Now showing items 1-6 of 6

    • type-icon

      การขับเคลื่อนกองทุนด้านการพัฒนาสังคมในประเทศไทย 

      อัญมณี บูรณกานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

      การศึกษาเรื่อง “การขับเคลื่อนกองทุนด้านการพัฒนาสังคมในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 ประการ ประการที่ 1 เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการกองทุนด้านการพัฒนาสังคมที่เหมาะสมในประเทศไทย ประกอบด้วย กองทุนคุ้มครองเด็ก กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม กองทุนผู้สูงอายุ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประการที่ 2 เพื่อศึกษาบทเรียนการบริหารจัดการกองทุนด้านการพัฒนาสังคมในประเทศไทยที่จัดตั้งโดยภาครัฐในต่างประเทศ และประการที่ 3 เพื่อเสนอรูปแบบทางเลือกในการบริหารจัดการกองทุนด้านการพัฒนาสังคมประเทศไทย ...
    • type-icon

      การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษานำร่องสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด 

      ชานนท์ โกมลมาลย์; Chanon Komonmarn (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนสุขภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษานำร่องสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด (Social Innovation and Youth) เป็นโครงการที่ได้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ ฯ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนและแกนนำเยาวชนต่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางสังคมในระดับพื้นที่และจังหวัด 2) เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำสภาเด็กและเยาวชนและคนทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ ที่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่ายและกลไกสนับสนุ ...
    • Thumbnail

      ประเมินผลกระทบทางสังคมจากการยกเลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต 

      เศรษฐภูมิ บัวทอง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-01-25)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • type-icon

      ประเมินผลยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ (คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน) 

      วีรบูรณ์ วิสารทสกุล; Weeraboon Wisartsakul (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ (คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน) พ.ศ. 2558-2560 กำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานผ่าน 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ 1) การเสริมศักยภาพแกนนำและการสร้างพลังเครือข่ายผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ 2) การพัฒนาองค์ความรู้และรูปแบบการดำเนินงานที่หลากหลายสอดคล้องกับบริบท 3) การส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ สถาบันและองค์กรในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ 4) การสื่อสารสังคมเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายและการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน และ 5) การผลักดันและขับเคลื่อนนโยบาย ในการประเมินผลครั้งนี้ ...
    • type-icon

      พัฒนาต้นเเบบการป้องกัน คุ้มครอง เฝ้าระวังการทอดทิ้งเเละทารุณกรรมผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชมรมผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน 

      เดชา สังขวรรณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      “การพัฒนาต้นแบบการป้องกัน คุ้มครอง เฝ้าระวังการทอดทิ้งและทารุณกรรมผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชมรมผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน” เป็นการทดลองเชิงปฏิบัติการโดยมีชมรมผู้สูงอายุ เป็นแกนนำ เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและสาเหตุการทอดทิ้งและทารุณกรรมผู้สูงอายุในชุมชนมาตรการและแนวทางในการป้องกัน คุ้มครอง และเฝ้าระวังผู้สูงอายุจากการถูกทอดทิ้ง และการทารุณกรรมในสังคมไทยและต่างประเทศ และจัดทำเป็นคู่มือ ดำเนินการใน 8 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนไทยเทยิ่น กรุงเทพมหานคร ชุมชนเทศบาลตำบลหนองลาน จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนเทศบาลเมือง หนองปรือ จังหวัดชลบุรี ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา ...
    • type-icon

      พัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

      นิฤมน รัตนะรัต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการวิจัย “การพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่ายในกรุงเทพมหานคร และ 2. เพื่อนำเสนอแนวทางเชิงนโยบายให้กับทางภาครัฐ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ระบบที่ใช้ดูแลมี 3 ระบบ ได้แก่ ระบบนำเข้า ระบบรักษา และระบบจำหน่ายหรือส่งต่อ แต่อย่างไรก็ตามพบว่า ได้เกิดปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการดำเนินการของหน่วยงานหลายประการซึ่งมีผลทำให้ระบบการดูแลช่วยเหลือคนไร้บ้านขาดประสิทธิภาพ ทางผู้วิจัยจึงได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบขึ้น ...