การเตรียมอนุภาคนาโนซิลิกาจากแกลบและการใช้เป็นวัสดุหน่วงการติดไฟในยางธรรมชาติและพอลิสไตรีน
by พีระศักดิ์ เภาประเสริฐ
การเตรียมอนุภาคนาโนซิลิกาจากแกลบและการใช้เป็นวัสดุหน่วงการติดไฟในยางธรรมชาติและพอลิสไตรีน | |
Preparation of silica nanoparticles obtained from rice husk and their uses as flame retardant materials in natural rubber and polystyrene | |
พีระศักดิ์ เภาประเสริฐ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการหน่วงการติดไฟของวัสดุเชิงประกอบระหว่างพอลิเมอร์และอนุภาคนาโนซิลิกา 9,10-dihydro-9-oxa-10-phosphaphenantrene-10-oxide (DOPO) เมลามีน และบอแร๊กซ์ โดยใช้พอลิเมอร์สองชนิดคือ พอลิสไตรีนและยางธรรมชาติ โดยมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ หนึ่ง ผู้วิจัย สังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลิกาจากแกลบด้วยวิธีง่ายๆ ผ่านปฎิกิริยากับกรดและการทำแคลไซน์ และได้ทำการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่างๆ ได้แก่ Fourier transform infrared spectrometry, X-ray diffraction, Field emission scanning electron microscopy, Nitrogen adsorption-desorption, และ Dynamic light Scattering และพบว่า อนุภาคซิลิกามีลักษณะอสัณฐานและมีพื้นที่ผิวสูง สอง เพื่อเพิ่มความเข้ากันได้ระหว่างอนุภาคนาโนซิลิกาและพอลิเมอร์ ผู้วิจัยได้ทำการดัดแปรอนุภาคนาโนซิลิกาด้วยสารประกอบไซเลน ได้แก่ 3Aminopropytriethoxy silane, Phenyltriethoxy silane, และ n-Propyltriethoxy silane พบว่า อนุภาคนาโนซิลิกาที่เคลือบด้วย 3-Aminopropytriethoxy silane มีประสิทธิภาพดีที่สุด สาม จากนั้นผู้วิจัยทำอนุภาคนาโนซิลิกาดังกล่าวมาผสมกับ DOPO และเมบามีน/บอแร๊กซ์และวิเคราะห์สมบัติด้วยเทคนิคต่างๆ ได้แก่ Differential scanning calorimetry, Thermogravimetric analysis, Transmission electron microscopy, และ Limiting oxygen index พบว่า วัสดุเชิงประกอบมีการหน่วงการติดไฟดีขึ้นเมื่อเทียบกับพอลิเมอร์แบบไม่มีสารหน่วยงการติดไฟ และสี่ ผู้วิจัยได้ใช้แบบจำลองทางสถิติที่เรียกว่า Response surface method เพื่อช่วยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและประสิทธิภาพของการหน่วงการติดไฟ พบว่า การหน่วงการติดไฟของอนุภาคซิลิกาดีขึ้นเมื่อนำไปผสมกับ DOPO และเมลามีน/บอแร็กซ์ งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นอนุภาคนาโนซิลิกาสามารถสังเคราะห์ได้จากแกลบและสามารถประยุกต์ใช้เป็นวัสดุหน่วงการติดไฟที่ดีและถูก อีกทั้งจะมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นเมื่อนำไปผสมกับสารหน่วงการติดไฟอื่น |
|
สารหน่วงการติดไฟ
พอลิสไตรีน ยางธรรมชาติ อนุภาคนาโนซิลิกา แกลบ Flame retardant Polystyrene Natural rubber Silica nanoparticle Rice husk |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/341 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|