ศึกษากฎหมายและข้อกำหนดระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งเเวดล้อมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
by อำนาจ วงศ์บัณฑิต; จุมพต สายสุนทร; ชยันต์ ตันติวัสดาการ; โรจน์ คุณเอนก; สุรศักดิ์ บุญเรือง
ศึกษากฎหมายและข้อกำหนดระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งเเวดล้อมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน | |
Laws and Regulations on Environmental Impact Assessment System for Energy Projects in ASEAN Economic Community | |
อำนาจ วงศ์บัณฑิต
จุมพต สายสุนทร ชยันต์ ตันติวัสดาการ โรจน์ คุณเอนก สุรศักดิ์ บุญเรือง |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2014 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
หลังจากการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ทำให้นักลงทุนในเขตนี้มีความสะดวกมากขึ้นในการลงทุนในดินแดนของประเทศอื่นในเขตอาเซียน กิจการอย่างหนึ่งที่นักลงทุนไทย เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนในต่างประเทศก็คือกิจการด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม การขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ การก่อสร้างและดำเนินการโรงงานแยกก๊าซธรรมชาติและโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังความร้อน แต่การดำเนินกิจการดังกล่าวก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายภายในของแต่ละประเทศที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่ควบคุมและส่งเสริมการลงทุน และกฎหมายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นประเด็นหลักของโครงการศึกษานี้ที่ศึกษากฎหมายของประเทศไทย เมียนมาร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และอินโดนีเซีย นักลงทุนต่างชาติที่จะลงทุนในกิจการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในประเทศข้างต้นจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนของแต่ละประเทศ ยกเว้นประเทศไทยและกัมพูชาที่ไม่ได้บังคับ ในเรื่องนี้ เว้นแต่ว่านักลงทุนนั้นต้องการจะได้รับสิทธิพิเศษจึงจะต้องปฏิบัติกฎหมายว่าด้วยการลงทุน นอกจากนี้ นักลงทุนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ควบคุมกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานด้วย เช่น กฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมและการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น ก่อนที่นักลงทุนจะได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกำกับดูแลการประกอบกิจการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน กฎหมายของประเทศข้างต้นกำหนดว่านักลงทุนจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อมเสียก่อน โดยมีการกำหนดหลักการสำคัญคล้ายกันคือ มีการประกาศชัดเจนว่าโครงการใดบ้างที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีการกำหนดแนวทางการจัดทำรายงานดังกล่าวโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือชุมชนที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการ ผู้ที่จัดทำรายงานต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ที่พิจารณาให้ความเห็นชอบจะอยู่ในรูปของคณะกรรมการเกือบทั้งหมด หากเจ้าของโครงการไม่พอใจ การพิจารณารายงานนั้น บางประเทศให้มีการฟ้องศาลได้ บางประเทศให้มีการอุทธรณ์ต่อฝ่ายปกครองและบางประเทศไม่มีระบบการอุทธรณ์แต่อย่างใด มีข้อสังเกตว่า ประเทศทั้งหมดยกเว้นประเทศไทยมีการเก็บค่าธรรมเนียมการพิจารณารายงานข้างต้น |
|
กฎหมายและข้อกำหนด
ผลกระทบสิ่งเเวดล้อม กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งเเวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน Laws and Regulations on Environmental Impact Assessment |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/274 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|