Show simple item record

dc.contributor.authorนฤมล นิราทร
dc.contributor.authorNirathorn, Narumol
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-07-06T09:03:12Z
dc.date.available2016-07-06T09:03:12Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/258
dc.description.abstractโครงการศึกษาวิจัย “การศึกษาการกำหนดอัตราค่าตอบแทนของผู้รับงานไปทำที่บ้านในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) ศึกษากระบวนการทำงาน/กระบวนการผลิตและเวลาที่ใช้ในกระบวนการทำงาน ของงานที่รับไปทำที่บ้าน จำนวน 20 ประเภทงานย่อย 26 ลักษณะงานใน 7 อุตสาหกรรม 2) ศึกษาเวลาเฉลี่ยที่ใช้ใน กระบวนการทำงาน/กระบวนผลิต เวลาที่ใช้ในการผลิตในกระบวนการต่าง ๆ ของงานที่รับไปทำที่บ้าน จำนวน 20 ประเภทงานย่อย 26 ลักษณะงานใน 7 อุตสาหกรรม 3) ศึกษาข้อมูลอัตราค่าตอบแทน ที่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ได้รับในกระบวนการทำงาน/กระบวนการผลิตของงานที่รับไปทำที่บ้าน จำนวน 20 ประเภทงานย่อย 26 ลักษณะงานใน 7 อุตสาหกรรมและ 4) เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการดำเนินการพัฒนา กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้านอย่างเหมาะสม วิธีการศึกษาที่ใช้ คือ การศึกษาเชิงสำรวจ ประกอบด้วยวิธีการสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ การกำหนดแนวทางการศึกษาจากการปริทัศน์วรรณกรรม การศึกษาแนวทางการกำหนดค่าตอบแทนของผู้รับงานไปทำที่บ้าน จากการสำรวจผู้รับงานไปทำที่บ้านและผู้จ้างงานในพื้นที่ การสอบทานผลการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน ขั้นตอนการทำงานและค่าใช้จ่ายกับผู้เก็บข้อมูลในพื้นที่และการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาจากกลุ่มนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการประชุมกลุ่มย่อย การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ทำโดยเลือกรายชื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านและผู้จ้างงานจากบัญชีรายชื่อผู้รับงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านที่รวบรวมโดยกรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ ในกรณีที่รายชื่อบัญชีมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนตัวอย่างที่ต้องการใช้วิธีการระบุตัวอย่างเพิ่มโดยอาศัยการสุ่มตัวอย่างจากเครือข่าย (Network sampling) หรือการอ้างอิงต่อเนื่อง (Snowball Sampling) จากผู้รับงานและหน่วยงานราชการในพื้นที่ได้จำนวนตัวอย่างผู้รับงานไปทำที่บ้าน 3,105 คน และผู้จ้างงาน 226 คน ทั้งนี้ จำนวนขั้นต่ำของผู้รับงานในแต่ละงาน คือ 10 ตัวอย่าง การรวบรวมข้อมูลทำในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน 2558 อุตสาหกรรมที่ศึกษา ได้แก่ 1. การแปรรูปอาหาร (ซึ่งประกอบด้วยงานปอกลูกตาล/หอมแดง/ปอกแห้ว/แกะกระเทียม/แกะปลากะตัก) 2. สิ่งทอ (การตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องแต่งกาย การตัดเย็บของใช้ การทอผ้า การทำแหอวน การปักผ้าคลุมผม) 3. แปรรูปผลไม้และเครื่องจักสาน (การจักสานไม้ไผ่หรือหวายเพื่อเป็นของใช้และเครื่องตกแต่ง) 4. ผลิตภัณฑ์กระดาษและดอกไม้ประดิษฐ์ (ผลิต/ประกอบดอกไม้ประดิษฐ์ พวงมาลัย) 5. ผลิตภัณฑ์อโลหะ (การทำอิฐ กระถางต้นไม้ ผลิตภัณฑ์แกะสลักจากหินและปูน ผลิตภัณฑ์แก้ว และเซรามิก) 6. ผลิตภัณฑ์โลหะ (การตีมีดและแผ่นแร่ลงลาย) และ 7. เบ็ดเตล็ด (การเจียระไนอัญมณี เครื่องใช้ที่ทำด้วยหนัง ผลิตภัณฑ์เคมี ยางและพลาสติก การทำของเล่นเด็ก ของที่ระลึก การทำเครื่องนอน อุปกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนเล็กทรอนิกส์ และการถักของใช้) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้รับงานไปทำที่บ้าน การศึกษา พบว่า มากกว่า 3 ใน 4 เป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จบการศึกษาขั้นสูงสุดในระดับประถมศึกษา รับงานจากแหล่งเดียว แหล่งรายได้ที่สำคัญนอกเหนือ จากการรับงานไปทำที่บ้าน คือ การเกษตร และรับจ้างทั่วไป ผู้ส่งงานที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการส่วนบุคคล ผู้รับเหมาช่วงการผลิต ตัวแทนกลุ่ม/หัวหน้ากลุ่ม ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับงานไปทำที่บ้านและ ผู้จ้างงานมี 3 ลักษณะหลัก คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้จ้างงาน-ผู้รับงานไปทำที่บ้าน, ผู้จ้างงาน-ผู้รับเหมาช่วง- ผู้รับงานไปทำที่บ้าน และผู้จ้างงาน-ผู้แทน-ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ในความสัมพันธ์ 3 ลักษณะนี้มีความหลากหลาย ในลักษณะของผู้จ้างงาน ผู้รับเหมาช่วง ตัวแทน และผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้รับงานไปทำที่บ้านส่วนใหญ่ได้รับ ค่าตอบแทนไม่เกิน 7 วันหลังส่งมอบงาน ผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ระบุว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในค่าตอบแทนมี จำนวนใกล้เคียงกับผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น มีผู้รับงานไปทำที่บ้านบางส่วนได้รับ ค่าตอบแทนลดลง ในด้านปัจจัยที่ควรใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าตอบแทน ผู้รับงานไปทำที่บ้านส่วนใหญ่ มีความเห็นว่าค่าครองชีพ เป็นปัจจัยที่ควรใช้ในการกำหนดค่าตอบแทน รองลงมา คือ ความยากง่ายของงาน ต้นทุนและทักษะฝีมือ ส่วนปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่สำคัญ คือ ปัญหาสุขภาพ งานไม่ต่อเนื่อง ค่าตอบแทนน้อย และสถานที่ทำงานคับแคบ ส่วนบทบาทที่ควรจะเป็นของหน่วยงานภาครัฐ คือ การดำเนินการให้มีการเพิ่ม ค่าตอบแทน การสนับสนุนอาชีพ การควบคุมราคา และบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ พัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้ สามารถมีทักษะในการทำงานสูงขึ้น ได้รับค่าตอบแทนมากขึ้น ส่วนบทบาทของผู้จ้างงานนั้น ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ต้องการให้เพิ่มราคา/ปรับเพิ่มค่าตอบแทน มีรายการผลิตสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เป็นตัวแทนเจรจากับเจ้าของงานและ จัดสวัสดิการให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้รับงานไปทำที่บ้านมีความเห็นว่าผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้าน ควรกำหนดค่าตอบแทนร่วมกัน ผู้รับงานไปทำที่บ้านเพียงหนึ่งในสามที่เป็นสมาชิกกลุ่ม ความช่วยเหลือที่ผู้รับงาน ไปทำที่บ้านได้รับจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม คือ การกู้เงิน การอบรมความรู้ และได้รับการสนับสนุนทุนประกอบอาชีพ 2. ผู้จ้างงาน ผู้จ้างงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงเช่นกัน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 50-59 ปี ผู้จ้างงานส่วนใหญ่ เป็นเจ้าของกิจการ รองลงมาเป็นประธานกลุ่ม ลักษณะกิจการส่วนใหญ่เป็นการประกอบการส่วนบุคคล วิสาหกิจชุมชน และบริษัท เหตุผลของการส่งงานให้ผู้รับงานไปทำที่บ้าน คือ มีเครือข่ายในพื้นที่ ลดต้นทุน ไม่ต้องมีสินค้าคงคลัง มาก ผลิตไม่ทัน เป็นงานที่ไม่ผลิตในโรงงาน ความสะดวก กระจายรายได้ สร้างรายได้ เพิ่มผลผลิต หาแรงงานยาก และความชำนาญของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้จ้างงานเกือบทั้งหมดเห็นว่าค่าตอบแทนที่จ่ายสมเหตุสมผลแล้ว และ ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ต่อการนำอัตราค่าจ้างขั้นต่ำมาใช้กับผู้รับงานไปทำที่บ้าน ส่วนปัจจัยหลักที่ควรใช้ใน การกำหนดอัตราค่าตอบแทนสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้าน นอกเหนือ จากจำนวนที่ผลิตได้ในแต่ละวัน คือ การศึกษา เวลาที่ใช้ในการผลิตที่แท้จริง ส่วนเหตุผลอื่น ๆ ได้แก่ ความยากง่ายของงาน การศึกษาเวลาการทำงาน ทักษะ ราคาผลผลิตและต้นทุน และการตกลงร่วมกันของผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้าน รวมทั้งค่าจ้างขั้นต่ำด้วย ส่วนบทบาทในการกำหนดค่าตอบแทนนั้น ผู้จ้างงานเห็นว่าควรกำหนดร่วมกันระหว่างผู้จ้างงานและ ผู้รับงานไปทำที่บ้าน รวมทั้งมีรัฐและผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมกำหนดด้วย และหากมีการกำหนดจ่ายค่าตอบแทน ตามค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้จ้างงานส่วนใหญ่ระบุว่ามีผลกระทบแน่นอน ผู้จ้างงานคาดหวังให้รัฐมีมาตรการรองรับ เช่น ลดภาษี ชดเชยส่วนที่ต่าง ควบคุมราคาต้นทุนวัตถุดิบและค่าโสหุ้ยต่าง ๆ และสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงาน 3. กระบวนการทำงานและอัตราค่าตอบแทน การศึกษา พบว่า งานส่วนใหญ่สามารถทำให้เสร็จได้ในวันเดียว เพราะกระบวนการทำงานไม่ซับซ้อน แต่มีบางงานที่กระบวนการทำงานใช้เวลามากกว่า 1 วัน เช่น งานจักสาน งานถักของใช้ เป็นต้น งานที่ได้ ค่าตอบแทนต่ำมากกว่างานประเภทอื่น ๆ คือ งานที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปอาหาร ซึ่งแม้จะใช้ทักษะ แต่ เทคโนโลยีการผลิตไม่ซับซ้อน งานบางประเภทผู้จ้างงานเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้ ผู้รับงานไปทำที่บ้าน จึงไม่ต้องลงทุนในค่าวัสดุ ในกรณีที่ผู้รับงานไปทำที่บ้านเป็นผู้จัดหาวัสดุ ค่าตอบแทนส่วนใหญ่ไม่รวมค่าวัสดุ งานบางประเภทมีอัตราจ่ายสูง เนื่องจากเป็นงานใช้ทักษะฝีมือ หรือมีสภาพการทำงานที่ยากลำบาก เช่น งานตีมีด งานปั้น งานแกะสลักหิน เป็นต้น ในจำนวนงาน 26 งานใช้เป็นกรณีศึกษา มีอยู่ 16 งานที่มีค่าตอบแทนต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ 4. แนวทางการกำหนดอัตราค่าตอบแทนและการนำไปปฏิบัติ งานศึกษานี้เสนอว่า การกำหนดค่าตอบแทนทำได้ 2 วิธี คือ การกำหนดค่าตอบแทนมาตรฐาน รายชิ้น และการกำหนดเป็นกระบวนการกำหนดค่าตอบแทน การกำหนดค่าตอบแทนมาตรฐานรายชิ้นทำได้ ในกรณีที่งานมีกระบวนการผลิตที่เป็นมาตรฐานชัดเจน เป็นงานที่มีการผลิตในโรงงานด้วย เป็นงานที่มีการจ่าย ค่าตอบแทนต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ และมีการทำงานสม่ำเสมอ ไม่ใช่เฉพาะฤดูกาล ส่วนการกำหนดเป็นกระบวนการ ทำงานใช้ในงานที่กระบวนการผลิตมีความหลากหลาย ไม่สามารถกำหนดกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ได้ชัดเจน ในทั้งสองกรณีต้องมีการศึกษาเวลาที่ใช้ในการทำงานและต้นทุนของผู้รับงาน รวมทั้งให้ความสำคัญ ต่อการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญตั้งแต่ ผู้รับงาน ผู้จ้างงาน คนกลาง และภาครัฐ นอกจากนั้น การใช้ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเกณฑ์อ้างอิงพึงกระทำด้วยความระมัดระวัง แม้จะเป็นแนวทางที่เป็นสากล เพราะอาจ ส่งผลกระทบทางลบต่อผู้รับงาน ในประเด็นการบังคับใช้ ควรให้ความสำคัญการดำเนินการเกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้เกิด การบังคับใช้ค่าตอบแทนที่กำหนดหรือกระบวนการกำหนดค่าตอบแทน เช่น จัดทำทะเบียนผู้รับงานไปทำที่บ้าน ในระดับท้องถิ่นและทั่วประเทศ สนับสนุนให้ผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการรับงาน ไปทำที่บ้านตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 มาตรา 9 กำหนดให้ สถานประกอบการจัดทำทะเบียน “คนกลาง” พร้อมระบุหน้าที่ให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการจำแนกต้นทุน และภาระของ “คนกลาง” ประกาศใช้อัตราค่าตอบแทนบางประเภทงาน แล้วประเมินผลและติดตามผลการบังคับใช้ บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐและประชาสังคมทั้งในระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง เช่น สร้างเครือข่าย กับหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญต่อการเข้าถึงผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อให้สนับสนุนการบังคับใช้ ค่าตอบแทนที่กำหนดสนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอำนาจต่อรองของผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีการตรวจแรงงาน อย่างสม่ำเสมอ และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ผ่านกลไกของภาครัฐในระดับพื้นที่ และ มีการดำเนินการตามบทกำหนดโทษโดยเคร่งครัด นอกจากนั้นควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั้งผู้รับงานไปทำที่บ้าน และผู้จ้างงานเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนตามกฎหมาย เช่น การจัดทำเอกสารการทำงาน การตกลงเกี่ยวกับ ระยะเวลาการทำงาน การเลิกจ้าง จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติในเรื่องการจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทน และอื่น ๆ แจกจ่ายให้ทั้งผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านอย่างทั่วถึง ผ่านหลาย ๆ ช่องทาง รวมทั้งเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการประกาศใช้ค่าตอบแทนมาตรฐาน รณรงค์ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการประมูล หรือ วิสาหกิจชุมชน ให้กำหนดค่าตอบแทนสำหรับผู้รับงานไปทำที่บ้านไม่น้อยกว่า ค่าจ้างขั้นต่ำ โดยระบุไว้ชัดเจนในสัญญาการผลิต ส่งเสริมให้ผู้บริโภคสนับสนุนสินค้าที่ผลิตโดยผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยให้มีการระบุวิธีการผลิต ในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยผู้รับงานไปทำที่บ้าน ทั้งนี้เพื่อให้ บริโภคตระหนักถึง “ที่มา” ของ ผลิตภัณฑ์ 5. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมายและบทบาทของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน งานศึกษานี้เสนอให้มีการทบทวนคำจำกัดความ “ผู้รับงานไปทำที่บ้าน” ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของ “คนกลาง” ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจำแนกการรับภาระต้นทุนได้ชัดเจน กำหนดมาตรการเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของผู้รับงานไปทำที่บ้าน รวมทั้งการให้ข่าวสาร และความรู้ด้านอาชีวอนามัยแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน นอกจากนั้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควรสร้างเสริม บทบาทในการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มผู้รับงานทั้งเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และการพัฒนาตนเองของผู้รับงานไปทำที่บ้านth
dc.description.abstractThe research project “The Study on Setting Remuneration Rates for Homeworkers in Thailand” had four objectives: 1) to study the work/production process and the time used for performing 20 job categories (26types of job) in 7 industries, 2) to study the average time used in the work/production process and time used in the production process of 20 job categories (26types of job) in 7 industries, 3) to study the information on remuneration rates of homeworkers relating to the work/production process for 20 job categories (26types of job) in 7 industries, and 4) to serve as a database that the Department of Labour Protection and Welfare could use to develop laws, rules and regulations concerning the protection of homeworkers accordingly. The study adopted a survey approach as methodology consisting of four major steps: determination of the direction of the study based on the perspective of literature, study of possible ways and means to set remunerations for homework based on the survey of homeworkers and their hirers, checking the results of the study on work process, time used and costs with the interviewers, and hearing of opinions and recommendations on the findings from academics, qualified persons, stakeholders, and people concerned from the public and private sectors using the Focus Group Discussion Method. The samples were selected homeworkers and hirers taken from the lists compiled by the Department of Employment, Department of Labour Protection and Welfare, and Foundation for Labour and Employment Promotion. When the number of the selected samples from the registers was less than the set target, more samples were randomly selected through Network Sampling or Snowball Sampling from local homeworkers and government agencies. The population, thus, consisted of 3,105 homeworkers and 226 hirers, while the minimum numbers of samples set for homeworkers and hirers for each job were 150 and 10 respectively. Data collection was conducted during March-September 2015. The industries under study were: (1) food processing (peeling of toddy palms/shallots (red onions)/water chestnuts/garlic cloves and gutting of anchovies), (2) textile (garments, clothing, sewing, weaving, seine making, and embroidery of head scarves), (3) wood processing and basket work (bamboo and rattan wickerwork for general use and for decoration) (4) paper products and artificial flowers (production/manufacturing of artificial flowers and garlands ), (5) non-metal products (bricks, flower pots, stone and plaster sculpting, glass and ceramic products, (6) metal products (knife making and silver crafting), and (7) miscellaneous (gemstone cutting, leather goods, chemical products, rubber and plastic products, children’s toys, souvenirs, bedding, electrical appliances, electronic parts, and woven products). The findings are as follows: 1. Homeworkers: The study finds that more than three-fourths of the homeworkers were female, over 40 years of age, with primary education at the most, taking their jobs from one source. Besides homework assignments, their other important sources of income came from agriculture and doing general hired work. Their important suppliers of work were individual operators, sub-contractors, and representatives/leaders of their groups respectively. There were three main types of relationship between homeworkers-hirers: relationship between hirersintermediaries (sub-contractors)-homeworkers, and that between hirers, intermediaries (representatives)-homeworkers. There are diversities in the types of hirers, sub-contractors, representatives. Most homeworkers received their payments no more than seven days after they had delivered their work. The number of homeworkers who received the same amount of payment was more or less the same as those who received higher payments. There were some that received less than they had. On factors appropriate to be used as criteria for setting the remuneration of work, most homeworkers viewed that the appropriate factors should be based on standard of living, followed by the complexity of the work, costs and skills involved. Meanwhile, the most important obstacles to their work were health issues, irregular work, inadequate remunerations, and small workplaces. The roles that the public agencies should play to assure that they received fair remunerations were greater efforts to increase remuneration rates, greater vocational support, price control and law enforcement of minimum wages, and skill development to ensure that homeworkers acquired higher skills and therefore earned better remunerations. On the roles of the hirers, the homeworkers wanted to see higher prices/better remunerations, and regular and continuous work production schedules. The hirers should also represent them in negotiating with the work owners and provide welfare for them. The homeworkers thought that they and their hirers should jointly set the remuneration rates. The homeworkers represented only one-third of the group membership. The assistances they received from being part of the membership were loan facilities, training opportunities, and funding support for vocational purposes. 2. Hirers: Most of the hirers were also female, aged between 50 and 59 years. Most were business owners and group chairpersons respectively. Most businesses were private operations, community enterprises, and companies. Their reasons for giving work to homeworkers were having local networks, to reduce costs, to keep the inventory at a low level, to cope with the production when the demand was high, to outsource for the work that their plants did not produce, to ensure greater ease of production, to distribute income, to generate income, to increase productivity, to ease the problem of labour shortage, and to utilize the expertise of homeworkers. Nearly all the hirers viewed that the remunerations they paid were appropriate, and most did not agree with the idea to use minimum wages as a reference criterion. Besides the amount of work produced, the factors that should be used to set the remuneration rates for homeworkers were time actually spent on the production, the complexity of the work, a combination of the amount of work production/minimum wages and working time, skills, product prices and costs, and agreement mutually reached by the hirers and homeworkers, including minimum wages. With regard to the roles in determining remuneration rates, the hirers thought that the rates should be jointly set by the hirers and homeworkers, together with the public sector and experts. If action was taken to set remuneration rates in line with the minimum wages, most hirers said that it would certainly have impacts. They expected the State to come up with appropriate measures to cushion such impacts, such as tax deduction, compensation for the difference, control of raw material costs and other general expenses as well as support for skills development. 3. Work process and remuneration rates The study reveals that most jobs could be completed within a day, because the work process was not complex. Some might take more than a day to complete, e.g. basket works and embroidery. Jobs that were paid at a lower rate were those related to food processing. These tasks might require certain skills, but the production technology was not complicated. For some jobs the hirers would provide necessary materials for homeworkers who did not need to make any investment for the purpose. If homeworkers had to provide the materials themselves, the remunerations they received would in most cases not include the material costs. Some jobs were highly paid on account of the high skills involved or difficult nature of work, e.g. knife forging and stone sculpting. Of the 26 types of work under study, 16 were paid at a rate lower than the minimum wages. These findings are different from those in other previous studies on the remunerations of homeworkers. The findings revealed that sub-contracted works requiring higher skills were not paid at a low remuneration rate. 4. Guidelines for setting remuneration rates and implementation The study recommends two methods of remuneration setting, the setting of standard remuneration and the process of setting remuneration. The first method is applicable on the conditions that the work process is standardized, the work is produces in the factory setting, the remuneration is lower than the minimum wage and the work is not seasonal. The process of setting remuneration should be used in the case that the work process is not standardized . In both methods, the study of time used and costs should be employed together with participation from homeworkers, hirers, the intermediaries and the representatives from concerned public agencies. In addition the use of minimum wages as a criterion for setting remuneration rates must be carried out cautiously as it may cause negative effects on homeworkers. With regard to enforcement, the study recommends that conditions that are conducive to the enforcement should be in place. These include the registration of homeworkers at local and national levels, encourage the hirers and homeworkers to prepare the documents in accordance with the Homeworkers Protection Act B.E. 2553 (2010), register the intermediaries and specify their roles and responsibilities, strengthen inter-ministerial integration to foster the role of local agencies in the enforcement of the rate setting and monitoring. In addition hirers and homeworkers should be informed of their rights and responsibilities, particularly in the areas of hiring documents, minimum wage, duration of work, termination of work contract. Furthermore, plans to cope with the negative effects of rate setting should be in place. There should also be campaigns to convince the agencies concern with bidding or subcontracting to observe the minimum wage. Campaigns to raise public awareness about homeworks, the conditions of work and the work process should also be launched as the consumers indirectly determine the remuneration of homeworkers. 5. Recommendations on legislation and role of the Department of Labour Protection and Welfare This study recommends the redefinition of “home work” and “homeworker” together with the specification of the roles and responsibilities of the “intermediaries.” Legal measures concerning and occupational health and safety and education on occupational health and safety are also recommended. The Department of Labour Protection and Welfare should also have a role in the promotion of organizing of homeworkers for the purpose of strengthening homeworkers’ bargaining power and development.
dc.description.sponsorshipกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectกำหนดอัตราค่าตอบแทนของผู้รับงานไปทำที่บ้านth
dc.subjectอัตราค่าตอบแทนth
dc.titleการศึกษาการกำหนดอัตราค่าตอบแทนของผู้รับงานไปทำที่บ้านในประเทศไทย
dc.title.alternativeThe Study of Piece Rate setting for Homeworks in Thailand
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
cerif.cfProj-cfProjId2558A00125
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาประชากร (Population sector : PO)
turac.contributor.clientกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record