Show simple item record

dc.contributor.authorอัญชลี พิพัฒนเสริญ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2014-06-03T00:41:09Z
dc.date.available2014-06-03T00:41:09Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/185
dc.description.abstractรายงานการศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาสถานภาพและแนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ (Accessories) และศึกษากลุ่มชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ รถยนต์ (Accessories) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็น Product Champion ของไทย คือ รถปิกอัพ 1 คัน รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล และรถจักรยานยนต์ ตลอดจนวางยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ (Accessories) สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็น Product Champion ของไทยให้สามารถเพิ่มโอกาสในการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนและ/หรือตลาดส่งออกอื่นๆ ที่มีศักยภาพ จากการศึกษาตลาดของรถยนต์ที่เป็น Product Champion ของไทย นับได้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย มีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) โดยประมาณ ในปี 2555 มียอดการส่งออกสูงกว่า 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นยอดการส่งออกรถยนต์กว่า 1 ล้านคัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท และยอดส่งออกชิ้นส่วนอีกกว่า 4 แสนล้านบาท และจากรวบรวมข้อมูลของการส่งออกของผลิตภัณฑ์ Product Champion ของไทย สามารถสรุปตลาดเป้าหมายที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ Product Champion ประเภทต่างๆ ได้แก่ กลุ่มประเทศในเอเชีย ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย คณะผู้วิจัย ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์เป้าหมายเพื่อคัดเลือกชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ของไทยที่มีศักยภาพสำหรับ Product Champion ในการพัฒนาเพื่อส่งออกไปยังตลาดอาเซียนหรือตลาดอื่นๆ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 ท่าน ซางมาจากอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ที่มีการผลิตอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งได้ให้ความเห็นในแนวทางการคัดเลือกและผู้วิจัยได้นำมาสรุปเป็นหลักเกณฑ์ในด้านต่างๆ รวม 22 หลักเกณฑ์ ได้แก่ หลักเกณฑ์ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านวัตถุดิบ จำนวนเทคโนโลยี ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านองค์กรและการจัดการ และจากการจัดทำการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการคัดเลือกชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ได้มีการนำเกณฑ์ที่สรุปได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาดำเนินการให้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามความสำคัญของเกณฑ์ในความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และได้ผลจากดำเนินการสนทนากลุ่มเพื่อระดมความคิดเห็นและกำหนดระดับคะแนนสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ของรถที่เป็น Product Champion ทั้งสามกลุ่ม คือ รถปิกอัพ รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล และรถจักรยานยนต์ ปรากฏผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพชิ้นส่วนรถยนต์ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ผลการคัดเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นต้นแบบในการศึกษาแนวทางการเพิ่มศักยภาพชิ้นส่วนประกอบ รถยนต์ ที่มา: ผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มโดยคณะผู้เชี่ยวชาญจัดทำโดยสถาบันวิจัยและ ให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับบุรินทร์และคณะ (กรกฏาคม 2556) ในส่วนของโครงสร้างด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 10 ผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมทางการแข่งขันที่แตกต่างกันไป โคมไฟส่องสว่าง คาร์บอนคอมโพสิท และล้ออะลูมิเนียมอัลลอยจะมีขนาดตลาดที่ใหญ่กว่าผลิตภัณฑ์อื่น อันเป็นผลมาจากปัจจัยความนิยมของผู้บริโภค โดยมีขนาดตลาดอยู่ที่ประมาณ 49,000 ล้านบาทถึง ประมาณ 69,000 ล้านบาท โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าตลาดต่ำสุดที่สุด ได้แก่ ท่อไอดีและกรองอากาศ มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 10,500 ล้านบาท เมื่อทำการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย และนำข้อมูลทางการตลาด ปัจจัยทางภาคอุตสาหกรรม ความสามารถในการแข่งขันของแต่ละผลิตภัณฑ์เป้าหมาย มาวิเคราะห์ถึงจีอีเมตริกซ์ แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากคาร์บอนคอมโพสิท และ ล้ออะลูมิเนียมอัลลอย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ภาครัฐควรสนับสนุนมากที่สุด เนื่องจากมีอนาคตที่ดี และควรลงทุนและมีการเติบโตที่ดี ผลิตภัณฑ์อีก 5 ชนิด ที่รัฐควรพิจารณาเป็นทางเลือกในการจัดลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์เรียงลำดับ คือ หมวกนิรภัย ซันรูฟ โคมไฟส่องสว่าง จานเบรกและคาลิเปอร์ และชุดท่อไอดีและกรองอากาศ โดยสามารถเน้นส่งเสริมให้มีการเติบโตได้ พรมหรือผ้ายางปูพื้น และหุ้มเบาะ เป็นทางเลือกในลำดับถัดมา ซึ่งแม้จะไม่มีความโดดเด่นเช่น ผลิตภัณฑ์อื่นแต่ก็สามารถพัฒนาให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำกำไรได้เรื่อยๆ ในระยะยาว จากการศึกษาแผนยุทธศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ตามกรณีศึกษา คณะที่ปรึกษาได้สรุปเป็นแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวม ดังนี้ 1. ส่งเสริมแนวทางการสร้างผู้ประกอบการใหม่ในผลิตภัณฑ์ที่มีอนาคตดี และยังไม่มีการผลิตในประเทศไทยหรือมีมากน้อยมาก 2. พัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นจุดเด่นด้านการออกแบบและคุณภาพนำตลาด 3.หาแนวทางส่งเสริมการร่วมทุนของผู้ประกอบการไทยกับผู้ผลิตระดับโลกที่มีชื่อเสี่ยงและต้องการขยายตลาดในเอเชียโดยเน้นคุณภาพ 4. สนับสนุนการลงทุนในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดตั้งศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องเน้นคุณภาพและความปลอดภัยth
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectอุตสาหกรรมth
dc.subjectชิ้นส่วนประกอบรถยนต์th
dc.subjectอะไหล่รถยนต์th
dc.titleศึกษาศักยภาพชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ที่เป็น Product Champion ของไทย
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjId2556A00098
mods.genreรายงานวิจัย
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN)
turac.contributor.clientสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record