ศึกษาข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจในการจัดบริการสาธารณะให้ภาคประชาสังคม/ชุมชน
by วสันต์ เหลืองประภัสร์
ศึกษาข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจในการจัดบริการสาธารณะให้ภาคประชาสังคม/ชุมชน | |
วสันต์ เหลืองประภัสร์ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2013 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การดำเนินการ “โครงการศึกษาข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจการจัดบริการสาธารณะให้ภาคประชาสังคม/ชุมชน” โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) มีวัตถุประสงค์การศึกษาวิจัย คือ 1) เพื่อกำหนดขอบเขตภารกิจในการจัดบริการสาธารณะที่สามารถถ่ายโอนให้ภาคประชาสังคม /ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทนหน่วยงานภาครัฐ 2) เพื่อสร้างกลไกหรือเครื่องมือที่เป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะ และ 3) เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน/ ภาคส่วนอื่น ๆ ในการบริหารราชการ ที่จะนำไปสู่การบริหารราชการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป ภายใต้ขอบเขตการศึกษาวิจัยประกอบด้วยกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ทั้งจากเอกสาร หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งของไทยและต่างประเทศ การจัดทำแบบสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาสังคม/ชุมชน การจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นทั้งจากตัวแทนภาคประชาสังคม/ชุมชน นักวิชาการ/ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับภารกิจในการจัดบริการสาธารณะที่มีความเหมาะสมในการเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทนหน่วยงานภาครัฐ และได้พัฒนาเป็นกรอบภารกิจในการจัดบริการสาธารณะที่มีความเหมาะสมในการเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทนหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำมาจัดทำข้อเสนอรายการภารกิจ/กิจกรรมที่เหมาะสมและสามารถให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐหรือดำเนินการแทนหน่วยงานภาครัฐ จากกระบวนการศึกษาดังกล่าว ทำให้เห็นภารกิจ/ภาระงานของหน่วยงานภาครัฐที่สามารถเปิดให้องค์กรภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามาร่วมจัดบริการสาธารณะได้ทั้งในรูปการดำเนินงานร่วมได้บางส่วนและ/หรือการดำเนินงานร่วมได้ทั้งกระบวนการ อย่างไรก็ดี ภารกิจ/ภาระงานเหล่านั้นไม่ได้มีความสำเร็จรูป สามารถปรับแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและดำเนินการร่วมกันได้จริง จึงควรมีลักษณะยืดหยุ่น และมีข้อควรพิจารณาในการจะนำไปปรับประยุกต์ใช้หรือทดลองนำร่อง อาจพิจารณาจากเกณฑ์ด้านศักยภาพและความพร้อมขององค์กรภาคประชาสังคม/ชุมชนเป็นหลัก นั่นคือ การให้ความสำคัญกับภารกิจในด้านที่องค์กรภาคประชาสังคม/ชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อม หรือมีองค์กรภาคประชาสังคม/ชุมชนดำเนินกิจกรรมในด้านนั้น ๆ ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน เช่น กลุ่มภารกิจด้านการจัดบริการทางสังคมและสวัสดิการทางสังคมแก่กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) กลุ่มภารกิจด้านการส่งเสริมอาชีพเกษตรกร การถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร การประมง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) กลุ่มภารกิจด้านการส่งเสริมสุขภาพ สุขภาวะ และบริการสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข) กลุ่มภารกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เป็นต้น สิ่งสำคัญคือ การกำหนดแผนเปลี่ยนผ่านเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานในรูปแบบการจัดบริการสาธารณะร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม/ชุมชนที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการซึ่งได้เปิดพื้นที่ให้กับภาคส่วนอื่นได้เข้ามาจัดบริการสาธารณะ โดยแผนเปลี่ยนผ่านจะต้องมีความรอบคอบ มีการวางกรอบเวลาที่ชัดเจน มีการกำหนดองค์กรผู้รับผิดชอบแผนที่ชัดเจน และจะต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ อย่างรอบด้าน และต้องคำนึงถึงมาตรการเสริมสร้างปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในทางตรงและในทางอ้อม สำหรับเกื้อหนุนให้ระบบการจัดทำบริการสาธารณะรูปแบบใหม่ภายใต้บทบาทขององค์กรภาคประชาสังคม/ชุมชน สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างราบรื่นและยั่งยืน |
|
ถ่ายโอนภารกิจ
ภาคประชาสังคม บริการสาธารณะ |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/220 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|