Show simple item record

dc.contributor.authorพรชัย ตระกูลวรานนท์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2014-02-05T06:27:23Z
dc.date.available2014-02-05T06:27:23Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/182
dc.description.abstractIndustrial Estate Authority of Thailand (I-EA-T) and Thammasat University collaborate on this project to survey and to study satisfactions and attitudes of communities around industrial estates and industrial ports toward I-EA-T’s Corporate Social Responsibility (CSR) program. Findings as well as suggestions from neighboring communities are then summarized as database for I-EA-T’s CSR improvement plan. The surveying methodology of 4-stages samplings has been utilized in this study Sample size of 6,647 has been calculated to statistically represent the entire population of 88,020 household in neighboring communities around industrial estates and industrial ports. Gatherings of data have been accomplished by using questionnaire. The satisfactions study found that neighboring communities have the satisfactions score of 4.38 out of 5.00 on average, implying “High” level of satisfactions toward I-EA-T’s CSR program. The resulting scores on each surveying category in descending order are community relations/community involvement activities (4.50), general CSR activities (4.41), enhancement of living quality of neighboring communities (4.40) and communications between industrial estates and neighboring communities (4.20). This attitudes study found that, neighboring communities have the attitudes score of 3.74 out of 5.00 on average, implying “Positive” attitudes, especially for communities’ attitudes toward impacts from existence of industrial estates (4.01). The other scores are, in descending order, attitudes toward operations of industrial estates with regard to neighboring communities (3.88) and attitudes toward impacts from natural disasters (3.33). Observations from this study suggest that, when possible, surveys should be conducted immediately after completion of each CSR activity, to reflect community’s satisfactions and opinions toward I-EA-T’s CSR program.en
dc.description.abstractโครงการสำรวจความพึงพอใจและทัศนคติของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมที่มีต่อการดำเนินงานของ กนอ. มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจและศึกษาความพึงพอใจและทัศนคติของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมที่มีต่อการดำเนินงานของ กนอ. ในการสร้างคุณภาพชีวิตสังคมต่อชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรมรวมทั้งนำข้อเสนอแนะของชุมชนมาวิเคราะห์/ประเมินและนำเสนอแนวทางพร้อมแผนงานในการปรับปรุงการดำเนินงานของ กนอ. 2) เพื่อสำรวจและศึกษาความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรม ต่อผลกระทบจากการดำเนินงานของ กนอ. ในการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม ตามโครงการที่สำคัญในการสำรวจความพึงพอใจ และความคิดเห็นของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมที่มีต่อการดำเนินงานของ กนอ. ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง 4 ขั้นตอน เพื่อให้ได้คนในชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นตัวแทน โดยอาศัยขนาดตัวอย่างที่คำนวนตามแนวคิดทางสถิติ จำนวน 6,647 ราย จากจำนวนครัวเรือนในชุมชนทั้งหมด 88,020 ครัวเรือน โดยอาศัยแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการสำรวจพบว่า คะแนนความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมต่อการดำเนินงานของ กนอ. โดยรวมเท่ากับ 4.38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ซึ่งกล่าวได้ว่า ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ กนอ. ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านยังพบอีกว่า ด้านการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์/กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน ชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมมีความพึงพอใจสูงสุด (4.50 คะแนน) รองลงมาเป็น กิจกรรมที่นิคมอุตสาหกรรม ดำเนินการ (4.41 คะแนน) โครงการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตสังคมต่อชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่ (4.40 คะแนน) และการสื่อสารระหว่างนิคมอุตสาหกรรมกับชุมชน (4.20 คะแนน) ในด้านทัศนคติของชุมชนต่อการดำเนินงานของ กนอ. โดยรวมเท่ากับ 3.74 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับที่กล่าวได้ว่า ทัศนคติของชุมชนต่อการดำเนินงานของ กนอ. มีการปรับปรุงไปในทิศทางบวกค่อนข้างมาก โดยเฉพาะทัศนคติต่อผลกระทบในด้านต่าง ๆ (4.01 คะแนน) และการจัดการของนิคมอุตสาหกรรม/ท่าเรืออุตสาหกรรม (3.88 คะแนน) ในขณะที่ทัศนคติต่อผลกระทบกรณีเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีการปรับปรุงไปในทิศทางบวกค่อนข้างพอใช้ (3.33 คะแนน) จากข้อสังเกตและประสบการณ์ในการลงพื้นที่พบว่า ควรทำการสำรวจเมื่อ กนอ. หรือนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จัดกิจกรรมด้านชุมชนสัมพันธ์แล้วเสร็จในทันที เพื่อสะท้อนความพึงพอใจ และความคิดเห็นจากการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมได้จริงth
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectนิคมอุตสาหกรรมth
dc.subjectทัศนคติของชุมชนth
dc.subjectสำรวจความพึงพอใจth
dc.subjectการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยth
dc.subjectกนอth
dc.titleรายงานสำรวจความพึงพอใจ ความต้องการ ความคาดหวัง ทัศนคติของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ต่อการดำเนินงานของนิคมอุตสาหกรรม
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjId2556A00333
mods.genreรายงานวิจัย
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN)
turac.contributor.clientการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record