dc.contributor.author | เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว | th |
dc.date.accessioned | 2021-08-27T09:32:21Z | |
dc.date.available | 2021-08-27T09:32:21Z | |
dc.date.issued | 2564-08-27 | |
dc.identifier.uri | https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1016 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน เป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวข้องกับความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ต่อยอดจากองค์ความรู้เรื่องแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) ให้เห็นความเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) อันจะส่งผลให้มีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในการจัดทำข้อเสนอเชื่อมโยงกับภาคการทำงาน รวมถึงยังเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนางานกลไกเชิงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษา การสรุปผลการศึกษามีรายละเอียดดังนี้ สรุปผลการศึกษา: ประการแรก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงอายุ กล่าวคือโครงสร้างประชากรนั้นมีแนวโน้มสัดส่วนประชากรสูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีอัตราการเกิดลดลง ส่งผลให้จำนวนนักเรียนที่เข้ารับการศึกษาในแต่ละปีจะมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้อัตราการพึ่งพิง (Dependent Ration) ในทุกจังหวัด ประการที่สอง โครงสร้างการจ้างงานในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักและหากมีการจ้างงานเพิ่มนอกเหนือจากโครงสร้างการจ้างงานเดิม งานใหม่เหล่านี้เป็นงานที่ต้องใช้ทักษะสูง (ทักษะระดับ 4 ตามนิยามขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ) ด้วยเหตุนี้ การยกระดับคุณภาพการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะนำมาสู่การพัฒนาทักษะแรงงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ดังนั้นการสร้างระบบการศึกษาที่ดีจะต้องเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้สามารถทำงานกับโลกของงานในอนาคตได้ ประการที่สาม อัตราการทำงานต่ำกว่าระดับในเชิงพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในระดับร้อยละ 20 ซึ่งเป็นระดับที่ไม่น่ากังวลมาก เพราะเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล อย่างไรก็ตาม สำหรับพื้นที่ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง หากแรงงานไม่สามารถเรียนรู้งานได้รวดเร็วพอจนเกิดปัญหาช่องว่างทักษะอย่างรุนแรง ซึ่งการทำงานต่ำกว่าระดับจะลดลอนความสามารถของสถานประกอบการ จนส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงต่ำกว่าที่ควรจะเป็นได้ในระยะยาว ประการที่สี่ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของพื้นที่ไม่ได้นำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่การจ้างงานและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของพื้นที่จะเติบโตไปด้วยกัน สาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Skill-Biased Technological Change) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากการศึกษา: ประการแรก การจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการยกระดับผลิตภาพผู้เรียนให้สามารถเป็นแรงงานที่มีผลิตภาพสูงกว่าแรงงานในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถรองรับอัตราการพึ่งพิงที่สูงขึ้นของจังหวัดได้ เนื่องจากโครงสร้างประชากรที่มีอัตราการเกิดลดลง แสดงว่าหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนรู้ต้องเป็นการ “สร้างหนึ่งคนให้เก่งเท่ากับสองคน” เพื่อให้แรงงานมีผลิตภาพสูงพอจะสร้างรายได้เพื่อดูแลตนเองและผู้ที่ต้องพึ่งพาแรงงานคนนั้นได้ กุญแจสำคัญของการยกระดับผลิตภาพแรงงานให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นนี้ จะประกอบไปด้วยปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้และเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ประการที่สอง สถานศึกษาเองจะต้องเป็น “โลกจำลอง” ของโลกของงานในอนาคต การจะยกระดับสถานศึกษาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ได้ จะต้องพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกของงานในอนาคตเพื่อให้สามารถปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสม ในขณะเดียวกัน การออกแบบสถาพแวดล้อมในการเรียนรู้ก็ควรต้องเปลี่ยนแปลงไปให้สอดคล้องกับโลกของงานในอนาคต และบริบทในอนาคตของพื้นที่นั้น ซึ่งอาจรวมไปถึงการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนยกระดับระบบนิเวศน์การเรียนรู้ในพื้นที่ นอกจากนี้แล้ว ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ต้องร่วมกันสร้างฉากทัศน์ (Foresight) ของพื้นที่เพื่อให้เป็นทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ได้ และแนวทางการพัฒนากำลังคนควรดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดตามจุดแข็งของจังหวัด ประการที่สาม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจะทำให้ตำแหน่งงานในอนาคตของสถานประกอบการมีน้อยลง การจัดการศึกษาต้องแบ่งการผลิตกำลังคนออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มแรก การผลิตกำลังคนเพื่อทดแทนตำแหน่งงานในปัจจุบัน กลุ่มที่สอง การผลิตกำลังคนเพื่อให้สามารถสร้างงานให้กับตนเองได้ (Job Creator) กลุ่มที่สาม การผลิตกำลังคนเพื่อให้เป็นนวัตกรที่สามารถสร้าง “ตำแหน่งงานใหม่” ให้กับตนเองได้ (Job Innovator) หลักสูตรการศึกษาจึงควรเป็นเป็น 2 ระดับ ระดับแรก เป็นคุณสมบัติพื้นที่ที่แรงงานทุกกลุ่มควรมี และระดับที่สอง เป็นคุณสมบัติเฉพาะของแรงงานแต่ละกลุ่มตาม 3 กลุ่มที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ประการที่สี่ เนื่องจากการจ้างงานใหม่ที่เพิ่มขึ้น (ไม่ใช่การจ้างงานทดแทนตำแหน่งเดิมที่ว่างลง) เป็นการจ้างงานที่ต้องใช้ทักษะระดับ 4 ตามเกณฑ์ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งผู้ที่มีระดับนี้จะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. สามารถปฏิบัติงาน วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา ตัดสินใจในประเด็นที่มีความซับซ้อน วางแผนการทำงาน และพัฒนางานที่รับผิดชอบให้ดีขึ้นได้ โดยตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับทฤษฎีและองค์ความรู้ทางวิชาการตามความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ควบคู่กับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม 2. มีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยการพูดและเขียนได้อย่างเหมาะสม สามารถปรับการสื่อสารในประเด็นสำคัญให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายได้ มีทักษะในการนำเสนอที่ดี
3. มีทักษะเชิงปริมาณที่เหมาะสมกับลักษณะงาน สามารถนำเอาทักษะเชิงปริมาณมาใช้งานร่วมกับองค์ความรู้ทางวิชาการได้อย่างเหมาะสม เพื่อยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น 4. สามารถทำความเข้าในเอกสารและข้อมูลที่มีความซับซ้อนได้ 5. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่รับผิดชอบได้ ดังนั้น การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จึงต้องนำคุณสมบัติทั้ง 5 ข้อนี้มาเป็นฐานคิดในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับโลกของงานและบริบทในพื้นที่ต่อไป This study focuses on examining provincial-level labour market data relevant to area-based education planning. It began with providing, province-wise, the overall picture of economic and labour market changes over the past 5 years (2006-2020). The BCG matrix was used to analyse both economic and labour market strengths and weaknesses. By and large, it was found that the link between the growth of gross provincial product (GPP) and employment had been weakening. Several sectors such as agriculture, finance and some service-related sectors exhibited a negative relationship between GPP growth and employment growth; this was evidence to support the claim that skill-biased technological change (SBTC) had begun to take place in Thailand. For most of the rest of the sectors whose pattern of SBTC had not been seen, the relationship had been neutral; that was growth did not lead to a significant increase in employment. The second finding was based on an analysis of provincial structural change in the labour market. It was found that a great majority of provinces in Thailand did not have any significant change in their labour market structure over the past 5 years. This result raised questions on the effectiveness of the past economic and education development at the provincial level. In addition, while each province had been given a considerable degree of autonomy in altering their education to meet local labour market demand, their success had not been clear. The last finding related to the problem of over-education. By and large, around three fourth of provinces have around 20 per cent of their workforce engaged in jobs that required less qualification than their current qualification. The proportion increased significantly for provinces with higher income per capita, signifying the imbalances and mismatches in the labour market. This required immediate attention to address the issue. | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | th |
dc.rights | เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | th |
dc.subject | ความต้องการกำลังคน | th |
dc.subject | Area-based | th |
dc.subject | ภาคเศรษฐกิจ | th |
dc.subject | สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา | th |
dc.title | ความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง | th |
dc.title.alternative | Labor Market Data for Area-Based Education | th |
dc.type | Text | th |
dcterms.accessRights | บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | th |
dc.rights.holder | สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา | th |
cerif.cfProj-cfProjId | 2563A00591 | th |
mods.genre | รายงานวิจัย | th |
turac.projectType | โครงการที่ปรึกษา | th |
turac.researchSector | สาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID) | th |
turac.contributor.client | สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา | |
turac.fieldOfStudy | สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | th |
cerif.cfProj-cfTitle | ความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง | th |
cerif.cfProj-cfProjStatus | สิ้นสุดโครงการ | th |