Now showing items 1-4 of 4

    • type-icon

      การประเมินความต้องการหลังเกิดสาธารณภัย (Post - Disaster Needs Assessment :PDNA) เพื่อจัดทำกรอบการฟื้นฟูหลังเกิดสาธารณภัย (Post Disaster Recovery Framework :PDRF) 

      ณัฐพล แสงอรุณ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-26)

      โครงการศึกษาวิจัยการประเมินความต้องการหลังเกิดสาธารณภัย (Post Disaster Needs Assessment: PDNA) เพื่อจัดทำกรอบการฟื้นฟูหลังเกิดสาธารณภัย (Post Disaster Recovery Framework: PDRF) มี วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการประเมินความต้องการหลังเกิดสาธารณภัย และกรอบการฟื้นฟูหลังเกิดสาธารณภัยให้แก่บุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและหน่วยงานภาคี เครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้สามารถประเมินความต้องการหลังเกิดสาธารณภัยตามแบบฟอร์มมาตรฐานสากล เพื่อจัดทำฐานข้อมูลการประเมินความต้องการหลังเกิดสาธารณภัย (PDNA baseline data) เพื่อให้ประเทศมี ...
    • type-icon

      บริหารจัดการความเสี่ยง ด้านอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน และการรับมือกับภัยพิบัติในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้มอบหมายให้สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการเกิดอุทกภัย การจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยของชุมชน และวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัย เป็นการดำเนินการในระยะที่ 1 เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ สามารถลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยได้ต่อไป สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปร ...
    • type-icon

      ประเมินผลการขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 

      ทวิดา กมลเวชช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      ภายหลังการประกาศใช้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ของรัฐบาลประเทศไทยได้เผชิญกับความท้าทายใหม่ ในการบริหารจัดการสาธารณภัย ที่มีความซับซ้อนของปัญหาหรือภัยมากขึ้น ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ประเทศไทยเผชิญกับภัยแล้งรุนแรง จากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - 2559 และยังก่อให้เกิดปัญหาไฟไหม้ป่าในหลายจังหวัดในปี พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ประเทศไทยเผชิญกับอุทกภัยกว่า 50 จังหวัด ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า แนวโน้มสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในรอบทศวรรษที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะมีความถี่เพิ่มสูงขึ้นมีระดับควา ...
    • type-icon

      ศึกษาและสำรวจทรัพยากรเพื่อการเตือนภัย 

      ชัยวัฒน์ อุตตมากร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้แก่ ฝนตกหนัก วาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว และสึนามิ เป็นต้น ซึ่งสร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสาธารณะอย่างมากมายรวมทั้งความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมซึ่งรัฐบาลต้องใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู และบูรณะทรัพย์สินที่เสียหาย เป็นจำนวนมาก ภัยธรรมชาติดังกล่าว ...