Now showing items 1-20 of 24

    • type-icon

      กิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาศูนย์ประสานงาน (Command Center) และนำร่องการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ นอร์ทเทิร์นไทยแลนด์ฟู๊ดวัลเลย์ ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-21)

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา พื้นที่ดำเนินการ คือ จังหวัดในกลุ่มพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ...
    • type-icon

      ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      ในการสำรวจและวิเคราะห์สภาพทางทั้งชนิดผิวลาดยางและผิวคอนกรีตจำเป็นต้องใช้ข้อมูลความเสียหายของผิวทางเป็นข้อมูลตั้งต้นในการวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนงานบำรุงทางที่เหมาะสมและมีความถูกต้อง โดยการสำรวจจะมีการวางแผนงานให้เหมาะสม และเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้ที่ปรึกษาได้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการจัดเก็บและสำรวจข้อมูลบนถนนผิวลาดยางและผิวคอนกรีตและเลือกใช้ยานพาหนะที่ติดตั้งอุปกรณ์เลเซอร์และกล้องถ่ายภาพที่มีความคมชัด ทำการบันทึกข้อมูลในสนามพร้อมทำการประมวลผลข้อมูลความเสียหายชนิดต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลาง ...
    • type-icon

      ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2563 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-31)

      กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทาง ในความรับผิดชอบประมาณ 74,786.100 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 73,165.825 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 66,711.865 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,406.886 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 47.074 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,614.275 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563) ที่ผ่านมากรมทางหลวง ได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทางโดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง TPMS Budgeting Module เป็นโปรแกรมที่ใช้วิ ...
    • type-icon

      ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2564 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-01-19)

      กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบประมาณ 76,200.640 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 74,740.721 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 67,921.906 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,777.792 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 41.023 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,450.684 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564) ข้อมูลระยะทางดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีและเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงเพิ่มระยะทาง เนื่องมาจากสาเหตุของการพัฒนาประสิทธิภาพโดยก ...
    • type-icon

      จัดทำรายงานโครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงจากการปรับปรุงปากแม่น้ำโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระยะที่ 1 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      โครงการปรับปรุงปากแม่น้ำโก-ลก เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2539 เพื่อก่อสร้างคันกันคลื่นป้องกันทรายทับถมปากแม่น้ำ เพิ่มเสถียรภาพด้านพรมแดน บรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำโก-ลก รักษาร่องน้ำของแม่น้ำโก-ลก สำหรับเดินเรือ ส่งเสริมการประมงและเพิ่มรายได้ของประชาชนจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการรวมงานก่อสร้างรอกันคลื่นเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทยและงานป้องกันอาคารหลักเล็ง B ( Transit Point B) ตำแหน่งอ้างอิงกำหนดพรมแดน ต่อมามีการเสริมรอป้องกันชายฝั่งประเทศไทยเพิ่มเติม และมีคณะทำงานร่วมสองประเทศเพื่อประเมินผลสำ ...
    • type-icon

      จัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 (กลุ่มที่ 2) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-27)

      กรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพานบนโครงข่ายกว่า 44,000กิโลเมตร ด้วยเครื่องมือสำรวจและจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System, MMS) โดยใช้เทคโนโลยี Light Detection and Ranging (LiDAR) ในงานสำรวจ บทความฉบับนี้ได้พัฒนาต้นแบบระบบวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มาวิเคราะห์ข้อมูลทรัพย์สินงานทางโดยอัตโนมัติ เพื่อนำข้อมูลทรัพย์สินที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ไปใช้ในงานระบบบริหารงานบำรุงรักษาทาง และสะพาน ส่งผลให้การวางแผนงาน และการบริหารจัดการเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เหมาะสม และรวดเร็ว ทนต่อเหตการณ์ ...
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม กลุ่มที่ 8 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำแผนแม่บทยกระดับมาตรฐานชั้นทางของกรมทางหลวงชนบท และปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากรมทางหลวงชนบทและแผนปฏิบัติราชการของกรมทางหลวงชนบทพ.ศ. 2561-2579 โดยการจัดทำแผนแม่บทยกระดับมาตรฐานชั้นทางของกรมทางหลวงชนบท มี่ขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1) การวิเคราะห์ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของสายทาง 2) การวิเคราะห์ความพร้อมของสายทางในการยกระดับมาตรฐานชั้นทาง 3) การจัดกลุ่มสายทาง 4) การกำหนดชั้นทางที่เหมาะสม 5) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐ์ศาสตร์ 6) การจัดทำแผนแม่บทยกระดับมาตรฐานชั้นทาง โดยมีผลการศึกษาดังนี้ แผนแม่บทการ ...
    • Thumbnail

      ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 -2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-28)

      ตามไฟล์แนบ
    • Thumbnail

      ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดสำหรับอุตสาหกรรมรายสาขา (ภายใต้ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม (บูรณาการ)) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • type-icon

      บริหารจัดการความเสี่ยง ด้านอุทกภัยโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน และการรับมือกับภัยพิบัติในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      ตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้มอบหมายให้สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการเกิดอุทกภัย การจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยของชุมชน และวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัย เป็นการดำเนินการในระยะที่ 1 เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอุทกภัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ สามารถลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุทกภัยได้ต่อไป สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปร ...
    • type-icon

      บูรณาการข้อมูลภูมิสารสนเทศทางหลวงชนบท (Integration Geo Informatics) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-12-20)

      ปัจจุบันกรมทางหลวงชนบทมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เช่น เทคโนโลยี IoT มาใช้เพื่อตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์บนสายทางเทคโนโลยี การสำรวจสมัยใหม่โดยใช้กล้อง CCTV มาใช้ในการตรวจสอบสภาพการจราจร หรือเทคโนโลยีด้านฐานข้อมูลเชิงแผนที่ (GIS) มาใช้ในการบริหารจัดการตำแหน่งสายทาง เป็นต้น โดยการบูรณาการข้อมูลร่วมกันภายในหน่วยงาน ทั้งจากฐานข้อมูลและอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น กล้อง CCTV อุปกรณ์ ตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าส่องสว่าง จะมีส่วนช่วยให้การกำกับ ติดตามผลสัมฤธิ์การดำเนินงานของหน่วยงานให้ ...
    • type-icon

      พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2561 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-10)

      วัตถุประสงค์ของโครงการ : 1. เพื่อให้การปฏิบัติงานของกองทุนฯ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทางการดำเนินงานระยะยาวที่ชัดเจน สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาพลังงานของประเทศ การอนุรักษ์พลังงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการของกองทุนฯ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับทิศทางของยุทธศาสตร์อนุรักษ์พลังงาน ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฯ และเกณฑ์การชี้วัดของกรมบัญชีกลาง 3. เพื่ออำนวยการให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น ร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนฯ และดำเนินการในแผนต่าง ...
    • type-icon

      ศึกษา ออกแบบ และจัดทำขอบเขตของงานการจัดตั้งระบบชำระดุลส่วนกลาง (Central Clearing House CCH) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-15)

      การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม มีหน้าที่ในการช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาจราจร โดยดำเนินการก่อสร้างทางพิเศษ บำรุงรักษาทางพิเศษ จัดดำเนินการหรือดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วในการจราจรและการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้ภารกิจหน้าที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กทพ. จึงนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยสนับสนุนซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการสนับสนุนงานในทุกด้าน ทั้งในด้านการบริการประชาชน ด้านการบริหารจัดการและควบคุมทางพิเศษ ...
    • Thumbnail
    • type-icon

      ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทย (ช่วงส่วนต่อขยาย) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-01-30)

      โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทย (ช่วงส่วนต่อขยาย) มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการพัฒนาสายทางเพื่อรองรับและสนับสนุนการท่องเที่ยวในบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย และเพื่อกระจายรายได้และก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น โดยกรมทางหลวงชนบท พื้นที่ศึกษาของโครงการครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง และถนนส่วนท้องถิ่น การศึกษาดังกล่าว ...
    • type-icon

      ศึกษารูปแบบการบูรณาการข้อมูลสถิติและฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ 

      อุรุยา วีสกุล; Uruya Weesakul (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      โครงการศึกษารูปแบบการบูรณาการข้อมูลสถิติและฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจ สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดทำกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่มุ่งเน้นการตอบสนองที่ต้องการความรวดเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสำคัญ ให้สามารถนำผลที่ได้ไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจ หรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยการศึกษาครั้งนี้ ได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และแนวปฏิบัติที่ดีของต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งกรอบการวิเคราะห์ข้อม ...
    • type-icon

      ศึกษาและปรับปรุงระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

      การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาผิวทางพิเศษ โดยผิวทางพิเศษส่วนใหญ่เป็นแอสฟัลต์ คอนกรีตปูทับบนพื้นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กหรือปูบนสะพานเหล็ก และบางส่วนผิวทางพิเศษปูบนพื้นระดับดิน ในปี 2555 กทพ. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยได้ทำการตรวจวัดค่าดัชนีความขรุขระสากล (IRI) ค่าร่องล้อ (Wheel Truck Rutting) ค่าความฝืดของพื้นทาง (Grip Number) รวมทั้งบันทึกภาพวีดีโอของพื้นทางพิเศษที่สำรวจทั้งหมดเพื่อใช้ประเมินค ...
    • Thumbnail

      ศึกษาโครงสร้างการจัดทำหลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับคืนคะแนนความประพฤติในการขับรถ 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-26)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • type-icon

      สำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวลาดยางและผิวคอนกรีต 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ปัจจุบันกรมทางหลวงมีโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศเป็นระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 70,077.043 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) และด้วยสภาพความเสียหายของถนนในโครงข่ายของกรมทางหลวงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กรมทางหลวงจึงต้องทำการสำรวจสภาพเส้นทางในความรับผิดชอบเป็นประจำทุกปี และนำข้อมูลสำรวจสภาพทางมาจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลกลาง (Central Road Database, CRDB) และระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง (Road Net) เพื่อใช้สำหรับการสืบค้นวิเคราะห์ การให้บริการข้อมูลต่อหน่วยงานอื่น และการเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศอื่น ๆ โดยการนำเข้าข้อมูลการสำรวจที่กรมทางหลวงได้นำระบบบริหารงานบำรุงทาง ...
    • type-icon

      สำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวแอสฟัลต์ปี 2557 ส่วนที่ 2 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายสายทางทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 67,793 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นผิวทางลาดยาง 61,834 กิโลเมตร ผิวทางคอนกรีต 5,605 กิโลเมตร และผิวทางลูกรัง 354 กิโลเมตร ที่ผ่านมากรมทางหลวงได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทาง โดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง (Thailand Pavement Management System, TPMS) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์วิธีการซ่อมบำรุงทางจากสภาพความเสียหายของทางผิวแอสฟัลต์มาใช้ตั้งแต่ปี 2530 เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนบำรุงทางของสำนักงานทางหลวงและแขวงการทาง โปรแกรมดังกล่าววิเคราะ ...