Show simple item record

dc.contributor.authorวุฒิสาร ตันไชย
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2014-11-13T07:13:06Z
dc.date.available2014-11-13T07:13:06Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/23
dc.description.abstractThe Synthesis of Policy recommendations for promoting Good Pharmaceutical Governance has two objectives. First, the report analyzes the risk of Good Governance in Pharmaceutical System in Thailand and, second, proposes the policy recommendation for strengthening Good Pharmaceutical Governance in Thailand due to Pharmaceutical Governance should be developed in three targets; First, Pharmaceutical Governance must provide the medicines that have qualities and coverage for treatments; Second, Pharmaceutical Governance must spends effectively the public budgets and; Third, Pharmaceutical Governance must be deprives of the corruptions. Furthermore, the report uses Good Governance Framework for analysis that consists of Rule of Law, Transparency, Accountability, Participation and Efficiency. The scope of study of Pharmaceutical Governance in this report focuses on three procedures. First, Drug Registrations are operated by Food and Drug Administration Thailand (Thai-FDA) that officiate about consultations, verifications and permits all medicinal licenses for imports and manufacturing in Thailand. Second, Drug Selection is operated by Sub‐committee on Development of the Essential Drugs List who selects National List of Essential Drug (NLEM). Third, Public Procurement for medicines is operated by public hospitals that regulate by Ministry of Public Health (MoPH). The results of study discover the risk of Good Governance in Pharmaceutical Governance in three procedures. 1. The risk of Drug Registrations consists of (1) The uncover and obsolete of Pharmacy Act 1967, (2) The appointment and operation of Medicinal Committee, (3) The conflict of Interests of the members of Medicinal Committee and experts, (4) The lack of Experts who verify the documentary medicines, (5) The constraints from budget for operation in Thai-FDA and remuneration for personnel, (6) The discontinuity of medicinal license reviews and (7) The lack of technology promotion and medicinal laboratory for medicinal verification 2. The risk of Drug Selections consists of (1) The appointment and operation of the National Drug System Development Committee, (2) The role and conflict between working group on special experts and working group on Health Economics, (3) The conflict of Interests of the members of committee, sub-committees and working groups, (4) The relation between pharmaceutical industries and the National Drug System Development Committee, (5) The lack of accountable identification to committee and (6) The principles and regulation for Drug Efficiency and Cost-effectiveness of drug 3. The risk of Public Procurement for medicines consists of (1) The lack of drug promotion controls (2) The lack of ethical controls to the members of Pharmacy and Therapeutic Committee (PTC) and health personnel, (3) the standards and regulations of hospitals, (4) the public procurement regulation, and (5) the drug cost estimate determinations The study discovers a various risk in Pharmaceutical Governance in Thailand therefore the study suggests the policy recommendation for the purpose of strengthening and improvement for Pharmaceutical Governance in six principles, consists of (1) the direction of National Drug Policy determination must defines apparently; (2) the all Acts, Regulations and Policies concerned with Pharmaceutical Governance must be improved well-timed and consults by participatory with all stakeholders; (3) the organizations and committees in Pharmaceutical Governance must make clear their roles and improves a professionalisms in accordance with National Drug Policy; (4) The information and communications technology (ICT) in Pharmaceutical Governance have to connects the insignificant and up-to-date information; (5) The professional ethics of all stakeholders have to promote continuously; and (6) Internal and External Audits must be developed and strengthened.en
dc.description.abstractในการศึกษาโครงการสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาในประเทศไทย (Risk of Good Governance in Pharmaceutical System) และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาของประเทศไทย เพื่อให้เกิดเป้าหมายในสามด้านได้แก่ (1) การมียาที่มีคุณภาพดีเพียงพอและครอบคลุม ต่อการรักษาสุขภาพของประชาชน (2) มีการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐอย่างคุ้มค่า และ (3) ทำให้ระบบอภิบาลยาของรัฐปลอดจากการทุจริต โดยงานชิ้นนี้ใช้แนวคิดธรรมาภิบาลในการศึกษาที่ประกอบด้วยหลัก นิติรัฐ (Rule of Law) ความโปร่งใส (Transparency) ความรับผิดรับชอบ (Accountability) การมีส่วนร่วม (Participation) และประสิทธิภาพ (Efficiency) โดยงานชิ้นนี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาในระดับมหภาคของระบบอภิบาลยาใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนตำรับยา (Registration) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในการคัดเลือกและตรวจสอบเพื่อออกใบอนุญาตในการนำยามาผลิตหรือจำหน่ายในประเทศไทย ขั้นตอนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ (Selection) ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Drug - NLEM) ของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ และขั้นตอนการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล (Procurement) เกี่ยวข้องกับ การคัดเลือก การจัดซื้อยาและการบริหารยาในระดับสถานพยาบาล จากผลการศึกษาได้พบความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาในประเทศไทยใน 3 ส่วนได้แก่ 1. ความเสี่ยงของกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยา ได้แก่ (1) ความเสี่ยงอันเกิดจากความไม่ครบถ้วนและไม่ทันสมัยของกฎหมายขึ้นทะเบียนตำรับยา (2) ความเสี่ยงจากการได้มาและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการยา (3) ความเสี่ยงอันเกิดจากการการมีส่วนได้ส่วนเสียของคณะกรรมการยาและผู้เชี่ยวชาญ (4) ความเสี่ยงอันเกิดจากการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญการอ่านตำรับยา (5) ความเสี่ยงอันเกิดจากข้อจำกัดด้านงบประมาณและการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่จูงใจ ให้เกิดการทำงาน (6) ความเสี่ยงอันเกิดจากการขาดการทบทวนตำรับยาอย่างสม่ำเสมอ และ (7) ความเสี่ยงอันเกิดจากการขาดการส่งเสริมทางด้านเทคโนโลยีหรือห้องปฏิบัติการในการตรวจสอบยาที่ขอขึ้นทะเบียน 2. ความเสี่ยงของกระบวนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ (1) ความเสี่ยงอันเกิดจากการได้มาของคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ (2) ความเสี่ยงอันเกิดจากบทบาทและความขัดแย้งของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและคณะทำงานด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข (3) ความเสี่ยงอันเกิดจากการมีส่วนได้ส่วนเสียของคณะกรรมการ (Conflict of Interest - COI) (4) ความเสี่ยงอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับคณะกรรมการชุดต่าง ๆ (5) ความเสี่ยงอันเกิดจากการขาดการระบุความรับผิดรับชอบ (Accountability) ของคณะกรรมการฯ ในกรณีที่เกิดความผิดพลาด และ (6) ความเสี่ยงอันเกิดจากการกำหนดกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบประสิทธิผลยาและต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ 3. ความเสี่ยงของกระบวนการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล ได้แก่ (1) ความเสี่ยงอันเกิดจากขาดสภาพบังคับในการควบคุมการส่งเสริมการขาย (2) ความเสี่ยงอันเกิดจากการขาดสภาพบังคับในการควบคุมจริยธรรมต่อคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดและบุคลากรทางการแพทย์ (3) ความเสี่ยงอันเกิดจากมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้ประเมินยาเข้าสู่สถานพยาบาล (4) ความเสี่ยงอันเกิดจากข้อจำกัดในระเบียบการจัดซื้อยา และ (5) ความเสี่ยงอันเกิดจากการได้มาซึ่งราคากลางยา จากความเสี่ยงที่มีต่อธรรมาภิบาลของระบบอภิบาลยาในประเทศไทย เห็นว่าการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายพื้นฐานต่อภาพรวมของระบบอภิบาลยา เพื่อเสริมสร้างและปรับปรุงการอภิบาลระบบยาใน 6 ด้านคือ 1). ความจำเป็นของการกำหนดทิศทางนโยบายแห่งชาติด้านยา 2). การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาทั้งหมดให้ทันสมัยและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย 3). การพัฒนาองค์กรและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องให้มีบทบาทชัดเจนและเป็นมืออาชีพที่สอดคล้องกับนโยบายแห่งชาติด้านยา 4). การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงกันและทันสมัย 5). การส่งเสริมความเป็นจริยธรรมของมืออาชีพแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และ 6). การพัฒนาและเสริมสร้างระบบการกำกับดูแลทั้งจากภายใน (Internal Audits) และจากภายนอก (External Audit)th
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectระบบอภิบาลยาth
dc.subjectการขึ้นทะเบียนตำรับยาth
dc.subjectกระบวนการคัดเลือกยาth
dc.subjectบัญชียาหลักแห่งชาติth
dc.subjectการจัดซื้อยาth
dc.subjectระเบียบการจัดซื้อยาth
dc.subjectการทุจริตยาth
dc.titleสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjId2556A00260
mods.genreรายงานวิจัย
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาสาธารณสุข (Health sector : HE)
turac.contributor.clientสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record