with the most frequent use (approximately 70%) of statute law section 66, and section 15 paragraph 3 for sentencing, which is a conviction with absolute presumption. Analysis of the correlation between the number of years imprisonment and number of drugs involved, using Pearson Correlations statistics of group 2 and group 3 found that the amount of drugs (tablets) has no significant correlation to the period of imprisonment (years) at 0.05 level. Offenders with small number of drugs have a possibility to be sentenced beyond the penalty that specified in the law, with possible impacts from other complicating factors. Statistical analysis of Kruskal-wallis Test to identify differences of sample female offenders with different nationality and levels of education vs. terms of imprisonment. The P-value of the test statistic is 0.000, which is less than the significance level of 0.01. It can be concluded that female offenders of at least one nationality has been discriminately sentenced to imprisonment, with statistically significance at .01; and the offenders of at least one education level has also been discriminately sentenced to imprisonment with statistically significance at .01. In term of qualitative study, 11 female offenders were interviewed, together with family members and relatives who are willing to provide information. In addition, experience bars who have worked with female offenders with the offense of drugs were interviewed. The study found that in term of socioeconomic dimension: interviewed offenders were in the middle age and old age range; almost all are poor; work for daily hire; some have lost head of the household; some families have elderly, chronic patients, or disable person that needed continuing support; the offenders were the main income generators that responsible for expenses of the family. Factors leading to commit an offense include the economic needs for the family, the lack of extensive social relations, the lack of options and resources, the lack of knowledge about legal penalty, the lack of understanding about consequences, the abuse of drug to avoid/ overlook family conflict, and the interpretation of “yaba” as “diligent drug” “drug to elude the sufferings” or “slim drug” The examination of offenses of each female offender found that most were entrapped in the forms that might lead to the violation of the perpetrators’ human rights, with the offense committed include possession for sale, and co-possession for sale and abuse. The study found that women involved in this research did not have leading role or main role or leadership in the drug trade. Role expressed was a secondary role, such as possess drugs for sale, co-possess drugs for sale, possess drugs for abuse, and transport of drugs. Many have voiced the injustice and questioned the standard of penalty in comparison to the number of drugs. The power interaction that female offenders encountered in the criminal justice process begins from the lack of knowledge, understanding, recognition of own right to meet their relatives and lawyers, which leaded to the lack of advisor to provide alternatives. Most women had succumbed to the evidence due to fear, or being coerced or persuaded during the investigation process. The possibility to be assigned a court bar who could not spare the time or did not have interest to protect these women’s rights. The impacts on female offenders include psychological effects of being cut off from family relationships and loved ones, a fragile relationship with relatives, the depression caused by changes that affect her life and family, being rejected and labeled that leaded to rights violation, the dignity and humanity that were undermined by the system, the surrender of freedom; and even after serving the term, they are still at risk of being monitored, making a permanent stigma to one’s life. Recommendations from the study on legal aspect. The sentencing or the design of law should cherish the facts and consider social dimension of circumstantial evidence, including gender dimension, family dimension, and other pressures from power interaction in the justice process. Law and system should be modified so that the offenders have more opportunity to undergo treatment and rehabilitation, which complies with individual case management and the acceptance of human rights principle for female offenders. In addition, there should be a review of law and knowledge regarding components and derivative of amphetamine, together with the review of arrest protocol and the inducement, to ensure justice principle and avoid victimization among the poor and vulnerable. The remedy and rehabilitation system should be strengthened to be fully effective, through area identification, process enhancement, and protocol that induce voluntary participation. For long term prevention, women should be encouraged to access appropriate education; to have sufficient information and knowledge about harms of drugs, and risk of being easily lured into drugs trade, related laws and rights, through campaign, and knowledge sharing through various mechanisms in the community. For the development of offenders database, there should be a standardize system for data storage that can be stored in electronic format through the use of modern information technology to allow a database to be utilized in services development and policy advocacy. |
|
กระบวนการยุติธรรม
ยาเสพติด ผู้ต้องขังหญิง |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/343 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|