Show simple item record

dc.contributor.authorนิจ ตันติศิรินทร์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2017-07-31T02:16:45Z
dc.date.available2017-07-31T02:16:45Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/329
dc.description.abstractนวัตกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวพ้นประเทศกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (middle income trap) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนและนโยบายในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาค (regional development plan) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ (1) วิเคราะห์ศักยภาพของจังหวัดในแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ และ (2) นำเสนอแผนพัฒนาระดับภูมิภาค (regional development plan) ในการพัฒนาแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ (area-based innovation development guideline) ของแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ ภายใต้แนวความคิดของการพัฒนานวัตกรรม ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะพัฒนานโยบายส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้วยนวัตกรรม หรือแนวระเบียงนวัตกรรม (Innovation Corridor) ในแนวพื้นที่การพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Economic Corridor of Greater Mekong Subregion) ในการวิเคราะห์ศักยภาพของจังหวัดในแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ ทีมวิจัยใช้แนวความคิดของการพัฒนาระบบนวัตกรรม (innovation system) แบบ Quadruple Helix มาเป็นกรอบแนวความคิดในการวิเคราะห์สภาพทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมจากหน่วยงานของรัฐทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค อนุภาค และจังหวัด โดยระบบนวัตกรรมแบบ Quadruple Helix นั้นเน้นถึงการทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ (government) าคธุรกิจ (industry) ภาคการศึกษา (academia) และภาคประชาชน (citizen) ในการกำหนดนโยบาย ผลิต วิจัย และ ขับเคลื่อน เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมรวมถึงการศึกษากิจกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบนวัตกรรมของพื้นที่ในแนวระเบียง พบว่าควรมีการแบ่งประเภทของศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมในแนวระเบียง เป็น 4 ประเภท คือ (1) ด้านอุตสาหกรรมการผลิต (2) ด้านการบริการ (3) ด้านการท่องเที่ยว และ (4) ด้านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งนำไปสู่แผนการพัฒนาพื้นที่ ในระดับภูมิภาค (regional development plan) เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมบนแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้th
dc.description.abstractInnovation is believed to be a major factor ensuring sustainable economic growth and necessary for Thailand to escape from the middle income trap. The government aims to increase the country competitiveness and economic growth by nurturing high-value added industries and focusing on science, technology, and innovation. National Innovation Agency (NIA) of Thailand has initiated an idea to increase the innovation on an economic corridor as its area-based innovation strategy. This research aims to (1) analyze and identify areas that have high potential to develop area-based innovation systems, and (2) develop a regional development plan for Southern East–West Innovation Corridor. The study areas include 18 provinces in Thailand locating along the Greater Mekong Subregion Southern Economic Corridor connecting Myanmar to Cambodia and Vietnam via Thailand. The research also develops an analytical framework to assess regional innovation systems based on the Quadruple Helix innovation model that focuses on collaboration among government, industry, academia, and people. With the improvements on mega infrastructure, city development, and people engagement, the area-based innovation systems will be able to attract more investment and generate innovation in the areas, link innovation cities and districts, and transform the economic corridor into the innovation corridor. From the analysis, there are four sectors that should have priorities on area-based innovation development: (1) innovation of industrial production, (2) innovation of services, (3) innovation of tourism, and (4) innovation of culture and creativity. These findings lead to regional development plan for Southern Innovation Corridor of Thailand.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectแนวระเบียงนวัตกรรมth
dc.subjectแผนการพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาคth
dc.subjectนวัตกรรมเชิงพื้นที่th
dc.titleศึกษาเพื่อจัดทําแผนภาคในการพัฒนาแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ ระยะที่ 1
dc.title.alternativeA Regional Development Plan of the Southern East–West Innovation Corridor Phase 1
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
cerif.cfProj-cfProjId2559A00441
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)
turac.contributor.clientสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record