Show simple item record

dc.contributor.authorแก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูลth
dc.date.accessioned2022-11-09T03:19:43Z
dc.date.available2022-11-09T03:19:43Z
dc.date.issued2022-11-09
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1134
dc.description.abstractประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยในปี พ.ศ. 2562 สถานการณ์สัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น และประชากรวัยทำงานที่ลดลง ทำให้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนประชากรวัยแรงงาน ส่งผลให้ประชากรวัยแรงงานมีภาวะกดดันในการสร้างผลิตภาพให้กับประเทศมากขึ้นเพื่อรักษาผลิตภาพในภาพรวมให้เท่าเดิม วัตถุประสงค์และขอบเขตของงานศึกษาประกอบด้วย 1) ศึกษาลักษณะและความต้องการด้านการทำงานของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ที่เป็นแรงงานนอกระบบที่เจาะลึกถึงกลุ่มผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่มที่มีบริบทที่แตกต่างกัน 2) ศึกษาความต้องการและการวางแผนการทำงานเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ (ช่วงอายุ 40 ถึง 59 ปี) 3) วิเคราะห์ลักษณะอาชีพที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบในแต่ละกลุ่ม และแนวโน้มลักษณะอาชีพในอนาคตที่เหมาะสมหรือเป็นโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ 4) วิเคราะห์ปัจจัยส่งเสริม/สนับสนุน การทำงานของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่ช่วยเตรียมความพร้อมของประชากรวัยก่อนสูงอายุ ทั้งในด้านการพัฒนาทักษะและการปรับเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรมให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้และการทำงานในวัยสูงอายุ รวมถึงการวิเคราะห์บทบาทของอุดมศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับการเรียนรู้และการทำงานของกลุ่มเป้าหมาย และ 5) ออกแบบระบบและกลไกการขับเคลื่อน การใช้อุดมศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับการเรียนรู้และการทำงานที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบแต่ละกลุ่ม และการเตรียมความพร้อมประชากรก่อนวัยสูงอายุ รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม วิธีการศึกษาประกอบด้วย 1) การเก็บแบบสอบถามเพื่อศึกษาลักษณะและความต้องการด้านการทำงานของผู้สูงอายุ โดยเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.1) แรงงานนอกระบบที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ในแต่ละกลุ่มที่มีบริบทที่แตกต่างกัน 1.2) แรงงานในระบบช่วงอายุ 40 ถึง 59 ปี และ 1.3) แรงงานนอกระบบช่วงอายุ 40 ถึง 59 ปี จากพื้นที่ตัวแทนจาก 4 ภาค (ภาคละ 2 จังหวัด) กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,500 คน ข้อมูลจากการเก็บแบบสอบถามจะนำมาใช้เพื่อ ก) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของลักษณะอาชีพที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบในแต่ละกลุ่ม และแนวโน้มลักษณะอาชีพในอนาคตที่เหมาะสมหรือเป็นโอกาสในการทำงานของผู้สูงอายุ ข) วิเคราะห์ปัจจัยส่งเสริม/สนับสนุน การทำงานของผู้สูงอายุและปัจจัยที่ช่วยเตรียมความพร้อมของประชากรวัยก่อนสูงอายุ ทั้งในด้านการพัฒนาทักษะและการปรับเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรมเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนรู้และการทำงานในวัยสูงอายุ 2) สังเคราะห์งานวิจัยด้านนโยบายการจ้างงาน และการขยายการจ้างงานผู้สูงอายุในประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในประเทศหรือต่างประเทศในด้านการส่งเสริมการทำงานในวัยสูงอายุที่เป็นการทำงานนอกระบบแรงงาน และ 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคชุมชน ผลการศึกษาในกลุ่มอายุ 60 ปีที่เป็นแรงงานนอกระบบ พบว่า ในระดับพื้นที่ระหว่างในเมืองและชนบท ไม่ได้ส่งผลต่อทัศนคติที่คาดว่าจะแตกต่างกัน เว้นแต่ เรื่องของทัศนคติที่ว่า ผู้สูงอายุสามารถรับความเครียดได้ ซึ่งในเมืองและชนบทอาจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และหากแบ่งตามประเภทของแรงงานนอกระบบ พบว่า ทัศนคติเรื่องผู้สูงอายุสามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มของแรงงานนอกระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บทบาทของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ในการเข้ามาหนุนเสริมกลุ่มแรงงานนอกระบบภาคเกษตรในชนบทที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป หากสามารถดำเนินการโดยผ่านมีโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่เริ่มต้นในการบูรณาที่ดีโดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่วยบูรณาการโครงการ (System Integrator) การจ้างงาน การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่มีความครอบคลุม ในประเด็นต่าง ๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมในการดำเนินการในพื้นที่ ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมในหลากหลายช่วงวัย ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเพียงผู้สูงอายุ แต่หากนำมาปรับใช้กับสำหรับคนกลุ่มนี้ ในด้านการพัฒนาส่งเสริมอาชีพอาจจะต้องเน้นการพัฒนาให้มีความยั่งยืน ต่อยอด หรือการเพิ่มผลผลิต ให้มีรายได้อย่างต่อเนื่อง เพราะในกลุ่มนี้อาจจะไม่มีความต้องการในการเปลี่ยนงาน หรือสร้างอาชีพใหม่ โดยนำองค์ความรู้ต่าง ๆ เทคนิควิธีการ รวมถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุด้วย โดย อว.ต้องมีการเพิ่มความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีโครงการในการดูแลและส่งเสริมด้านอาชีพด้านการเกษตรที่ชัดเจน ในภาพรวมของกลุ่มแรงงานนอกระบที่มีอายุน้อยกว่าหกสิบปี พบว่า มีปัจจัยด้านการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อคะแนนทัศนคติ และระหว่างคนเมืองและชนบท มีคะแนนทัศนคติในบางเรื่องที่แตกต่างกันคือ การรับความเครียดจากการทำงาน การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานและการไม่เป็นปัญหาต่อองค์กร ในเชิงพื้นที่ และอว.ควรปรับปรุงโครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อจะได้หลักสูตรในการเสริมสร้างทักษะเพื่อรองรับการทำงานเพิ่มทักษะการทำงานในกลุ่มคนในช่วงอายุนี้th
dc.description.abstractThailand is an aging society that will soon transform into an aged society. In 2019, the increasing proportion of the elderly population and the declining working-age population cause Thailand to face a shortage of workers. As a result, Thailand’s working- age population is pressured to increase productivity to maintain the same level of overall productivity. The objectives and scopes of this study consist of 1)studying the characteristics and employment needs of the elderly informal workers (aged 60 years and over) with an in-depth analysis of each elderly group and their contexts; 2) studying the needs and career plans of the pre-elderly population (aged 40 to 59 years); 3) analyzing current and future occupations suitable for elderly informal workers in each group, 4)analyzing elderly employment incentives to develop skills, induce conceptual and behavioral change, and highlight the importance of learning and elderly employment to the pre-elderly population. In addition, to analyze the role of higher education, technology, and innovation to enhance learning and employment of the target groups; and 5) designing a driving system and mechanism, using higher education, technology, and innovation to raise learning levels and find suitable employment for elderly informal workers, preparing the population before entering the elderly age, and make policy recommendations and measures to promote concrete operations. The research methodologies used in this study consist of 1) collecting questionnaires to study the elderly employment characteristics and needs of 3 sample groups: 1.1) informal workers aged 60 years and over with different contexts, 1.2) formal workers aged 40 to 59 years, and 1.3) informal workers aged 40 to 59 years. The total sample size is 1,500 people from representative areas from 4 regions (2 provinces in each region) and Bangkok and its vicinities. The data from the questionnaire collection will be used to a) analyze the likelihood and future trends of occupational characteristics suitable for the elderly informal workers in each group and b) analyzing elderly employment incentives to develop skills, induce conceptual and behavioral change, and highlight the importance of learning and elderly employment to the pre-elderly population. 2) synthesizing research on employment policy and expanding employment for the elderly in Thailand and abroad to find the best practices in encouraging employment for elderly informal workers; and 3) in-depth interviews and hosting workshops to gather opinions from experts and those involved in the public, private, academia, and community sectors. The results of the study in the elderly informal worker group (aged 60 years) indicated that location, urban and rural areas, do not affect attitudes, except for the attitude on how the elderly manage stress which differs significantly between urban and rural areas. Among the different groups of elderly informal workers, the difference in attitudes toward technology adaptation is statistically significant. The role of the Ministry of Higher Education, Science, Research, and Innovation (MHEIS) in supporting the elderly informal workers (aged 60 years and over) in the rural agricultural sector should focus on the integrated economic and social enhancement project (One Tambon One University). The One Subdistrict One University project is a good integration initiation with the local universities, as the System Integrator, and cooperation with relevant agencies for employment, economic, and social rehabilitation. It covers a wide range of issues according to the needs of the community and assists people of all ages. Since the elderly has no desire to change jobs or find new career paths, the project should be adapted to support the elderly in career development by focusing on sustainable development and productivity increase for continuous income. Integrating various knowledge on techniques, methods, and technologies is suitable for all ages. The MHEIS should seek cooperation from the Ministry of Agriculture and Cooperatives and the Ministry of Labor for their comprehensive knowledge of promoting agricultural careers. In the informal worker group (aged between 40-59 years), there is a correlation between educational background, urban and rural areas, and attitude scores. Some attitude scores varied greatly such as work stress management, technology adaptation, working environment adaptation, and adaptation to colleagues. In urban and rural areas, there is a significant statistical difference in attitudes: working environment adaptation, adaptation to colleagues, efficient training development, and work efficiency. Information on informal workers will be sought after by seeking cooperation from the Ministry of Labor for creating suitable projects and courses. The courses may be featured in the Thai-MOOC of Thailand Cyber University platform or organized as on-site training. The MHEIS should seek cooperation from the Social Security Office in encouraging informal workers, such as houseworkers, construction workers, and delivery workers, to apply for insurance under the Section 39 or 40 to be part of the basic labor protection system. As for self-improvement and skill development of informal workers (aged between 40-59 years), it was found that people with different educational backgrounds have different skills needs. Based on location, there are differences only in technology skills and e-commerce marketing skills. Based on the informal workers in each industry, the skills these informal workers demand differs by industry, except for entrepreneurial skills and self-employment skills which the demand is not significantly different. The top three skills with the highest demand are self-employment skills, entrepreneurial skills, and health development skills. The MHEIS can support the highly skilled workers (aged 40-59 years) in the system in terms of knowledge and skills enhancement in preparation for entering the elderly population (60 years and over) through the Thai-MOOC and Thailand’s manpower skills development project (Reskill/Upskill/Newskill). This project is a platform that focuses on skill enhancement and development in key industries for a better future; however, the project website currently does not function. The only functioning online platform is the Thai-MOOC; therefore, the available courses may not be sufficient. The MHEIS should help improve the Reskill/Upskill/Newskill project to create additional courses to better prepare people with job skills needed in the future.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์th
dc.subjectผู้สูงอายุth
dc.subjectแรงงานนอกระบบth
dc.titleการใช้ศักยภาพของอุดมศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับการเรียนรู้และการทำงานสำหรับผู้สูงอายุth
dc.title.alternativeSystematic Research on the use of Higher Education, Science, Research, and Innovation for Learning Enhancement and Employment for the Elderlyth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติth
cerif.cfProj-cfProjId2564A00496th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleการใช้ศักยภาพของอุดมศึกษา เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับการเรียนรู้และการทำงานสำหรับผู้สูงอายุth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record