Now showing items 1-3 of 3

    • type-icon

      สำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 

      ทรงชัย ทองปาน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-20)

      งานวิจัยเรื่อง “โครงการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” มีวัตถุประสงค์ ๕ ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาระดับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง (2) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับบทบาท โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และเขตอำนาจศาล รวมทั้งการดำเนินงานในมิติต่าง ๆ ของศาลปกครอง (3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ที่เคยใช้บริการศาลปกครอง (4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความคาดหวังของนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวแทนเจ้าหน้าที่ภาครัฐ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ...
    • type-icon

      สำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนเเละการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการตามเเนวทางระบบราชการ 4.0 ของกรมบังคับคดี ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 

      อัครนัย ขวัญอยู่ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-30)

      การสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการตามแนวทางระบบราชการ 4.0 ประจำปี พ.ศ.2564 ของกรมบังคับคดี มีวัตถุประสงค์หลักคือ การประเมินคุณภาพการให้บริการ เพื่อให้ทราบถึงความเชื่อมั่น ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุงและพัฒนา ตลอดจนทราบถึงความคิดเห็นต่อระบบงานและกระบวนการทำงาน อันจะนำมาซึ่งแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและส่งผลให้กรมบังคับคดีมีแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานตามยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ของกรมบังคับคดี สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ ...
    • type-icon

      สำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของกองทัพบก ประจำปีงบประมาณ 2563 

      ธีระ สินเดชารักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-21)

      โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาทัศนคติความคิดเห็นของประชาชนต่อกองทัพบกโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของกองทัพบก 2) เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นและความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาท หน้าที่ และการปฏิบัติภารกิจของกองทัพบก และ 3) เพื่อนำไปใช้กำหนดแนวทาง การสื่อสารและแนวทางการดำเนินงานของกองทัพบกต่อไปในอนาคต ผลการศึกษา พบว่า (1) ภาพลักษณ์ของกองทัพบก มิติที่ 1 ภาพลักษณ์แต่เดิมมีระดับภาพลักษณ์อยู่ในระดับดี มิติที่ 2 ภาพลักษณ์ปัจจุบันระดับภาพลักษณ์อยู่ในระดับดี มิติที่ 3 ภาพลักษณ์ด้านผู้นำกองทัพบกมีระดับภาพล ...