Show simple item record

dc.contributor.authorสมคิด เลิศไพฑูรย์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2014-02-05T04:24:56Z
dc.date.available2014-02-05T04:24:56Z
dc.date.issued2011
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/180
dc.description.abstractCurrently, each department of Thai government has its own database and collection of information. As individual department, the data operation can be managed and organized as routine jobs. However, data exchange among the department can be difficult to implement because no standard is prepared for information sharing. Therefore, this research is focused on study the feasibility of data exchange among Thai government and develop prototype of information sharing by using a group of sampling data. This research project defines the scope of study on the rice information because rice is one of the key agriculture products for Thailand as well as related to a lage number of Thai populations. This research has a great support from Angthong governors. The government data, cooperated meeting and on-site survey are fully supported by Angthong governors and staffs. This research project has sample data from government and comparing with data from site survey. The actual site survey is operated by group of surveyors and tablets to collect the data and GPS information, then loading all data to the computer in spreadsheet file. As a result, the core data from government and site survey is co-related and support each other. In addition, data from each government department can be used as data exchange by providing data in spreadsheet form. These files are imported to the database and used for decision making and strategy planning. From the sample set of data, 90% of data is co-related and can be used for analyzing the planting efficiency, cost efficiency and forecast production. In the summary, set of data from government can be exchanged in the form of spreadsheet. These files can be imported to database for managing, analyzing and planning. This structure can support the Thailand’s government plan of Government plan of Government Data Exchange (GDX.). The efficiency of government data can be improved by prioritizing type of data and categorized critical data and non-critical data. To enhance the benefit of data exchange, larger scale of implementation should be plan such as expand the scope to cover central part of Thailand and then scale to over the country. This improvement can lead to a better data exchange and accuracy in management planning.en
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้กำหนดขอบเขตในการศึกษาข้อมูลเรื่องข้าวและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากข้อมูลเรื่องข้างถือว่าเป็นหนึ่งของผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย และอีกทั้งมีความเกี่ยวข้องต่อการใช้ชีวิตของประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่ โครงการวิจัยนี้ได้รับความสนับสนุนเป็นอย่างดีจากผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้การจัดเก็บกลุ่มข้อมูลตัวอย่างจริงของหน่วยงานราชการของทางภาครัฐ การนัดประชุมปรึกษาหารือถึงแนวทางการดำเนินการและการลงพื้นที่สำรวจสามารถดำเนินงานเป็นไปตามแผนงาน โครงการวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างของข้อมูลจริงจากจังหวัดอ่างทองและเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ลงพื้นที่สำรวจจริง โดยการสำรวจพื้นที่ใช้กลุ่มผู้สำรวจและอุปกรณ์ Tablet ช่วยในการเก็บข้อมูลและตำแหน่ง GPS หลังจากนั้นกลุ่มผู้เก็บข้อมูลจะดึงข้อมูลไปเก็บรวบรวมในระบบคอมพิวเตอร์และใช้เป็นไฟล์ Spreadsheet ต่อไป โดยสุดท้ายแล้วพบว่า ข้อมูลจากภาครัฐและการเก็บข้อมูลจริงมีความสัมพันธ์กันและสนับสนุนความน่าเชื่อถือของข้อมูลทั้งคู่ ข้อมูลจากภาครัฐสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันโดยกระทบกับงานประจำหลักน้อยที่สุด และมีมาตรฐานเดียวกันได้โดยเลือกใช้รูปแบบในการวางไฟล์ Spreadsheet ในที่กำหนดและระบบคอมพิวเตอร์จะดึงไฟล์เหล่านี้ไปในฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนกำหนดนโยบายในอนาคต นอกจากกลุ่มของข้อมูลยังสะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลประมาณร้อยละ 90 มีความสัมพันธ์และให้ค่าไปในทิศทางเดียวกันในการวิเคราะห์ความสามารถในการเพาะปลูก การวิเคราะห์ต้นทุน และการพยากรณ์ผลผลิต โดยสรุปแล้ว จากกลุ่มของข้อมูลจริงในเรื่องข้าวจากจังหวัดอ่างทองสามารถสรุปได้โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบ Spreadsheet และอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ในการดึงข้อมูลและใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ บริหาร และจัดการข้อมูล ดังที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ โดยการจัดการข้อมูลสามารถให้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นหากมีการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลของข้อมูลและแบ่งประเภทข้อมูลข้อมูลสำคัญและไม่สำคัญแยกออกจากกัน โดยการวางแผนในการดำเนินการติดตั้งควรจะมีการจัดการให้ครอบคลุมกับพื้นที่ต่างๆให้มากขึ้น เนื่องจากการเชื่อมต่อได้มากขึ้นจะทำให้ขั้นตอนการทำงานของบุคลากรลดน้อยลงได้ เพียงเริ่มจากขนาดจังหวัด ภูมิภาคและขยายไปในระดับประเทศต่อไป ทั้งนี้การจัดการนี้สามารถทำให้การแลกเปลี่ยนมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและช่วยในการวิเคราะห์และวางแผนนโยบายต่างๆ สำหรับภาครัฐในอนาคตต่อไปได้ดีขึ้นth
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectข้าวth
dc.subjectไทยth
dc.subjectอ่างทองth
dc.titleต้นแบบบูรณาการสารสนเทศภาครัฐ
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjId2554A00302
mods.genreรายงานวิจัย
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology sector : ICT)
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record