Show simple item record

dc.contributor.authorธีร์ เจียศิริพงษ์กุล
dc.contributor.authorJearsiripongkul, Thira
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-11-30T02:11:30Z
dc.date.available2016-11-30T02:11:30Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/281
dc.description.abstractอุตสาหกรรมการก่อสร้างในปี 2553 มีมูลค่าการลงทุนภาคการก่อสร้างทั่วประเทศโดยรวมเท่ากับ 896,772 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการก่อสร้างภาครัฐ 487,421 ล้านบาท และการก่อสร้างภาคเอกชน 409,351 ล้านบาท เมื่อเปรียบกับปี 2552 พบว่า มูลค่าการก่อสร้างโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 โดยจํานวนผู้ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างทั่วประเทศจํานวน 169,595 ราย เป็นการก่อสร้างใหม่ 166,648 ราย และเป็นการต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารจำนวน 2,947 ราย ในการอนุญาตก่อสร้างดังกล่าวนั้นมีทั้งที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างใหม่และต่อเติมดัดแปลง โดยคิดเป็นมูลค่างานก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนรวมทั้งสิ้น 841,942 ล้านบาท และสิ่งก่อสร้างที่มิใช่อาคารโรงเรือน คิดเป็นมูลค่างานก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 54,830 ล้านบาท จำนวนสิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนในปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 โดยเพิ่มขึ้นจาก 218,440 หลัง ในปี 2552 เป็น 231,048 หลังโดยคิดเป็นมูลค่างานก่อสร้างประเภทอาคารโรงเรือนทั่วประเทศในปี 2553 รวมทั้งสิ้น 841,942 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ประมาณร้อยละ 11.3 ผลการการศึกษาถอดแบบโครงการก่อสร้างทั้งหมด 63 โครงการ มีมูลค่ารวม 1,618.68 ล้านบาทแบ่งเป็นมูลค่าวัสดุก่อสร้าง 1,126.64 ล้านบาท และค่าแรงงานก่อสร้างทั้งหมด 492.05 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณาสัดส่วนค่าแรงงานต่อมูลค่าวัสดุก่อสร้างของแต่ละโครงการนั้นส่วนใหญ่ อยู่ระหว่างร้อยละ 10–30 สําหรับการคัดเลือกเลือกแบบก่อสร้างที่นํามาใช้ในการถอดแบบประมาณราคา เพื่อใช้ในการจัดทําน้ำหนักดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เป็นการนําข้อมูลโครงการก่อสร้างในปี พ.ศ.2553 ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ รวบรวมโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งแบ่งประเภทการก่อสร้างออกเป็น 2 ประเภท คือ สิ่งก่อสร้างที่เป็นอาคารโรงเรือนและสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่อาคารโรงเรือน โดยแบบก่อสร้างที่คัดเลือกมาเพื่อศึกษาถอดแบบประเมินราคาและรายการวัสดุก่อสร้างเป็นแบบก่อสร้างที่มีการก่อสร้างมากที่สุด มีจำนวน 63 โครงการมูลค่าแรงงานก่อสร้างรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 492.05 ล้านบาท ที่ใช้เป็นตัวแทนในการถอดแบบการก่อสร้างในปี พ.ศ.2553 นี้ ซึ่งสามารถแยกรายการวัสดุออกมาได้มีจํานวนทั้งสิ้น 458 รายการth
dc.description.sponsorshipสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectน้ำหนักดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างth
dc.subjectถอดแบบโครงการก่อสร้างth
dc.titleจัดจ้างที่ปรึกษาถอดแบบโครงการก่อสร้างเพื่อพัฒนาการจัดทำน้ำหนักดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ปีงบประมาณ 2558
dc.title.alternativeStudy of Construction Reproductions for Development of Construction Material Price Index in Fiscal Year 2015 B.E
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
cerif.cfProj-cfProjId2558A00335
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษา
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรมก่อสร้าง (Building sector : BU)
turac.contributor.clientสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record