Now showing items 1-5 of 5

    • type-icon

      จัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (กลุ่มที่ 2) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-27)

      กรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพานบนโครงข่ายกว่า 44,000กิโลเมตร ด้วยเครื่องมือสำรวจและจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System, MMS) โดยใช้เทคโนโลยี Light Detection and Ranging (LiDAR) ในงานสำรวจ บทความฉบับนี้ได้พัฒนาต้นแบบระบบวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มาวิเคราะห์ข้อมูลทรัพย์สินงานทางโดยอัตโนมัติ เพื่อนำข้อมูลทรัพย์สินที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ไปใช้ในงานระบบบริหารงานบำรุงรักษาทาง และสะพาน ส่งผลให้การวางแผนงาน และการบริหารจัดการเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เหมาะสม และรวดเร็ว ทนต่อเหตการณ์ ...
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม กลุ่มที่ 8 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำแผนแม่บทยกระดับมาตรฐานชั้นทางของกรมทางหลวงชนบท และปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากรมทางหลวงชนบทและแผนปฏิบัติราชการของกรมทางหลวงชนบทพ.ศ. 2561-2579 โดยการจัดทำแผนแม่บทยกระดับมาตรฐานชั้นทางของกรมทางหลวงชนบท มี่ขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1) การวิเคราะห์ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของสายทาง 2) การวิเคราะห์ความพร้อมของสายทางในการยกระดับมาตรฐานชั้นทาง 3) การจัดกลุ่มสายทาง 4) การกำหนดชั้นทางที่เหมาะสม 5) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐ์ศาสตร์ 6) การจัดทำแผนแม่บทยกระดับมาตรฐานชั้นทาง โดยมีผลการศึกษาดังนี้ แผนแม่บทการ ...
    • type-icon

      พัฒนามาตรฐาน นำเข้า และแลกเปลี่ยนข้อมูลกลางของกรมทางหลวงชนบท (ระยะที่ 2) 

      ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-12-20)

      กรมทางหลวงชนบท ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานข้อมูล ( Data Standard) เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาและปรับปรุงข้อมูล รวมถึงการบูรณาการข้อมูลด้วยระบบฐานข้อมูลกลางสำหรับการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลของหน่วยงานภายในและภายนอก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ภาครัฐใช้ ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) กรมทางหลวงชนบทจึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินโครงการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic and Business Intelligence) เพื่อตอบสนองในประเด็นของการติดตามประเมินผลความสำเร็จของหน่วยงานตามข้อเสนอการปฏิบัติราชการเพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ...
    • type-icon

      แผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กลุ่มที่ 8 

      ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      โครงการจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม ประจำปีงบประมาณ 2562 กลุ่มที่ 8 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในวิจัยครั้งนี้ คือการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทของกรมทางหลวงชนบทตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนการปฏิรูปประเทศ การศึกษาดังกล่าวได้ใช้วิธีการศึกษาการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ถึงแนวทางการดำเนินการด้านต่างของกรมทางหลวงชนบทในอนาคตและแล้วนำมาจัดลำดับเรียงความสำคัญ ซึ่งผลการดำเนินการดังกล่าวสามารถสรุปความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นแผนแม่บทสนับสนุนการพัฒนาถนนผังเมือง, แผนแม่บทส่งเสริมวิชาการด้านงานทางให้แก่อ ...
    • type-icon

      แผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 

      ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      เพื่อศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ในกรณีถนนสายรองของกรมทางหลวงชนบท (Feeder Road) ให้สามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่ใหม่และแก้ไขปัญหาปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตของกรมทางหลวงชนบท ให้เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่น ๆ และเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง จากการวิเคราะห์ระดับบริการของสายทางในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยแบบจำลองด้านการจราจรและขนส่งในปีอนาคตที่ พ.ศ. 2565- 2585 จำนวนทั้งสิ้น 130 สายทาง ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา 30 สายทาง จังหวัดชลบุรี 55 สายทาง ...