Show simple item record

dc.contributor.authorพรทิพย์ พิมลสินธุ์
dc.contributor.authorPimolsindh, Pornthip
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-02-26T02:58:19Z
dc.date.available2016-02-26T02:58:19Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/205
dc.description.abstractการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการของ สพพ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และ (2) เพื่อดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำรายงานผลการสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ การสำรวจครั้งนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในประเภทของการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยประมวลและวิเคราะห์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างผู้รับบริการ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง โดยเน้นการวัดครั้งเดียว (One-shot Descriptive Study) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับบริการตามประเด็นการสำรวจความพึงพอใจ ทั้งผู้รับบริการจาก สพพ. ในประเทศ และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้รับบริการของ สพพ. จำนวนทั้งหมด 508 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) กลุ่มหน่วยงานประเทศเพื่อนบ้านจำนวน 99 คน (2) กลุ่มผู้รับบริการคนไทยทั่วไป (สถาบันการเงิน ที่ปรึกษา รับเหมา มหาวิทยาลัย สื่อมวลชน) จำนวน 142 คน (3) กลุ่มหน่วยงานราชการ /ประสานงานในประเทศไทย (ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ) จำนวน 107 คน และ (4) กลุ่มผู้รับบริการที่เป็นประชาชนในพื้นที่โครงการในประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 160 คน ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 67 (R 67) อันลองเวง-เสียมราฐ โครงการปรับปรุงถนนหมายเลข 48 (R48) ช่วงตราด-เกาะกง-สะแรอัมเปิล กัมพูชา โครงการก่อสร้างเส้นทาง เชียงราย-คุนหมิง ผ่าน สปป.ลาว (R3) และโครงการเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างหนองคาย-ท่านาแล้ง ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการในด้านต่างๆ 1.1 ภาพรวมความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของ สพพ. ของกลุ่มผู้รับบริการทั่วไป (กลุ่มหน่วยงานประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มผู้รับบริการคนไทยทั่วไป และกลุ่มหน่วยงานประสานงานในประเทศไทย) 1.1.1 ภาพรวมความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของ สพพ. ของกลุ่มผู้รับบริการทั่วไป ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก เท่ากับ 4.5866 1.1.2 ทุกด้านได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ด้านที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงกว่าด้านอื่นๆ คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการ (4.6240) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการปฏิบัติงานและขั้นตอนการให้บริการของ สพพ. (4.6197) 1.1.3 เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่ม พบว่า ทุกกลุ่มมีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของ สพพ. ในระดับพอใจมาก โดยที่กลุ่มหน่วยงานประเทศเพื่อนบ้านมีความพึงพอใจในระดับพอใจมากสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (4.6045) 1.2 ความพึงพอใจในประเด็นต่างๆ ด้านกระบวนการปฏิบัติงานและขั้นตอนการให้บริการของ สพพ.1.2.1 ภาพรวมทุกกลุ่มผู้รับบริการทั่วไป ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านกระบวนการปฏิบัติงานและขั้นตอนการให้บริการของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อประสานงานและการรับริการ (4.6520) พิจารณาแยกตามกลุ่ม 1.2.2 กลุ่มหน่วยงานประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านกระบวนการปฏิบัติงานและขั้นตอนการให้บริการของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ กระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานของ สพพ. มีมาตรฐาน ทันสมัย และมีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่น (4.6224) 1.2.3 กลุ่มผู้รับบริการคนไทยทั่วไป พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านกระบวนการปฏิบัติงานและขั้นตอนการให้บริการของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อประสานงานและการรับบริการ (4.6761) 1.2.4 กลุ่มหน่วยงานประสานงานในประเทศไทย พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านกระบวนการปฏิบัติงานและขั้นตอนการให้บริการของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ การให้บริการเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด (4.6636) และความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อประสานงานและการรับบริการ (4.6636) 1.3 ความพึงพอใจในประเด็นต่างๆ ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของ สพพ.1.3.1 ภาพรวมทุกกลุ่มผู้รับบริการทั่วไป ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ความเหมาะสมในการแต่งกายของผู้ให้บริการ (4.5684) พิจารณาแยกตามกลุ่ม 1.3.2 กลุ่มหน่วยงานประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ความเหมาะสมในการแต่งกายของผู้ให้บริการ (4.6020) 1.3.3 กลุ่มผู้รับบริการคนไทยทั่วไป พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ความเหมาะสมในการแต่งกายของผู้ให้บริการ (4.5986) 1.3.4 กลุ่มหน่วยงานประสานงานในประเทศไทย พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ การให้บริการเหมือนกันทุกรายโดยไม่เลือกปฏิบัติ (4.5234) 1.4 ความพึงพอใจในประเด็นต่างๆ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการ 1.4.1 ภาพรวมทุกกลุ่มผู้รับบริการทั่วไป ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการ ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ความสะอาดของสถานที่ให้บริการโดยรวม (4.6725) พิจารณาแยกตามกลุ่ม 1.4.2 รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ความสะอาดของสถานที่ให้บริการโดยรวม (4.7576) 1.4.3 กลุ่มผู้รับบริการคนไทยทั่วไป พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการ ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ สภาพแวดล้อมของสำนักงานมีความเหมาะสม และมีความเป็นมิตรกับผู้รับบริการ (4.6127) และความเหมาะสมของสถานที่แสดงข้อมูลข่าวสารขององค์กร (4.6127) 1.4.4 กลุ่มหน่วยงานประสานงานในประเทศไทย พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการให้บริการ ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ความสะอาดของสถานที่ให้บริการโดยรวม (4.6542) 1.5 ความพึงพอใจในประเด็นต่างๆ ด้านการประชาสัมพันธ์องค์กรของ สพพ.1.5.1 ภาพรวมทุกกลุ่มผู้รับบริการทั่วไป ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านการประชาสัมพันธ์องค์กรของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ข้อมูลข่าวสารด้านการดำเนินงานของ สพพ. ที่เผยแพร่ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต (4.5938) พิจารณาแยกตามกลุ่ม 1.5.2 กลุ่มหน่วยงานประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านการประชาสัมพันธ์องค์กรของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ข้อมูลข่าวสารด้านการดำเนินงานของ สพพ. ที่เผยแพร่ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต (4.6162) 1.5.3 กลุ่มผู้รับบริการคนไทยทั่วไป พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านการประชาสัมพันธ์องค์กรของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ข้อมูลข่าวสารด้านการดำเนินงานของ สพพ. ที่เผยแพร่ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต (4.6549) 1.5.4 กลุ่มหน่วยงานประสานงานในประเทศไทย พบว่า ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นของด้านการประชาสัมพันธ์องค์กรของ สพพ. ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ ความทั่วถึง เพียงพอและต่อเนื่อง ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารขององค์กรผ่านสื่อต่างๆ (4.5421) 1.6 ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของ สพพ. ของกลุ่มผู้รับบริการที่เป็นประชาชนในพื้นที่โครงการประเทศเพื่อนบ้าน 1.6.1 ภาพรวมกลุ่มผู้รับบริการที่เป็นประชาชนในพื้นที่โครงการประเทศเพื่อนบ้าน มีความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของ สพพ. ในระดับพอใจมาก (4.2348) ทั้ง 2 ด้าน ด้านศักยภาพในการดำเนินงานตามภารกิจหลักของ สพพ. (4.2609) และด้านการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการของ สพพ. (4.2348) ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก 1.6.2 พิจารณาประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัด ของด้านศักยภาพในการดำเนินงานตามภารกิจหลักของ สพพ. พบว่า มีเพียงประเด็นเดียวที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจ คือความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ (4.2000) นอกนั้นประเด็นอื่นๆ ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก คือ มีการป้องกันและดูแลประชาชนในพื้นที่โครงการ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ (เช่น ฝุ่นละออง เสียง อุบัติเหตุ เป็นต้น) (4.3438) ความพึงพอใจที่มีต่อการมีอยู่ของโครงการ (4.2813) และประโยชน์โดยตรงต่อการดำรงชีวิต เมื่อโครงการแล้วเสร็จ (4.2188) 1.6.3 พิจารณาประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัด ของด้านการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการของ สพพ. พบว่า ทุกประเด็นได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงกว่าประเด็นอื่นๆ คือ มีการรับรู้กำหนดโครงการจากสื่อและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (4.2750) 1.7 ความพึงพอใจต่อบริการในด้านต่างๆ ของสพพ. แยกตามการขอรับบริการจาก สพพ.1.7.1 กลุ่มตัวอย่างหน่วยงานประเทศเพื่อนบ้านมาขอรับบริการจาก สพพ. 3 ด้าน คือ ด้านความช่วยเหลือทางการเงิน ด้านความช่วยเหลือทางวิชาการ และด้านการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการ องค์กรของรัฐ สถาบันระหว่างประเทศ การสำรวจความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของ สพพ. พบว่า ทั้ง 3 ด้านกลุ่มตัวอย่างมีความ พึงพอใจในระดับพอใจมาก ด้านที่กลุ่มตัวอย่างมาขอรับบริการมีความพึงพอใจสูงกว่าด้านอื่นๆ คือ ด้านความช่วยเหลือทางการเงิน (4.7779) 1.7.2 กลุ่มตัวอย่างผู้รับบริการคนไทยทั่วไป มาขอรับบริการจาก สพพ. 6 ด้าน คือ ด้านความช่วยเหลือทางการเงิน ด้านความช่วยเหลือทางวิชาการ ด้านการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ สพพ. ด้านการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการ องค์กรของรัฐ สถาบันระหว่างประเทศ ด้านการบริหารจัดการโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน และด้านเงิน/บริหารงาน การสำรวจความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของ สพพ. พบว่า ทั้ง 6 ด้านกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ด้านที่กลุ่มตัวอย่างมาขอรับบริการมีความพึงพอใจสูงกว่าด้านอื่นๆ คือ ด้านความช่วยเหลือทางการเงิน (4.6282) 1.7.3 กลุ่มตัวอย่างหน่วยงานประสานงานในประเทศไทยมาขอรับบริการจาก สพพ. 5 ด้าน คือ ด้านความช่วยเหลือทางการเงิน ด้านความช่วยเหลือทางวิชาการ ด้านการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ สพพ. ด้านการติดต่อประสานงานกับส่วนราชการ องค์กรของรัฐ สถาบันระหว่างประเทศ และด้านการบริหารจัดการโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน การสำรวจความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของ สพพ. พบว่า ทั้ง 5 ด้านกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับพอใจมาก ด้านที่กลุ่มตัวอย่างมาขอรับบริการมีความพึงพอใจสูงกว่าด้านอื่นๆ คือ ด้านการบริหารจัดการโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน (4.7555) 2 .จุดเด่นของการให้บริการ จุด/ประเด็นที่ไม่พึงพอใจ และข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการ 2.1 จุดเด่นของการให้บริการของ สพพ. (1) เจ้าหน้าที่ของ สพพ. มีมุนษยสัมพันธ์ที่ดี บริการเป็นกันเอง ยิ้มแย้มแจ่มใส (2) ข้อมูลข่าวสารของ สพพ. เป็นระบบครบถ้วน สมบูรณ์ (3) ความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อประสานงาน และการให้บริการ (4) เป็นหน่วยงานที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน (5) สถานที่ตั้งและสถานที่ให้บริการมีความสะอาดเรียบร้อย สะดวกสบายในการติดต่อ 2.2 จุด/ประเด็นที่ไม่พึงพอใจ (1) ด้านการประชาสัมพันธ์ การกระจายข้อมูลข่าวสารของ สพพ. มีน้อยไม่ทั่วถึงและล่าช้า (2) ข้อมูลข่าวสารด้านวิชาการในบางเรื่องยังเป็นเรื่องที่ไม่ทันสมัย และรายละเอียดยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร (3) เจ้าหน้าที่ของ สพพ. บางคนไม่สามารถตอบข้อซักถามของผู้รับบริการได้ชัดเจน (4) ความล่าช้าในการให้บริการ เช่น การให้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วนล่าช้า การติดต่อเจ้าหน้าที่ของ สพพ. ในเรื่องการขอข้อมูลทางวิชาการบางครั้งรอนานเกินไป และกระบวนการขั้นตอนทำงานของ สพพ. การประสานงานล่าช้า 2.3 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการของเจ้าหน้าที่ สพพ. (1) ควรมีความรวดเร็วในการให้บริการ (2) เจ้าหน้าที่ควรแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้แก่ผู้รับบริการให้ลุล่วงด้วยความรวดเร็ว (3) เจ้าหน้าที่ สพพ. บางคนขาดความมั่นใจในการให้บริการ การให้คำแนะนำบางอย่างแก่ผู้ใช้บริการควรเป็นไปด้วยความจริงใจ (4) ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเข้าใจในงานที่ให้บริการให้เหมาะสมกับจำนวนผู้มารับบริการ 2.4 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการแนวทางปฏิบัติ ในการให้บริการข้อมูลข่าวสาร (1) ควรมีความรวดเร็วในการกระจายข้อมูลข่าวสาร (2) ควรมีการพัฒนาข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอให้กับผู้รับบริการมีรายละเอียดมากขึ้น 2.5 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการแนวทางการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน (1) เจ้าหน้าที่ควรแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้แก่ผู้รับบริการให้ลุล่วงด้วยความรวดเร็ว การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยความรวกเร็ว (2) ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเข้าใจในงานที่ให้บริการให้เหมาะสมกับจำนวนผู้มารับบริการ (3) เจ้าหน้าที่ สพพ. บางคนขาดความมั่นใจในการให้บริการ การให้คำแนะนำบางอย่างแก่ผู้ใช้บริการควรเป็นไปด้วยความจริงใจ 2.6 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการข้อมูลข่าวสาร (1) การแจ้งข้อมูลข่าวสารควรมีความต่อเนื่อง และควรมีความชัดเจนในเรื่องของกำหนดเวลา (2) การแจ้งข้อมูลข่าวสารไม่ควรมีเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนและเข้าใจยากเกินไป (3) ควรจัดตั้งเป็น Official line ของ สพพ. เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นในแต่ละวัน (4) ข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปยังผู้รับบริการควรมีความละเอียด เข้าใจง่าย และน่าสนใจ 2.7 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น (1) เมื่อมีผู้ขอใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ควรเปิดช่องทางการให้บริการมากกว่าเดิม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการ (2) การปฏิบัติงานควรเป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนเป็นระบบ ไม่ควรข้ามขั้นตอน โดยที่การจัดลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานมีความทันสมัย สุจริต และโปร่งใส (3) การติดต่อประสานงานกับ สพพ. ควรมีระบบลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน มีการจัดลำดับขั้นตอนอย่างเหมาะสม 2.8 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแนวทางการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน (1) ควรปรับปรุงเรื่องความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อประสานงานกับ สพพ. 2.9 กลุ่มผู้รับบริการที่เป็นประชาชนในพื้นที่โครงการประเทศเพื่อนบ้าน ได้ให้ข้อเสนอแนะในประเด็นเดียว คือ ควรให้ผู้ดำเนินโครงการป้องกัน และดูแลประชาชนในพื้นที่โครงการมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของฝุ่นละออง The satisfaction survey of the clients received from Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) in Fiscal Year 2015. The objectives are: 1) To conduct a satisfaction survey of clients about the quality of service of NEDA in fiscal year 2015. 2) To conduct a study and prepare a report analyzing the survey results of service satisfaction. This survey was to use quantitative research method, in the type of research with survey by processing and analyzing a sample of clients at a time, and by focusing on a single measure (One-shot Descriptive Study). The sample groups were based on clients satistisfaction surveys from both in the country and neighbouring countries including Laos, Myanmar and Cambodia. There are 508 data samples in total collected from the clients of NEDA as follows: 1) Group of agencies from neighbouring countries at 99 persons 2) General Thai client service group (financial institutes, consultants, contractors, university and press) at 142 persons 3) Government agencies group/coordinator in Thailand (government and state enterprise) at 107 persons 4) General public group in the project area of neighbouring countries at 160 persons; consisting of construction of Highway 67 (R 67) Anlong Veng - Siem Reap, Improvement of Road No. 48 (R48) Trad - Koh Kong-Sarae Ample Cambodia, Road construction projects of Chiang Rai-Kunming through Lao PDR (R3) and Rail Link projects between Nong Khai - Thanaleng The results are summarized as follows: 1. Satisfaction in quality of service in various area 1.1 Overall satisfaction with the service quality of NEDA provided to general clients group (Group of agencies from neighbouring countries, General Thai clients group and Government agencies/coordinator in Thailand group) 1.1.1) Overall satisfaction with the service quality of NEDA provided to the general Thai clients service group is at the average satisfaction score of “very satisfactory” level of 4.5866. 1.1.2) Every aspect is at the “average satisfaction” level. The area that received higher satisfaction rating is the facilities service (4.6240), the second is the operational processes and procedures of NEDA (4.6197). 1.1.3) When considering group by group found that every group was satisfied with the quality of service of NEDA at the “very satisfactory” level, while the group of agencies from neighbouring countries has much higher level of satisfaction than others (4.6045). 1.2 Satisfaction on various issues, the operational processes and procedures services of NEDA 1.2.1 Overview of all services in general, the minor issues used as the measure of all issues in the operational processes and procedures services of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received an average satisfaction score is the convenience and fast service in facilitate coordination (4.6520). Consideration by groups: 1.2.2 Group of agencies from neighbouring countries found that the minor issues used as the measure of all issues in the operational processes and procedures services of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the processes and procedures of NEDA for the modern and effient standards compared to others (4.6224).1.2.3 General Thai clients service group found that the minor issues used as the measure of all issues in the operational processes and procedures services of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the convenience and fast service in facilitate coordination (4.6761). 1.2.4 Government agencies/coordinator in Thailand group found that the minor issues used as the measure of all issues in the operational processes and procedures services of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issues received the highest satisfaction score are the service according to the given period (4.6636) and the convenience and fast service in facilitate coordination (4.6636).1.3 Satisfaction issues in the performance of officials of NEDA 1.3.1 Overview of all services in general. The minor issues used as the measure of all issues in the performance of officials of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the appropriate dress code (4.5684). Consideration by groups: 1.3.2 Group of agencies from neighbouring countries found that the minor issues used as the measure of all issues in the performance of officials of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the appropriate dress code (4.6020).1.3.3 The general Thai clients service group found that the minor issues used as the measure of all issues in the performance of officers of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the appropriate dress code (4.5986). 1.3.4 Government agencies/coordinator in Thailand group found that the minor issues used as the measure of all issues in the performance of officers of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the providing the same service to all without discrimination (4.5234). 1.4 Satisfaction with various aspects of facility services 1.4.1 Overview of all services in general. The minor issues used as the measure of all issues in various aspects of facility services received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the cleanliness of the property overall (4.6725).Consideration by groups: 1.4.2 Group of agencies from neighbouring countries found that the minor issues used as the measure of all issues in the various aspects of facility services received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the cleanliness of the property overall (4.7576).1.4.3 The general Thai clients service group found that the minor issues used as the measure of all issues in various aspects of facility services received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the office environment and the friendliness with clients (4.6127), and appropriate location to display organization’s information (4.6127).1.4.4 Government agencies/coordinator in Thailand group found that the minor issues used as the measure of all issues in various aspects of facility services received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the cleanliness of the property overall (4.6542). 1.5 Satisfaction with various issues, corporate public relations of NEDA 1.5.1 Overview of all services in general. The minor issues used as the measure of all issues in the corporate public relations of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the information on the operation of NEDA published via the Internet (4.5938).Consideration by groups: 1.5.2 Group of agencies from neighbouring countries found that the minor issues used as the measure of all issues in the corporate public relations of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the information on the operation of NEDA published via the Internet (4.6162).1.5.3 The general Thai clients service group found that the minor issues used as the measure of all issues in the corporate public relations of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the the information on the operation of NEDA published via the Internet (4.6549).1.5.4 Government agencies/coordinator in Thailand group found that the minor issues used as the measure of all issues in the corporate public relations of NEDA received an average satisfaction score at the “very satisfactory” level. The issue received the highest satisfaction score is the ongoing and thoroughly disseminate corporate information through various media (4.5421). 1.6 Satisfaction with the quality of service of NEDA provided to the group of residents in the neighbouring countries project area 1.6.1 Overview of the group of residents in the neighbouring countries project area, is satisfied with the quality of service of NEDA at the “very satisfactory” level of 4.2479. Both sides: the ability to implement the core mission of NEDA (4.2609) and the public relations on the project implementation of NEDA (4.2348) received an averge satisfaction score at the “very satisfactory” level. 1.6.2 Considering the minor issues used as the measure to indicate the ability in implementing the core mission of NEDA found that there is only one area received an average satisfactory score at the “satisfactory” level, on their satisfactying issue toward the project implementation (4.2000). Other issues that received the average satisfactory score at the “very satisfactory” level are the protection and care of the people in the project area which may be affected by the project (such as dust, noise, accidents, etc.) (4.3438); satisfaction with the existence of the project (4.2813); and direct benefit to their daily life when the project is completed (4.2188).1.6.3 Considering the minor issues used as the measure to indicate the public relations on the project implementation of NEDA found that every area received an average satisfactory score at the “very satisfactory” level. The area which received higher average satisfactory score is the project perceived by the media and the relevant authorities (4.2750). 1.7) Satisfaction with services in various areas of NEDA devided by obtaining service from NEDA 1.7.1 Sample group of agencies from neighbouring countries requested for services from NEDA in three areas: the financial aid, the academic support, and to liaise with the government, state organization and international institute. The satisfaction survey on the quality of service of NEDA found that the three areas of sample groups were satisfied at the “very satisfactory” level. The sample group requesting for sevice and obtaining a higher level of satisfaction than the others is the financial support (4.7779). 1.7.2 The sample group of general Thai client service group requested for services from NEDA in six areas including the financial aid, academic support, the payment of principal and interest to the NEDA, to liaise with the government, state organization and international institute, the financial assistance management programme and the finance/administration. The satisfaction survey on quality of service of NEDA found that the six areas of sample groups were satisfied at the “very satisfactory” level. The sample group requesting for sevice and obtaining a higher level of satisfaction than the others is the financial support (4.6282). 1.7.3 The sample group of government agencies/coordinator in Thailand group requested for services from NEDA in five areas including the financial aid, academic support, the payment of principal and interest to the NEDA, to liaise with the government, state organization and international institute, and the financial assistance management programme. The satisfaction survey on quality of service of NEDA found that the six areas of sample groups were satisfied at the “very satisfactory” level. The sample group requesting for sevice and obtaining a higher level of satisfaction than the others is the financial support (4.7555). 2. Highlights of the service point / point of dissatisfaction and recommendations to improve services 2.1 Highlights of the service of NEDA (1) NEDA staff have good human-relation, friendly service, brightly smiling faces. (2) NEDA information is complete.(3) The convenience and fast service in facilitate coordination.(4) An agency that helps build up good relations with neighboring countries. (5) The location and service venue is clean tidy and convenience. 2.2 Points of dissatisfaction (1) Corporate public relations and information distribution of NEDA is too little, not thoroughly and delayed. (2) Some academic information are not up to date and details were not clear enough. (3) Some staff of NEDA cannot answer to some queries clearly.(4) Delays in providing services such as delayed service during rush hours, taking too long in obtaining technical information from NEDA staff, and delayed working procedures and delayed coordination. 2.3 Suggestions to improve services of NEDA staff (1) Should provide faster service. (2) Staff should be able to solve problems quickly. (3) Some NEDA staff were lack of confidence in providing services, and giving some advice should be more sincere. (4) Should increase more capable staff who have knowledge and understanding of the work, to suit the number of clients requesting for services. 2.4 Suggestions to improve services and guidelines to provide information service (1) Disseminate information should be faster. (2) To improve the information provided to clients with greater details. 2.5 Suggestions to improve services and guidelines in providing financial assistance and academic support to neighboring countries (1) Staff should be able to fix problem for clients quickly including any immediate problem. (2) Should increase more capable staff who have knowledge and understanding of the work, to suit the number of clients requesting for services (3) Some NEDA staff were lack of confidence in providing services, and giving some advice should be more sincere 2.6 Suggestions to improve the information service (1) Information notifications should be continuity and be clear on the timing matter. (2) Information notifications should not contain redundant and too elusive. (3) NEDA Official line should be set up in order to reach the target more and more each day. (4) Information sent to clients should be easy to understand with interesting details. 2.7 Suggestions to improve the process and increase operational efficiency (1) When having more clients, more service channels should be open for more conveniences and faster. (2) The operation should be carefully sequenced system, no skipping, with modern, honest and transparent operating process. (3) Coordination with NEDA should have a clear hierarchy with proper sequence. 2.8 Suggestion to improve the financial assistance and academic support to neighboring countries To improve the quick and convenience in coordinating with NEDA. 2.9 General public group in the project area of neighbouring countries provides feedback on a single issue which is about having the project implementor to provide protection and take care of the people in the area, especially the dust.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectสำรวจความพึงพอใจth
dc.subjectผู้รับบริการth
dc.subjectคุณภาพการให้บริการth
dc.titleเพื่อดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการของ สพพ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
dc.title.alternativeThe Satisfaction Survey of Users of the Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization) (NEDA) for 2015 Fiscal Year
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
cerif.cfProj-cfProjId2558A00338
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)
turac.contributor.clientสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record