Browsing by Research Sector "สาขาการท่องเที่ยว (Tourism sector : TO)"
Now showing items 1-20 of 27
-
Research project on the service user satisfaction and the satisfaction of those affected by the operations of the Tourism Authority of Thailand
(Thammasat University Research and Consultancy Institute, 2002) -
การจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)
Ministry of Tourism and Sports and Thammasat University (Thammasat University Research and Consultancy) issued the Sufficiency Economic Community-Based Tourism Plan in order to support the community-based tourism in Thailand. The process consists of analyzing the primary and secondary data of the community-based tourism. In addition, more than 30 respondents who related to the community-based tourism were interviewed. There were also workshops and seminars in 9 provinces to develop knowledge on the community-based tourism. The expected results ... -
การจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระหว่างเมือง ในรูปแบบเมืองแฝด (Twin Cities) ระดับนานาชาติ ด้วยวิธีคัดเลือก
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)
ความสัมพันธ์เมืองแฝด/เมืองพี่เมืองน้องนั้นเป็นความสัมพันธ์ในระดับที่เท่าเทียมกันระหว่างจังหวัดของไทยกับจังหวัด (หรือ เมืองหรือชื่อเรียกอีกอย่างที่มีฐานะเทียบเท่ากับจังหวัดไทย เช่น มลรัฐ มณฑล นคร) ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีจุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ความร่วมมืออันดีต่อกันและมีการแลกเปลี่ยนกันในด้านต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ด้านการศึกษา การสาธารณสุข การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม เป็นต้น เมืองที่จะสามารถเป็นเมืองแฝด/เมืองพี่เมืองน้องได้นั้น จำเป็นต้องมีความคล้ายคลึงกันในด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต/ความเป็นอยู่ ... -
การประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
เนื่องจากรายได้จากอุตสาหกรรมการท้องเที่ยวถือเป็นรายได้ที่กระจายสู่ระบบเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดการผลิตและการนําเอาทรัพยากรมาใช้ ปรากฏการณ์นี้สามารถประเมินผลกระทบเศรษฐกิจได้ผ่านการคํานวณหาตัวทวีคูณของเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวหรือ “Multiplier Effects of Tourism” บทความนี้ได้นําเสนอค่าตัวทวีคูณจากการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษในประเทศไทย 6 พื้นที่พิเศษที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. วิธีการที่ใช้ในการหาตัวทวีคูณนี้ใช้วิธีพื้นฐาน เก็บข้อมูล ... -
การศึกษาการรับรู้ด้าน Low Carbon Tourism ของนักท่องเที่ยวที่เลือกพักในโรงแรมที่พักภาคีเครือข่ายของ อพท.
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon Tourism เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของ อพท. เป็นการท่องเที่ยวที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการท่องเที่ยวทางเลือกในการช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง เมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวแบบปกติ ในขณะที่นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน โดยยังคงไว้ซึ่งความสะดวกสบายและความสุขที่ได้รับจากการท่องเที่ยวที่มีความแตกต่างกับการดำเนินการตาม ๔ มาตรการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่เน้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการ โดยเป้าหมายหลัก คือ ลดการใช้ทรัพยากร หรือลด Carbon Emission ... -
จัดทำแนวทางในการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินงาน “โครงการจัดทำแนวทางในการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทย และเผยแพร่แนวทางการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทยไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ มีแนวทางในการปฏิรูปการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มาจากการบูรณาการและบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกันตามมาตรฐานระดับสากล รวมทั้งเผยแพร่แนวทา ... -
จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตชายฝั่งอ่าวไทย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-04)
โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตชายฝั่งอ่าวไทย โดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจังหวัดสมุทรปราการเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อน ตามมติของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตชายฝั่งอ่าวไทย ระยะ 5 ปี 2) บูรณาการงานด้านการท่องเที่ยวระหว่างหน่วยงาน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 3) ... -
จัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ.2561-2564 ของกรมการท่องเที่ยว
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
กรมการท่องเที่ยวมีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวในด้านแหล่งท่องเที่ยว การบริการท่องเที่ยว ธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์ และผู้นำเที่ยว มาตรฐานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ... -
จ้างจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลผลงานวิจัยและวิชาการด้านการท่องเที่ยว
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)
The objective of the Thailand tourism research database was to collect the research papers, theses, and independent studies related to Thailand tourism that published during 2002-2012. The relevant works were retrieved from the Thai university databases countrywide. In case of foreign universities , only the information from open access sources were included. The fulltext database is available online at http://tatrd.tourismthailand.org. The database content included bibliographic information, keywords, subject headings, abstracts and full text. -
ท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ใจบัตรช้าง (บัตรมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)
The project will develop website and mobile application to support tourists in seeking the shops/hotels where the Tourism department awarded the TTS. In addition, we produce 10,000 plastic cards for TTS membership to promote tourism and publicize the activities through various media. -
แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว : กรณีศึกษาเฉพาะนักท่องเที่ยวอายุ 50 ปีขึ้นไปที่เดินทางมาเพื่อการพักผ่อน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2002)
การวิจัยนี้ได้ยามความหมายของ “การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว” หมายถึง การเดินทางหรือการท่องเที่ยวมาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในประเทศไทย โดยผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสุขภาพดีและแข็งแรง และมีระยะเวลาในการพำนักนานวัน ไม่น้อยกว่า 1 เดือนขึ้นไป วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุปสงค์ (Demand) ด้านการท่องเที่ยวพำนักระยะยาว ศึกษาด้านอุปทาน (Supply) โอกาส และข้อจำกัดในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวพำนักระยะยาวในประเทศไทย ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว กฎหมาย กฎระเบียบ ตลอดจนวิธีการดำเนินงานในการสนับสนุน ... -
แผนปฏิบัติการพัฒนาการท่องเที่ยว ภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น - เขาใหญ่
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-12)
ตามไฟล์แนบ -
แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคกลาง พ.ศ. 2549-2552
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)
โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคกลางรวม 5 กลุ่มดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดพ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่างๆ -
แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก พ.ศ. 2549-2552
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)
โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกรวม 4 จังหวัด ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัด พ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ -
แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2549-2552
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)
โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 5 กลุ่ม ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดพ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ -
แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ พ.ศ. 2549-2552
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)
โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด 19 จังหวัดในภาคเหนือดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดพ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่างๆ -
พัฒนารูปแบบการจัดการข้อร้องเรียนตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการข้อร้องเรียนตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โครงการฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา รวบรวมข้อมูลในการพัฒนาแนวทางการจัดการข้อร้องเรียนตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 และเพื่อจัดทำคู่มือการจัดการข้อร้องเรียนสำหรับผู้ปฏิบัติงานขอบเขตของการดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วย การศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของกรมการท่องเที่ยวในการจัดการข้อร้องเรียนของนักท่องเที่ยวผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อดี ... -
พัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดทำโครงการพัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านการต่างประเทศภายใต้กรอบอาเซียนของสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดำเนินการแปลและเรียบเรียงแผนยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559-2568 (ASEAN Tourism Strategic Plan (ATSP) 2016-2025) ให้เป็นภาษาไทย และเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559-2568 (ATSP) ไปยังผู้มีส่วนได้ ... -
พัฒนาสื่อข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวโดยผ่านเทคโนโลยีบาร์โค้ด 2 มิติ (QR Code : Quick Response Code)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
การจัดการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในแนวทางวิจัยที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวนั้นมีความซับซ้อน หลากหลายที่มา หลากหลายการเข้าถึง รวมทั้งต้องการวิธีและพื้นที่นำเสนอหรือแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งในปัจจุบันเทคโนโลยีใหม่ได้เปิดทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวได้เข้าถึงข้อมูลอย่างไม่มีขีดจำกัด การบริการจัดการข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องผ่านการกลั่นกรอง คัดเลือก ทั้งกระบวนการจัดเก็บและนำเสนอทุกวันนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก และมีแอพพลิเคชั่นมากมายที่สามารถใช้ ... -
ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด กลุ่มจังหวัดภาคใต้ พ.ศ. 2549-2552
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)
โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้รวม 5 กลุ่ม ดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้จังหวัดจัดทำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดพ.ศ. 2549-2552 เป็นกรอบในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและยั่งยืน กำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดและบูรณาการแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเข้ากับแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่างๆ