Show simple item record

dc.contributor.authorธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชาth
dc.date.accessioned2022-07-27T02:25:15Z
dc.date.available2022-07-27T02:25:15Z
dc.date.issued2565-07-27
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1095
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เกิดโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง เพื่อให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้เหมาะสมและทันสมัยโดยเฉพาะหลักเกณฑ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ โรคติดต่ออุบัติใหม่ หรือโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง โดยใช้ประสบการณ์จากการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นหลักวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 22 คน และการสนทนากลุ่มกับผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ในระดับพื้นที่ ประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานครและพื้นจังหวัดทางภาคเหนือซึ่งในแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม 8 คน ผลการศึกษาพบว่า ในเชิงโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข มาตรการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและกลไกการบริหารงานสาธารณสุขในระดับต่าง ๆ ของฝ่ายบริหาร พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีขอบเขตอำนาจหน้าที่เพียงพอและเหมาะสมในสถานการณ์ปกติ แต่ไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงหรือสถานการณ์ฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ไม่ได้ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการบังคับสั่งการส่วนราชการและหน่วยงานอื่นภายนอกกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งคำนิยามและมาตรการควบคุมและป้องกันโรคยังไม่เป็นไปตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations: IHR) นอกจากนี้เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการระบาดใหญ่ (Pandemic) ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งในมิติทางเศรษฐกิจและสังคม แต่พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีสาระสำคัญเน้นการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ และการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐในการควบคุมและป้องกันโรคในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ข้อเสนอแนะ คือ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ควรได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมในหมวดเกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข โดยควรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อประสิทธิภาพและเอกภาพในการควบคุมบังคับ และสั่งการส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และควรเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการงดการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน และกำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพิจารณากำหนดแนวทางการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้หากคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในสถานการณ์ กเฉินมีข้อกำหนดหรือแนวทางปฏิบัติที่อาจกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพประชาชน ก็ควรมีคณะกรรมการประกอบด้วยประธานรัฐสภา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลฎีกา ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้นำฝ่ายค้านในสภา ผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 7 วันนับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติข้อกำหนดหรือแผนปฏิบัติการนั้น This study aims at analyzing the effectiveness, problems, and obstacles in enforcing the Disease Control Act, 2558 B.E. (2015) with emphasis on Thailand’s experiences in addressing the COVID-19 pandemic. The goal is to propose amendments to the Disease Control Act, 2558 B.E. (2015). The proposed amendments will focus on how to strengthen and modernize government mechanisms for surveillance, prevention, and control of emerging infectious diseases and pandemic-prone diseases. This study is a qualitative study using data from semi-structured interviews with 22 key informants from the national disease control commission, relevant government agencies, academics, and parliamentarians. Focus group discussions were also conducted with 16 frontline healthcare workers from the central and northern regions. All the interviews and focus group discussions were administered online due to the COVID-19 pandemic. The findings of this study demonstrate that the Disease Control Act, 2558 B.E. (2015) vests adequate authority in the Ministry of Public Health to manage outbreaks of common communicable diseases. However, the current legislation is not appropriate for large-scale outbreaks and crisis situations that meet the criteria for a Public Health Emergency of International Concern. Collaboration among different government agencies, the private sector, and local governments is necessary for a timely response to large-scale outbreaks. The public health ministry under the Disease Control Act, 2558 B.E. (2015) does not hold sufficient power to forge such collaborations. Also, definitions of several technical terms and disease control measures are not consistent with the World Health Organizations’ International Health Regulations (IHR). Further, since the COVID-19 pandemic has wrought immense social and economic impacts, economic stimulus and social protection measures are needed to assist those affected by the pandemic, including the socially disadvantaged groups. However, the current legislation emphasizes disease control, but lacks measures on public education and social and economic assistance for affected citizens. Based on our findings, the recommended amendments to the Disease Control Act, 2558 B.E. (2015) include: (1) adding a clause on public health emergencies that gives the government sufficient authority to manage large-scale outbreaks and their socio-economic consequences, (2) suspending the public procurement law and regulations, public budgeting law and relevant regulations, and public-private partnership law during the pandemic or public health emergency situation, (3) requiring that the National Anti-Corruption Commission and the Audit Council formulate the anti-corruption regulations and scope of audit that will be put to use during the pandemic or public health emergency situation, and (4) establishing an ad hoc committee consisting of the Speaker of the Parliament, President of the Constitutional Court, President of the Supreme Court of Justice, President of the Supreme Administrative Court, President of the National Human Rights Commission, Chief Ombudsman of Thailand, and Leader of the Opposition to review the pandemic response plan and measures proposed by the government.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558th
dc.subjectโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019th
dc.subjectกฎหมายสาธารณสุขth
dc.subjectการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อth
dc.subjectDisease Control Actth
dc.subject2558 B.E. (2015) COVID-19th
dc.subjectPublic Health Lawth
dc.subjectDisease Control and Preventionth
dc.titleการศึกษาวิจัยประสิทธิผล ปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558th
dc.title.alternativeAnalysis of the Effectiveness, Problems, and Obstacles in Enforcing the Disease Control Act, 2558 B.E. (2015)th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานการวิจัยแห่งชาติth
dc.rights.holderสถาบันคลังสมองของชาติth
cerif.cfProj-cfProjId2565A00003th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.funderได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ “Thais research and innovation activity is funded by National Research Council of Thailand (NRCT)”
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการศึกษาวิจัยประสิทธิผล ปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record