Show simple item record

dc.contributor.authorพรทิพย์ พิมลสินธุ์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2014-11-13T06:29:52Z
dc.date.available2014-11-13T06:29:52Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/21
dc.description.abstractAn assessment of Public Communication and Promotion Strategy of Renewable Energy Project was carried out. Samplings had been derived from two methods of data collection consisting of 1) quantitative data collection, 1,105 samples being chosen from 549 organization officers, private entrepreneurs, investors and financial workers, 373 state enterprises and local administrative offices and 183 mass media, and 2) qualitative data collection, interviewing in-depth with 80 chief officers of local administrative offices, public organizations, entrepreneurs, financial workers as well as investors. The assessment report concludes all aspects of the samples’ awareness of the renewable energy. They could be listed to be 1) Awareness of renewable energy development in Thailand, most samples got knowledge and information from print media, television and internet. The agriculture-based renewable energy production which originated from His Majesty the King’s superb idea of using agricultural raw materials in rural areas is the most important issue they had learnt, 2) Efficiency of communication tools and channels, most of communication channels by which the samples obtained news and information were print media, television and internet respectively. They also identified their much awareness of renewable energy knowledge gained from this project. Accordingly, the in-depth knowledge they got had significant impact on changing their positive attitudes towards the energy matter and consequently they had joined to support renewable energy development, 3) Changing attitudes towards Public Communication and Promotion Strategy of Renewable Energy Project, the samples expressed their positive attitudes towards the benefits of the renewable energy in terms of national energy security, farmers’ steady income, environmental conservation and reducing global warming. Furthermore, they were certainly confident about further development and consumption of the renewable energy, 4) Efficiency of Public Communication and Promotion Strategy of Renewable Energy Project upon behavior change to promote national plan of renewable energy development, most of the samples wanted to support the development and to change to use the renewable energy. They were seemingly willing to act as if information provider to disseminate renewable energy information to other networks, 5) Renewable energy images, the samples mostly thought of renewable energy as solar energy, bioenergy and natural gas. They also reflected their positive attitudes (3.90) towards the renewable energy. Recommendations; 1. Dissemination of renewable energy information, for disseminating the information, various types of public relations media should be applied to fit whatever target groups. In case of communication for specific ones, public forum, public talk and seminar are truly appropriate activities. Generally, public communication will reach effectively to audiences through television, print media, radio, internet and poster. Manual of renewable energy development is some another kind of print media which should be distributed extensively. 2. Knowledge creation of renewable energy, educating children relating to qualified attributes of renewable energy resources, exploration of some kind of new resources for making experimentation, and what else should be done is informing additional content of energy development in textbook or performing academic activity. 3. Networking of dissemination of information on renewable energy strategy, educating for all to join together for developing renewable energy knowledge among communities and households. The information dissemination for community will emphasize on renewable energy consumption and creation of innovative energy sources, in addition, knowledge sharing should be done between nearby communities.en
dc.description.abstractการประเมินผลโครงการสื่อสารสาธารณะและสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมภาพลักษณ์พลังงานทดแทนนั้น ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นจำนวนรวมทั้งหมด 1,105 ตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มองค์กร / ผู้ประกอบการภาคเอกชน นักลงทุน สถาบันการเงิน จำนวน 549 ตัวอย่าง กลุ่มรัฐกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 373 ตัวอย่าง และสื่อมวลชน จำนวน 183 ตัวอย่าง วิธีที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กลุ่มประชากรเป้าหมายระดับผู้บริหารของกลุ่มองค์กร ผู้ประกอบการ กลุ่มรัฐกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้จำนวนทั้งหมด 80 ตัวอย่าง คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการ สถาบันการเงิน นักลงทุน สรุปผลการประเมิน 1. ความรู้ ความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างเรื่องการพัฒนาพลังงานทดแทนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ได้รับข้อมูลข่าวสารโครงการฯ จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ และสื่ออินเทอร์เน็ต จากการได้รับข้อมูลข่าวสารโครงการฯ ประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจมากที่สุด คือ ทราบถึงต้นกำเนิดพลังงานทดแทนจากพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาพลังงานทดแทนโดยการใช้วัตถุดิบด้านการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น พัฒนาจนกลายมาเป็นพลังงานทางเลือกจนถึงปัจจุบัน 2. ประสิทธิภาพของเครื่องมือ/ช่องทางในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องมือ/ช่องทางในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่าช่องทางที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับ คือสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่ออินเทอร์เน็ต และการเข้ากิจกรรมฯ จากช่องทางดังกล่าวกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่าจากการได้รับข้อมูลข่าวสารโครงการฯ ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาพลังงานทดแทนในระดับมาก การปรับ เปลี่ยนทัศนคติ มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อพลังงานทดแทน และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทดแทน 3. การปรับเปลี่ยนทัศนคติ (Attitude) ของประชาชนต่อโครงการสื่อสารสาธารณะและสร้างกลยุทธ์การส่งเสริมภาพลักษณ์พลังงานทดแทน กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติที่ดีต่อพลังงานทดแทน มีความคิดเห็นที่เห็นด้วยกับประเด็นต่างๆ เหล่านี้ คือ - การพัฒนาพลังงานทดแทนช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี เป็นการช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นการลดภาวะโลกร้อน - มีความมั่นใจต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน และมีความมั่นใจต่อการใช้พลังงานทดแทน 4. ประสิทธิภาพของโครงการฯ ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ต้องการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนพัฒนาพลังงานทดแทนและต้องการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้พลังงานทดแทนรวมทั้งต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนไปสู่เครือข่ายกลุ่มอื่นๆ 5. ภาพลักษณ์ของพลังงานทดแทน สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นึกถึงเมื่อเอ่ยถึงพลังงานทดแทน คือพลังงานแสงอาทิตย์ ก๊าซจากการหมักชีวภาพ ก๊าซธรรมชาติ การประเมินผลโครงการฯ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภาพลักษณ์เป็นภาพบวกต่อพลังงานทดแทน (3.90) ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการประเมิลผล 1. การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ควรใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ถ้าเป็นการประชาสัมพันธ์เฉพาะกลุ่มควรใช้การจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดเวทีสาธารณะ การจัดเสวนา การจัดสัมมนา พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ในแนวกว้างโดยเผยแพร่ผ่านสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ และอินเทอร์เน็ต ติดป้ายรณรงค์เข้าถึงชุมชน ตลอดจนการจัดทำคู่มือเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานทดแทนแจกตามสถานที่ต่างๆ 2. การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานทดแทน ให้ความรู้เกี่ยวกับการนำทรัพยากรมาใช้เป็นพลังงานทดแทนควรมีคุณสมบัติอย่างไร กระบวนการสรรหาสิ่งที่จะนำมาสร้างพลังงานใหม่ๆ การค้นหาวัตถุดิบใหม่ๆ มาทำการทดลอง ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจการพัฒนาพลังงานทดแทนให้แก่เยาวชน โดยการเพิ่มเติมในบทเรียน หรือมีการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา 3. กลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ด้านพลังงานทดแทนไปสู่บุคคลอื่นๆ ให้ความรู้กับคนทุกวัยให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทนในชุมชนและในครัวเรือน ให้ข้อมูลรายละเอียดแก่ชุมชนในการใช้พลังงานทดแทน และการสร้างพลังงานใหม่ๆใช้ในชุมชนร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้พลังงานทดแทนจากชุมชนสู่ชุมชนใกล้เคียงth
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectการสื่อสารสาธารณะth
dc.subjectกลยุทธ์การส่งเสริมภาพลักษณ์th
dc.subjectภาพลักษณ์พลังงานทดแทนth
dc.subjectการอนุรักษ์พลังงานth
dc.subjectพลังงานทดแทนth
dc.titleที่ปรึกษาประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปี 2554 ส่วนงานที่ 1
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjId2556A00143
mods.genreรายงานวิจัย
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษา
turac.researchSectorสาขาพลังงาน (Energy sector : EG)
turac.contributor.clientสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record