Show simple item record

dc.contributor.authorแก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูลth
dc.date.accessioned2021-06-14T08:26:04Z
dc.date.available2021-06-14T08:26:04Z
dc.date.issued2564-06-14
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1001
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานศึกษาประกอบด้วย 1) เพื่อศึกษาบริบทด้านการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมด้านการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสระแก้วและประเทศเพื่อนบ้าน 3) เพื่อเสนอแนะกรอบแนวคิดการพัฒนาเครือข่ายการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสระแก้วและประเทศเพื่อนบ้านและ 4) เพื่อนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยมาประกอบการฝึกอบรม ประชุม และสัมมนาของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาขอบเขตและวิธีการศึกษาประกอบด้วย 1) ศึกษาและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ตามกรอบการนิยามของ UNCTAD และหน่วยงานภาครัฐของไทย รวมถึงศึกษาวิเคราะห์นโยบายของภาครัฐ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีและพหุภาคี 2) ศึกษาวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่เพื่อเข้าใจถึงระดับความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นในเครือข่าย 3) ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสระแก้วให้สามารถยกระดับเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าผ่านแดน เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และพัฒนาเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าระดับภูมิภาค โดยมุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายอันประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม กลุ่มองค์กรความร่วมมือต่าง ๆ และศึกษาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างไทยกับกัมพูชาทั้งในระดับรัฐ-รัฐ และเอกชน-เอกชน 4) ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการยกระดับมูลค่าการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิด “Stan Shih’s Smiling Curve” เพื่อสร้างความเข้าใจถึงกระบวนการเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ การวิจัยและการพัฒนา การออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างตราสินค้า การผลิต การวางตลาดการกระจายสินค้า การจำหน่าย และการบริการหลังการขาย 5) ศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาความร่วมมือและเครือข่ายการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสระแก้ว โดยเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบทบาทของรัฐ และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเครือข่ายการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์สำหรับชุมชนและภาคเอกชน พร้อมนำเสนอกรณีศึกษาตัวอย่างสินค้าเชิงสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพในจังหวัดสระแก้ว 6) สำรวจ เก็บข้อมูลภาคสนาม และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสระแก้ว ตั้งแต่ผู้ประกอบการระดับฐานราก วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฯลฯ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมในเครือข่าย และ 7) ร่วมนำเสนอผลการศึกษาวิจัยในการสัมมนาเผยแพร่รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสาธารณะเพื่อสร้างการรับรู้และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษานี้ต่อกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ คือ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชน การพัฒนาวิสาหกิจ การพัฒนาเครือข่ายการค้า รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศ และนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อใช้ประกอบการกำหนดนโยบายและใช้ประกอบการดำเนินงาน 2) หน่วยงานภาคเอกชนสามารถใช้ข้อมูลประกอบการพัฒนาเครือข่ายการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์และกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาวให้มีประสิทธิผลและยั่งยืน 3) ได้รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่นำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และ 4) สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาสามารถองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประกอบหลักสูตรการฝึกอบรมของสถาบันการศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์จาก 1) การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า ตามแนวคิดของ Michael E. Porter (1985) 2) เครือข่ายทางสังคมในระบบนิเวศธุรกิจ และ 3) การวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่ม ประยุกต์จาก Stan Shih’s Smiling Curve จังหวัดสระแก้วเป็นพื้นที่ในการเพาะปลูกทั้ง ข้าว พืชไร่ อย่างไรก็ตาม ยังมีผลผลิตทางการเกษตรประเภทสมุนไพรที่นำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น และใช้ในสถานบริการด้านการพยาบาล สถานเสริมความงาม รวมถึงยังผลิตภัณฑ์ที่สามารถสนับสนุนการเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยในการเพาะปลูกสามารถทำได้โดยง่าย ใช้พื้นที่ไม่มาก และสามารถทำควบคู่ไปกับการปลูกพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ สภาพอากาศของจังหวัดสระแก้วทำให้ปลูกสมุนไพรได้คุณภาพดีมาก มีผู้ประกอบการบางส่วนปลูกสมุนไพรส่งให้กับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและบางส่วนนำมาแปรรูปเอง ในกรณีของกลุ่มผลิตสมุนไพรที่เป็นตัวอย่าง คือ กลุ่มสมุนไพรทับทิมสยาม สามารถถอดบทเรียนที่สำคัญ คือ กลุ่มการผลิตสมุนไพรมีรูปแบบเป็นการรวมกลุ่มผลิตสมุนไพร โดยเป็นการปลูกแบบอินทรีย์ แต่ยังไม่ได้การรับรองทั้งกระบวนการ มีประเภทของสมุนไพรสด เช่น ไพล ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ในการผลิตเป็นการผลิตขั้นกลาง คือ การปลูกและการแปรรูป เช่น การอบแห้ง เพื่อส่งให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า ตามแนวคิดของ Michael E. Porter (1985) ของการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อแปรรูปเป็นสินค้าที่สร้างสรรค์ เช่น ยาแผนโบราณ ยาบำรุง เครื่องสำอาง ฯลฯ โดยรูปแบบของการดำเนินการตามห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วยองค์ประกอบสี่ส่วน คือ 1) กิจกรรมการจัดหาวัตถุดิบ เป็นกระบวนการปลูกสมุนไพร โดยเป็นการปลูกแบบอินทรีย์ แต่ยังไม่ได้การรับรองทั้งกระบวนการ มีประเภทของสมุนไพรสด เช่น ไพล ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร 2) กิจกรรมการแปรรูปสินค้า การอบแห้งในกระบวนการผลิต กลุ่มมีการยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพมากขึ้น เช่น มีการสร้างโรงอบพลังแสงอาทิตย์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการ เพื่อให้รักษาผลผลิตได้นานขึ้น 3) กิจกรรมการจัดจำหน่าย เป็นการจำหน่ายเพื่อส่งให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กลุ่มมีการขายหน้าร้านและออนไลน์ (Siam Herb) ในสินค้าแปรรูปของตนเอง เช่น scrub สมุนไพร ซึ่งสามารถส่งต่อในห่วงโซ่อุปทานของการบริการท่องเที่ยว เช่น สปา การนวดแผนไทย เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มยังมีแนวคิดในการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อให้เป็น Home Stay และต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่ตนเองมีอยู่ และเป็นการต่อห่วงโซ่อุปทานของการผลิตสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้อีกระดับหนึ่ง 4) กิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การบริหารจัดการกระจายงานของกลุ่ม การจัดการด้านการเงินและบัญชี การจัดสรรผลประโยชน์ และการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มอื่น ๆ ปัญหาของกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตสมุนไพร เป็นปัญหาเดียวกับการปลูกผลผลิตทางการเกษตร คือปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ สมุนไพรบางชนิดที่ต้องใช้น้ำในการเพาะปลูก เช่น ฟ้าทะลายโจร หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะได้ผลผลิตน้อยกว่าที่ควร ปัญหาที่สองคือการดูแลจัดการแปลงที่อาจมีสารอนินทรีย์ตกค้าง เมื่อส่งไปที่โรงพยาบาลก็อาจมีปัญหาในเรื่องเงื่อนไขของคุณภาพสมุนไพร การมีหน่วยงานรัฐที่เข้าไปทำโครงการแต่อาจไม่ได้มีผลประโยชน์ส่วนเพิ่มให้กับกลุ่มภายหลังโครงการสิ้นสุดซึ่งมีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดที่หลากหลายในประเด็นนี้ เมื่อวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมในระบบนิเวศธุรกิจที่เกิดขึ้นในการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อแปรรูปเป็นยาแผนโบราณ ยาบำรุง เครื่องสำอาง จังหวัดสระแก้ว ในปัจจุบัน สามารถระบุองค์กรและความสัมพันธ์ในเครือข่ายทางสังคมในระบบนิเวศธุรกิจ ที่สำคัญในการปลูกพืชสมุนไพรเพื่อแปรรูปเป็นยาแผนโบราณ ยาบำรุง เครื่องสำอาง ได้ดังนี้ 1) ธุรกิจหลัก ประกอบด้วยหุ้นส่วนหลักคือชาวบ้าน เป็นการรวมกลุ่มของครอบครัว เพื่อน คนคุ้นเคย เพื่อนบ้าน ในระดับหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์แบบทางการระหว่างกลุ่มวิสาหกิจกับสมาชิกในรูปแบบของการทำสัญญารวมทั้งการปันผลกำไรร่วมกัน โดยกลุ่มวิสาหกิจมีช่องทางกระจายสินค้าหลักคือโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรผ่านการทำสัญญากับมูลนิธิโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการขายหน้าร้านและออนไลน์ในสินค้าแปรรูปของตนเอง ทั้งนี้ทางกลุ่มวิสาหกิจไม่ได้มีความสัมพันธ์หลักกับซัพพลายเออร์เนื่องจากเป็นการปลูกสมุนไพรเองในพื้นที่ 2) องค์กรขยายผล ประกอบด้วยกลุ่มสมุนไพรอื่น พบว่ามีการสร้างเครือข่ายกับกลุ่มวิสาหกิจอื่นที่ทำสัญญากับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเช่นเดียวกัน เช่น กลุ่มบ้านดงบัง เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหากรณีมีสัญญาส่งแล้วผลผลิตไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับลูกค้าในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้ง สปา นวดแผนไทย และสถานเสริมความงาม และ 3) ระบบนิเวศ ประกอบด้วยหน่วยงานราชการ มีขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการในรูปแบบของโครงการ ยกตัวอย่างเช่น โครงการสร้างโรงอบพลังแสงอาทิตย์เพื่อแปรรูปและรักษาผลผลิต ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ พบว่า สินค้าในกลุ่มนี้อาจยังไม่ได้สร้างเครือข่ายที่จะนำสินค้าไปสู่ตลาดต่างประเทศ และระบบการบริหารจัดการด้านการตลาดด้วยเครือข่ายในระดับต่างประเทศอาจจะยังไม่สามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาระยะสั้น การประยุกต์แนวทางการยกระดับมูลค่าการผลิตสมุนไพรโดยการวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิด “Stan Shih’s Smiling Curve” การยกระดับมูลค่าของสินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตร อาจอยู่ที่ 2 กลุ่ม คือ 1) การที่ยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยตรง การยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยตรงอาจต้องอาศัยการปรับปรุงพันธุ์พืช การใช้กระบวนการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในกรณีนี้เป็นการใช้ระบบการกำกับตามสัญญาเพื่อให้เกษตรกรใช้การปลูกพืชแบบอินทรีย์ เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพและนำไปใช้ต่อในกระบวนการผลิตยา ของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และระบบสัญญายังถูกประยุกต์ใช้ไปในการกำกับการส่งผลผลิตของสมาชิกในกลุ่ม ทำให้การรวมกลุ่มไม่เกิดการขัดแย้งเพราะสัญญามีการระบุเงื่อนไขไว้อย่างชัดเจน ทำให้ระบบความสัมพันธ์ของสมาชิกกับกลุ่ม และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มกับเครือข่ายอื่น ๆ และกลุ่มกับผู้รับซื้อผลผลิตเป็นไปอย่างชัดเจน และ 2) การยกระดับของเครือข่ายในการผลิต ซึ่งรูปแบบของการผลิตสินค้าการเกษตร การยกระดับผลิตภัณฑ์โดยตรงทำได้ยากโดยเฉพาะการผลิตที่ไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ เมื่อสัญญารับซื้อผลผลิตระหว่างโรงพยาบาลและกลุ่มวิสาหกิจการเกษตรสมุนไพรกลุ่มต่าง ๆ มีความเป็นมาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพและราคา ทำให้กลุ่มวิสาหกิจสามารถเชื่อมโยงการผลิตและใช้เป็นช่องทางในการจัดการอุปสงค์และอุปทานส่วนเกินระหว่างกลุ่มได้ ซึ่งทำให้การบริหารจัดการผลผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาเครือข่ายการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสระแก้ว 1) การใช้กลไกของจังหวัดในการมีส่วนร่วม โดยคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนของจังหวัดในการจัดทำยุทธศาสตร์ที่ของจังหวัดที่มีกลยุทธ์ในการส่งเสริมสินค้าที่มีความสร้างสรรค์ของจังหวัด เพื่อให้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง มีหน่วยผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน มีงบประมาณในการดำเนินการ และมีกระบวนการติดตามประเมินผล ทั้งนี้ การดำเนินการอาจให้มีการใช้งบบูรณาการของจังหวัดเพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่รวดเร็ว และใช้ความสามารถของหน่วยงานส่วนภูมิภาคในการเป็นกลไกในการทำงานซึ่งเป็นส่วนเสริมให้ภารกิจของหน่วยงานประสบความสำเร็จ 2) เนื่องจากจังหวัดสระแก้ว เป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ดังนั้นภาครัฐจึงต้องหาวิธีส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้ามาในพื้นที่ เพื่อขยายขนาดของการผลิตสินค้าสร้างสรรค์ และการแปรรูปสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากรัฐบาลในด้านภาษี จังหวัดอาจต้องมีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ เช่น สิทธิในการใช้แรงงานต่างด้าวแบบฤดูกาล หรือ การอำนวยความสะดวกในการจัดตั้งกิจการ เป็นต้น 3) การสำรวจตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา) ในด้านความต้องการสินค้าสร้างสรรค์ กลุ่มลูกค้า คู่แข่งขัน รูปแบบสินค้าที่ต้องการ ราคาของสินค้าคู่แข่ง เพื่อให้เครือข่ายสินค้าสร้างสรรค์ได้เห็นช่องทางในการขยายตลาดสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ รวมถึงการเสาะหาแหล่งวัตถุดิบทางเลือกจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อใช้ในการบริหารจัดการวัตถุดิบและต้นทุนวัตถุดิบของสินค้าเชิงสร้างสรรค์ 4) ภาครัฐ เอกชน หน่วยงานภาคประชาสังคม (รวมถึงผู้ประกอบการ) และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ควรมีการร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายทางการค้าเชิงสร้างสรรค์ ของจังหวัดทั้งในด้านของรูปแบบสินค้า การเป็นห่วงโซ่อุปทานของแต่ละกลุ่มสินค้า ความสามารถในการผลิต เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลให้กับผู้เข้ามาติดต่อเพื่อการค้าขายของจังหวัดไม่ว่าจะเป็นการค้าชายแดน หรือ การค้าที่เกิดจากผู้ค้าภายในจังหวัดและภายในประเทศ 5) การสร้างความเชื่อมโยงของสินค้าและบริการเชิงสร้างสรรค์ แบบครบวงจร กล่าวคือ เมื่อหน่วยงานทั้งหมดมีฐานข้อมูลความเชื่อมโยงของสินค้าสร้างสรรค์ของจังหวัด จะสามารถประเมินความเชื่อมโยง ศักยภาพของห่วงโซ่อุปทาน และสามารถเห็นช่องว่างของการดำเนินการ และสามารถปิดช่องว่างด้วยมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชน นำมาซึ่งการยกระดับการพัฒนาศักยภาพของเครือข่ายสินค้าสร้างสรรค์ 6) การส่งเสริมให้มีการยกระดับสินค้าสร้างสรรค์ของจังหวัดให้ผ่านกระบวนการรับรองที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อพื้นที่ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับสินค้าสร้างสรรค์ของจังหวัด และทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดการบอกต่อถึงในความจำเพาะเจาะจงของสินค้า สำหรับจังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดที่อิงกับผลผลิตทางการเกษตรและผลผลิตการเกษตรแปรรูป ดังนั้นความจำเพาะเจาะจงในแหล่งผลิตสินค้าอาจเกิดจากระบบ GI และการรับรองคุณภาพการเกษตร เช่น เกษตรปลอดสารพิษ และพัฒนาสู่เกษตรอินทรีย์ การรับรองมาตรฐานการเกษตรในระดับต่าง ๆ เป็นต้น 7) การยกระดับสินค้าเชิงสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา โดยมีสถานศึกษามามีส่วนร่วม แต่เป็นการต่อยอดในระดับที่สูงกว่าข้อเสนอในข้อก่อนหน้า กล่าวคือ สินค้าบางประเภทที่มีการยกระดับกระบวนการผลิตอาจพัฒนาไปสู่สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มที่สูงมากผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนาในระดับขั้นสูง เช่น การพัฒนาสูตรสมุนไพรเพื่อการรักษาผู้ป่วย หรือการพัฒนาเป็นสมุนไพรเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมบริการ หรือการพัฒนาเป็นสูตรยาที่ได้รับการรับรอง ทั้งนี้ในกระบวนการพัฒนาจำเป็นต้องมีการลงทุนที่สูง และอาศัยวัตถุดิบจากในพื้นที่ ซึ่งหากมีการกระบวนการจัดการผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมจะช่วยทำให้เครือข่ายของสินค้าได้รับประโยชน์และยินดีที่จะพัฒนาคุณภาพของผลผลิตของตนเองอย่างต่อเนื่อง และ 8) การส่งเสริมให้มี Platform การขายสินค้าของจังหวัด กลุ่มจังหวัด ที่มีผู้เข้าร่วมทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก ในการนี้ภาครัฐอาจเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนให้เกิด Platform ของการซื้อขาย โดยมีการจัดหมวดหมู่ประเภทของสินค้าสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ มีการนำข้อมูลของเครือข่ายสินค้าสร้างสรรค์เข้าสู่ระบบ การมีระบบการบริหารจัดการด้านราคา การจัดส่งสินค้า การชำระราคา การควบคุมมาตรฐานของสินค้า เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้กับเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าสร้างสรรค์ ซึ่งการริเริ่มการจัดทำอาจต้องเกิดจากการให้เอกชนที่เห็นความสำคัญมาเข้าร่วมในการพัฒนา Platform และระบบการกระจายผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย The main objectives of this study are 1) to examine the context of creative goods and service trade in Sa Kaeo province 2) to analyze the social networks of creative goods and service trade in Sa Kaeo province and neighboring countries 3) to evaluate on the network development framework for creative goods and service trade in Sa Kaeo province and neighboring countries and 4) to utilize the knowledge from research study in seminars and training programs conducted by Institute for Trade and Development (Public Organization). The methodology and scopes of this research include 1) analyzing and literature review on related to creative goods trade according to the definition of UNCTAD and Thai government agencies as well as studying and analyzing government policies, bilateral and multilateral economic cooperation 2) Social Network Analysis (SNA) of the creative industries in the area to have a better understanding of the connection level within the network 3) evaluating the value chain development guideline of creative goods trade in Sa Kaeo province to be able to elevate to the Cross Border Value Chain in order to connect with neighboring countries and be developed into a Regional Value Chain 4) analyzing the guidelines to elevate value of creative goods trade such as an analysis based on the Stan Shih's Smiling Curve conceptual framework to create understanding of value-adding processes throughout the value chain namely research and development, product design, branding, production, marketing, product distribution, sales and after sales service which are the important factors in raising the level of creative goods trade 5) evaluating the partnerships development and networks of creative goods in Sa Kaeo province by suggesting the development guideline of government roles and suggest development guideline of creative goods network for communities and the private sector as well as presenting a case study of a potential creative service trade in Sa Kaeo province 6) conducting in-depth interview and focus group meeting with local entrepreneurs, government agencies, private sector, small and medium-sized enterprises, education sector and local communities 7) presenting research finding in the seminar to disseminate knowledge and policy recommendations to the public, and to create awareness which would eventually benefit in terms of formulating policy in public, private sectors as well as academicians. The contributions of this study aims toward these audiences 1) departments related to community development, enterprise development and development of trade networks, including agencies involved in the formulation of national development policies and international relations policy are able to benefit from the analytical data and policy recommendations to determine policies and operations 2) the private sector is able to use the information to develop the creative goods and services network and establish effective and sustainable long-term business strategies 3) to obtain the final report and policy brief that can be used as guidelines for policy planning of government agencies and the private sector and 4) to gain knowledge in organizing training for International Institute for Trade and Development for the transfer of knowledge to both domestic and foreign government officials both as well as domestic and foreign entrepreneurs, the academic sector and the general public. This study applied the following three analysis methods. First, analytical framework from Michael E. Porter (1985) is applied to evaluate the value chain development of creative goods. Second, a business ecosystem by Moore (1993) is applied for social network analysis. Third, an analytical framework from the Stan Shih's Smiling Curve conceptual framework is applied to study potential value creation. Sa Kaeo province is the area for cultivation of rice and field crops. Furthermore, there are agricultural products as raw materials for further product expansion for value added and used in the medical field, beauty salons as well as products that can support tourism. The cultivation can be done easily, not requiring much space and can be cultivated along with other agricultural crops. The weather in Sa Kaeo province allows herbs to grow in very good quality. Certain farmers provide herbs for Chao Phya Abhai Bhu Bejhr Hospital while some process the products by themselves. Sample of herb production groups is the Siam Herb Group from which an important lesson can be found that herb production groups are gatherings for production of herbs through organic cultivation. However, the organic concept is yet to be applied to the entire processes. There fresh herbs such as cassumunar ginger, turmeric and king of bitters from 51 group members with midstream production as in cultivation and processing such as drying for Chao Phya Abhai Bhu Bejhr Hospital. If considering the supply chain of herb plantation to be processed into creative products such as traditional medicine, tonic and cosmetic, the operation in accordance with supply chain consists of four components: procurement or production of raw materials for development of traditional medicines, tonics, cosmetics, processing and distribution. Important activities in the supply chain of the herb plantation for processing into traditional medicines, cosmetics and tonics can be identified as follows. First, raw material procurement is the process of herb plantation. This is done with the application of the organic concept which is yet to be support the entire processes. The examples of fresh herbs are cassumunar ginger, turmeric and king of bitters. Second, product processing and drying during the production process. The group has improved the quality of the products such as the construction of solar green house with assistance from government agencies for a longer preserving period of the products. Third, distribution activities refers to sales to Chao Phya Abhai Bhu Bejhr Hospital Foundation. The group sells their processed products through store and online (Siam Herb) such as herbal scrub which can be distributed in the tourism service supply chain as in spas or Thai massage parlors. In addition, the group also has the concept of home stay village development and developing their own existing products. It is an extension of the supply chain of herb production as raw materials for the tourism industry. Fourth, supporting activities are workload distribution management of the group, financial and accounting management, benefit allocation and communication with other groups. The herb production groups share the same agricultural plantation problems which is drought that causes water insufficiency. Some herbs that require high volume of water such as king of bitters will yield crops at a lower amount. The second problem encountered is the management of plots that might have residue of inorganic substance. Herbs’ quality issue might occur when sent to the hospital. Also, having a participation of government agencies in the project might not bring additional benefits to the group after the project ends. There are a variety of factors in this issue. The analysis of the social networks in the business ecosystem in planting herbs for processing into traditional medicines, tonics, cosmetics in Sa Kaeo province can be identified as follows. First, main business consists of villagers as major partners. It is a group of families, friends, acquaintances, neighbors at the village level with formal relationship between the enterprise groups and the members in the form of contracts as well as profit sharing. The main distribution channel of enterprises group is Chao Phya Abhai Bhu Bejhr Hospital through contracts with the Hospital Foundation. The group sells their processed products through store and online. However, the enterprise groups do not have main relationship with the suppliers because they are local herb plantations in the area. Second, the expanded organization consists of other herb production groups with network with other enterprises under similar contract with the Chao Phya Abhai Bhu Bejhr Hospital Foundation as well such as Ban Dong Bang group in order to tackle insufficient product under contract to be delivered. In addition, there are relationships with customers in related industries, including spas, Thai massage parlors and beauty salons. Third, the ecosystem consists of government agencies with requests for assistance from government agencies in the form of projects such as solar greenhouse project for processing and preserving products. From the field study, it is found that international market network is yet to be established for the products in this group while the international marketing management system might not be established in a short period of time. Application of Creative Product Value Elevation Guideline though "Stan Shih's Smiling Curve" Framework, the value adding of agricultural products can be categorized in two groups: 1) The direct elevation of agricultural products might require plant breeding or plantation processes of higher efficiency. In this case, a contractual monitoring system for organic farming among farmers is applied. This is to ensure product quality and to be processed further into medicines for Chao Phya Abhai Bhu Bejhr Hospital. The contract system has also been applied in the supervision production delivery among group members. Conflicts among groups can then be avoided because of clear condition specification in the contract, resulting in clear relationship system between members and groups and between the groups and other networks as well as the groups and the product buyers. 2) Once the product purchasing contract between the hospital and various groups of herbs enterprises is standardized, both in terms of quality and price, enterprises can connect production and use it as channel for the management of surplus demand and supply between groups. This can lead a more efficient product management. Policy recommendations for Sa Kaeo creative goods network development are: 1) Using the province’s participation mechanism with the province’s joint public and private sector committee preparing provincial strategies for promoting the province’s creative products for a systematic and continuous operation. Having clear responsible units, operational budget and monitoring and evaluation process. In this regard, the implementation may require the use of province’s integration budgets for a fast-moving mechanism and make use of some of the provincial agencies as a working mechanism which are supporting factors for the units to achieve their missions. 2) Since Sa Kaeo province is one of the special economic zones, the government sector must identify ways to induce entrepreneurs with capability into the area to expand the creative product production scale and have a higher added value in processing agricultural products. Apart from the tax benefits received from the government, the province may need additional measures to support entrepreneurs such as the right to use foreign workers on a seasonal basis or facilitation on business establishment. 3) Surveying international market especially neighboring country (Cambodia) in terms of the demand for creative products, customers, competitors, desired product models and price of competing products in order to identify international market expansion channel for creative product network as well as sourcing of raw material alternatives from neighboring countries to be used in raw material management and creative products cost management. 4) The government sector, private sector, civil society organizations (including entrepreneurs) and educational institutions in the area should corporate on creative commercial network database setup for the province in terms of product category, supply chain of each product group and production capability to be used as a database for trade partners of the province, either border trades or trades originating from traders within the province and within the country. 5) Establishing a one-stop service to provide information to entrepreneurs, buyers and tourists in order to have a systematic system for information regarding the creative products of the province. The investing entrepreneurs, buyers and tourists can spend less time in accessing creative products and creative product networks. 6) Promoting the elevation of the province's creative products to pass the area-specific certification process to create identity for the province’s creative products and creating word of mouth among buyers regarding to the unique benefits of the products. Sa Kaeo province relies on agricultural products and processed agricultural products. Therefore, the specificity in the production source of the products might come from the GI system and agricultural quality certification such as non-toxic agriculture and organic agriculture development or certification of agricultural standards at various levels. 7) Elevating creative products through research and development with participation from educational institutions at a higher development level than the previous proposal. Some products for which production process has been elevated might be developed further for high added value through advanced research and development such as developing herbal formulas for patient’s treatment or developed for the service industry or to be a certified drug formula. The development process requires high investment relies on raw materials from the area. If there is a fair benefit management process, it will help the product network gain benefits and be willing to continuously improve the quality of their outputs. 8) Encouraging distribution platform for the province, groups of provinces with in which there is a high number of buyers and sellers. The government might be the center to support the distribution platform through systematic creative product categorization and import of the information of the creative product network into the system as well as to have a price management system, product delivery, payment and product standardization in order to increase the channels for the creative product manufacturer network. The initiative might be initiated by the private sector who realizes the importance in the development of the platform to participate in platform development and fair benefit distribution system for all parties.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectเครือข่ายการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์th
dc.subjectพัฒนาเครือข่ายการค้าสินค้าth
dc.subjectจังหวัดสระแก้วth
dc.titleพัฒนาเครือข่ายการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสระแก้ว โดยวิธีคัดเลือกth
dc.title.alternativeCreative Goods Network in Sa Kaeo Province Development Projectth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2563A00087th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleพัฒนาเครือข่ายการค้าสินค้าเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดสระแก้ว โดยวิธีคัดเลือกth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record