จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 3 ของ สสวท. (พ.ศ. 2559 – พ.ศ.2561)
by วิรัตน์ จารีวงศ์ไพบูลย์; Jareevongpiboon, Wirat
จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 3 ของ สสวท. (พ.ศ. 2559 – พ.ศ.2561) | |
ICT Master Plan (2016-2018) | |
วิรัตน์ จารีวงศ์ไพบูลย์
Jareevongpiboon, Wirat |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการจัดทําแผนแมบทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พ.ศ. 2559-2561 (ฉบับที่ 3)ของสถาบันสงเสริมการสงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ไดจัดทําขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการดําเนินงานของ สสวท. ใหบรรลุภารกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามพันธกิจ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ขององค์กร อีกทั้งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กรในอนาคตที่ตองการส่งเสริมการทํางานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในการจัดทําแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ คณะที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไดดําเนินการศึกษาวิเคราะห์ระบบและสํารวจความต้องการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของ สสวท. โดยผ่านทางแบบสอบถามการสัมภาษณ์และการประชุมสัมมนาร่วมรับฟังความคิดเห็น และศึกษาตัวอย่างที่ดีของแผนแม่บทฯ อื่นรวมถึงนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับที่ 3 ของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2561 แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2557-2559 นโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 เป็นต้น รวมถึงศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีผลกระทบต่อ สสวท. กรอบแนวคิดสถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ชัดเจน และสามารถแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันและสามารถตอบสนองตอการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอนาคต กรอบแนวคิดดังกล่าวได้มาจากการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ กระบวนการทํางาน ข้อมูลและปัญหาอุปสรรคของ สสวท. โดยใช้หลักการการบูรณาการแอพพลิเคชันขององค์กร (Enterprise Application Integration) ที่ใช้เทคโนโลยีในรูปแบบของการบริการเพื่อเป็นตัวกลางหรือตัวประสานให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ภายในองค์กรด้วยการจัดการการไหลของข้อมูลและการกําหนดมาตรฐานการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบ กรอบแนวคิดนี้จะถูกใช้เป็นรากฐานสําหรับการวางแผนพัฒนาโครงการตางๆ ตามแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อความสําเร็จในการบริหารจัดการแผนแม่บทฯ ได้แก่
การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับแผนแม่บทฯ การจัดลําดับการดําเนินงานของโครงการต่างๆ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ธรรมมาภิบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทํางานปัจจุบันและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทํางาน ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯ มีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สสวท. จะประสบผลสําเร็จในการนําแผนแม่บทฯ ฉบับนี้ไปใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร |
|
แผนแม่บท
เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/211 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|