Now showing items 1-4 of 4

    • type-icon

      การประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงานของโครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 

      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-12-20)

      โครงการประเมินผลลัพธ์จากการดำเนินงานของโครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) นี้มีระยะเวลาในการศึกษาจำนวน 24 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 โดยโครงการประเมินนี้มีการดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ระหว่าง สสส. และคณะผู้วิจัย ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ทำการประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานของโครงการ พชอ. สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ข้อมูลความก้าวหน้าของโครงการในแต่ละเดือนสามารถศึกษาได้จากบทที่ 4 ของรายงานฉบับสมบูรณ์ และข้อมูลการประเมินผลลัพธ์นี้สามารถศึกษาได้จากบทที่ 5 บทที่ 6 ...
    • Thumbnail

      การพัฒนาแนวคิด กลยุทธ์และแผนการดำเนินงานโครงการรณรงค์และกิจกรรมเพื่อวิทยาเขตสุขภาพ (Healthy Campus) 

      อรทัย ศรีสันติสุข; ปิยรัตน์ อ่องลออ; ศุภัควดี อภินันทร์; วนิดา ตันนาภัย; แอนนา จุมพลเสถียร; รุจน์ โกมลบุตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2002)

      งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ตามโครงการรณรงค์เพื่อวิทยาเขตสุขภาพและกิจกรรมเพื่อวิทยาเขตสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านสุขอนามัย คุณภาพชีวิต สาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ศึกษาแนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา มีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาจากกลุ่มบุคคลทุกระดับ นักศึกษาปริญญาตรี และองค์กรภาคีที่เป็นชุมชนรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เช่น หอพักเอกชน ร้านค้า และสถานบันเทิง โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธีรวมกัน ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อย ...
    • type-icon

      จ้างประเมินความพึงพอใจ ความผูกพันและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 

      พงษ์เทพ สันติกุล (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-01-06)

      โครงการประเมินความพึงพอใจ ความผูกพันและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประจำปีงบประมาณ 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความพึงพอใจ ความผูกพัน การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ 2) รับฟังข้อเสนอแนะต่อแนวทางดำเนินงานด้านการสร้างความเข้าใจ สร้างความผูกพัน สร้างการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ การประเมินทำโดยการสำรวจความคิดเห็นของภาคีเครือข่ายด้วยแบบสอบถามออนไลน์ประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ออกแบบโดยใช้กรอบแนวคิดการ ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยมาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ 

      เดชา สังขวรรณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ รวมถึงศึกษามาตรการกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุที่เหมาะสมในสังคมไทย และแนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมกับสังคมไทยในการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการเพื่อช่วยป้องกันและลดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ โดยดำเนินการ ...