การสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังกับผู้ต้องขังหญิงและการหลีกเลี่ยงการใช้โทษจำคุก และการสร้างความฉลาดรู้ทางกฎหมาย ตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ
by ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์; มาดี ลิ่มสกุล; ชลธิชา พันธ์พานิช
การสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังกับผู้ต้องขังหญิงและการหลีกเลี่ยงการใช้โทษจำคุก และการสร้างความฉลาดรู้ทางกฎหมาย ตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ | |
Project on the Creation of appropriate Non-custodial Measures as Alternatives to Imprisonment for Women Inmates, and Legal Knowledge Promotion in accordance with the Bangkok Rules | |
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์
มาดี ลิ่มสกุล ชลธิชา พันธ์พานิช |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2014 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การศึกษาการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังผู้หญิงและการหลีกเลี่ยงการใช้โทษจำคุกและการสร้างความฉลาดรู้ทางกฎหมาย ตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rules) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางมาตรการในการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังสำหรับผู้ต้องขังหญิง ศึกษาแนวทาง มาตรการที่เหมาะสมในการลดระยะเวลาการจำคุกของผู้ต้องขังหญิง ศึกษาและทำให้เกิดการเข้าถึงความยุติธรรมในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อีกทั้งเพื่อสร้างกระบวนการให้ความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องขัง และการให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขัง และท้ายสุดได้แก่ แสวงหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ และการใช้มาตรการไม่คุมขังสำหรับผู้ต้องขังหญิง รวมถึงการลดปริมาณคดีที่เข้าสู่ระบบงานยุติธรรมทางอาญาในส่วนของวิธีการศึกษา
ใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพผ่านการใช้แบบสอบถาม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้และการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขัง การรับทราบปัญหาของผู้ต้องขัง และการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง
ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ ผู้พิพากษา ทนายความ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และพนักงานคุมประพฤติ เห็นว่า ควรสร้างทางเลือกที่หลากหลายและเหมาะสมโดยใช้มาตรการไม่คุมขัง (มาตรการทางเลือกแทนการคุมขัง) สำหรับผู้กระทำผิด/ผู้ต้องขังหญิง ควรส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การสร้างกระบวนการให้ความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องขัง และการให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขัง รวมถึงการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ มีส่วนของข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น 1. ด้านนโยบายของรัฐและองค์กรในระบบงานยุติธรรม ควรมีแผนแม่บท หรือจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) และแนวทางการใช้มาตรการทางเลือกในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดเจนที่เน้นการปล่อยตัวชั่วคราวหรือให้ประกันในชั้นก่อนฟ้องคดี (Alternatives to jail at the pretrial stage หรือ Pretrial Alternatives to detention) โดยมีบัญชีมาตรฐานการปล่อยตัวชั่วคราวหรือในการให้ประกันตัว (Bail Guidelines) 2. ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ควรตรา “กฎหมายว่าด้วยทางเลือกแทนการคุมขังสำหรับผู้ต้องขังสตรี” เน้น การใช้มาตรการบังคับหรือลงโทษระดับกลาง (Intermediate Sanctions or Intermediate Punishment) 3. ด้านเจ้าหน้าที่ ควรพัฒนาวิธีคิด ทัศนคติของบุคลากรในองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง ให้แรงจูงใจเชิงบวกหรือให้รางวัลกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ทำให้การกระทำผิดซ้ำน้อยลง 4. ด้านการสร้างทางเลือกหรือโปรแกรมสำหรับผู้กระทำผิด/ผู้ต้องขัง ควรจำแนกผู้กระทำผิด/ผู้ต้องขัง โดยการประเมินตามความเสี่ยงและความต้องการจำเป็น (Assessment of Risk and Needs) และใช้วิธีปฏิบัติตามระดับความเสี่ยง หากพบว่า มีความเสี่ยงระดับปานกลางหรือน้อย หมายถึง ไม่เป็นอันตรายต่อสังคมมากนัก ควรใช้มาตรการไม่ควบคุมตัวทันที โดยอาจมีมาตรการเสริมบางอย่างเพื่อการป้องกัน เช่น การใช้เครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ (Electronic Monitoring-EM) ช่วยดูแล |
|
มาตรการไม่คุมขัง
ผู้ต้องขังหญิง ฉลาดรู้ทางกฎหมาย Bangkok Rules |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/234 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|