Now showing items 1-4 of 4

    • type-icon

      การแปรรูปวัสดุชีวมวลจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการประยุกต์ใช้งานเป็นแผ่นซับสเตรทของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 

      ศรุต อำมาตย์โยธิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      วัสดุเชิงประกอบของแบคทีเรียเซลลูโลส เตรียมได้จากแบคทีเรียเซลลูโลส และพอลิอะนีลีนโดยที่สารละลายพอลิอะนิลีนจะเข้าไปแทรกตามรูพรุนในโครงสร้างของแบคทีเรียเซลลูโลสที่มีขนาดระดับนาโน พอลิอะนิลีนเป็นที่นิยมและมีการนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากพอลิอะนิลีนจะแสดงสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ จึงนำไปสู่อุตสาหกรรมการพัฒนาวัสดุเชิงประกอบสาหรับเซลล์แสงอาทิตย์ โดยตรวจสอบลักษณะโครงสร้างด้วยเทคนิค Fourier Transform Infrared Spectroscopy (FT-IR) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดพันธะไฮโดรเจน (H-bond) ระหว่างแบคทีเรียเซลลูโลสกับพอลิอะนิลีน ตรวจสอบตำแหน่งพีคและระนาบผลึกด้วยวิธี ...
    • type-icon

      การแปรรูปวัสดุชีวมวลจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการประยุกต์ใช้งานเป็นแผ่นดูดซับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม 

      ศรุต อำมาตย์โยธิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      สำหรับงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวัสดุเชิงประกอบของแบคทีเรียเซลลูโลสและพอลิเอทิลีนไกลคอล ซึ่งออกแบบเป็นแผ่นเยื่อบางขึ้นโดยการสกัดแบคทีเรียเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าวผสมกับพอลิเอทิลีนไกลคอล พบว่า พอลิเอทิลีนไกลคอลจะแทรกตัวเข้าไปในโครงสร้างรูพรุนของโครงร่างตาข่ายแบคทีเรียเซลลูโลส โดยศึกษาโครงสร้างทางจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) อย่างไรก็ตามวัสดุเชิงประกอบเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างกันจากการศึกษาโครงสร้างและหมู่ฟังก์ชันด้วยเทคนิค FTIR โดยที่หมู่ไฮดรอกซิลของทั้งแบคทีเรียเซลลูโลสและพอลิเอทิลีนไกลคอลสร้างพันธะระหว่างกัน นอกจากนี้ยังมีค่ากา ...
    • type-icon

      การแปรรูปวัสดุชีวมวลจากเส้นใยธรรมชาติเพื่อการประยุกต์ใช้งานเป็นไฮโดรเจลที่สังเคราะห์จากเซลลูโลสสำหรับการประยุกต์ใช้งานทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม 

      ศรุต อำมาตย์โยธิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ไฮโดรเจลได้รับการออกแบบมาให้อยู่ในรูปแบบของวัสดุผสมที่มีเจลาตินเป็นเนื้อหลักและมีเซลลูโลสแบคทีเรียเป็นตัวเสริมแรง โดยใช้กลูตาราลดีไฮด์เป็นสารเชื่อมขวาง พันธะไฮโดรเจนเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของกลุ่มอะมิโนและไฮดรอกซิล ที่อยู่ในเจลาตินและแบคทีเรียเซลลูโลสตามลำดับ ซึ่งเซลลูโลสของแบคทีเรียได้แทรกเข้าไปในโครงสร้างที่เป็นรูพรุนของเจลาตินไฮโดรเจล ไฮโดรเจลนำเสนอสมบัติที่ดีในด้านเสถียรภาพทางความร้อน ความต้านทานต่อสารเคมีและสมบัติเชิงกล นอกจากนี้อัตราการพองตัวของไฮโดรเจลอยู่ที่ประมาณ 400-1200% ในน้ำ และสามารถควบคุมการปลดปล่อยยาที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิและค่าพีเอชได้ ...
    • type-icon

      พัฒนาไฮโดรเจลแบบผงเพื่อการประยุกต์ใช้งานทางด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 

      ศรุต อำมาตย์โยธิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      วัสดุเชิงประกอบไฮโดรเจลแบบผงนั้นสามารถ เตรียมได้จากพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแบคทีเรียเซลลูโลสด้วยกระบวนการ freeze dry ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่างพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแบคทีเรียเซลลูโลสในอัตราส่วน 3:1 5:1 และ 10:1 ตามลำดับ โดยภายในโครงสร้างนั้นได้เกิดพันธะไฮโดรเจลเชื่อมขวางกันระหว่างวัสดุทั้ง 2 ประเภท ซึ่งวัสดุทั้ง 2 ประเภทนั้นมีความเข้ากันได้เป็นอย่างดีและสามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้สูงถึง 200C และจากการถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดนั้นพบว่า ภายในโครงสร้างนั้นจะประกอบไปด้วยรูพรุนในขนาดต่าง ๆ กันมากมาย ในเบื้องต้นนั้นพบว่าว ...