Now showing items 1-13 of 13

    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนบูรณาการเพื่อช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (ระยะที่ 1) 

      ณรงค์ ใจหาญ; Narong Jaiharn (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกคือ ศึกษารูปแบบ มาตรการ กลไก หรือเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดอาญา และปัญหาอุปสรรคที่มีในประเทศไทย และพัฒนากฎหมายไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับแผนปฏิรูปการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประการที่สอง ศึกษาและพัฒนากฎหมาย รูปแบบ มาตรการ กลไก เครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กิจกรรมที่ 2 การศึกษาความเหมาะสมการตรากฎหมายรองรับกลไกขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชน 

      ณรงค์ ใจหาญ; รณกรณ์ บุญมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-04)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการคือ ประการแรก เพื่อให้การดำเนินงานของฝ่ายบริหารมีกฎหมายมารองรับมาตรการ กลไก หรือเครื่องมือต่าง ๆ ในด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ และเพื่อให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรม มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีความยั่งยืน วิธีการศึกษา (1) ศึกษาวิจัยเอกสาร ตำรา กฎหมายของไทยและต่างประเทศ 5 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สวีเดน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (2) รับฟังความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องในร่างกฎหมาย และข้อเสนอกลไกในการดำเนินงาน ในแต่ละภาค ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกิจกรรมที่ 4 การศึกษาความเหมาะสมในการตรากฎหมายรองรับกลไกการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระยะที่ 2 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-04)

      โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ สองประการ คือ ยกร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... พร้อมด้วยร่างอนุบัญญัติ โดยดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตามแนวทางของสอดคล้องตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดทำร่างกฎหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ประการที่สอง กำหนดมาตรการ กลไก หรือเครื่องมือต่าง ๆ ด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ และสามารถการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างยั่งยืน วิธีการศึกษา สัมภาษณ์ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และนำข้อเสนอแนะม ...
    • type-icon

      จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรม เพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 1 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๐๑ ความผิดเกี่ยวกับชีวิต และหมวดหมู่ ๐๓ ความผิดเกี่ยวกับเพศ ของตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ( ICCS version 1.0) ประการที่สอง หาแนวทางที่มีประสิทธิภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาหากมี ในการจัดทำหมวดอื่นที่เหลือของมาตรฐานระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา (๑) ศึกษาวิจัยเอกสาร ตำรา และแนววินิจฉัยของศาลฎีกา และข้อมูลกฎหมายทางเวปไซด์ ที่เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่อาชญากรรมตามมาตรฐา ...
    • type-icon

      จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 2 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๐๒ ความผิดเกี่ยวกับการกระทำที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายหรือเจตนาให้เกิดภัยอันตรายแก่บุคคล หมวดหมู่ ๐๔ ความผิดเกี่ยวกับความผิดต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงหรือภยันตรายต่อบุคคล และหมวดหมู่ ๐๕ ความผิดต่อทรัพย์สินแต่ไม่เกี่ยวกับความรุนแรงหรือภยันตรายต่อบุคคล และหมวดหมู่ ๐๖ การกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับยาที่กฎหมายควบคุมหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทอื่น ของตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกปร ...
    • type-icon

      จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 3 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-04)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๐๗ การกระทำเกี่ยวกับการฉ้อฉล การหลอกลวง หรือการทุจริต หมวดหมู่ ๐๘ การกระทำความผิดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อำนาจรัฐ และบทบัญญัติแห่งรัฐ หมวดหมู่ ๐๙ การกระทำความผิดต่อความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงของรัฐ และหมวดหมู่ ๑๑ การกระทำความผิดทางอาญาในลักษณะอื่นซึ่งไม่ได้จัดประเภทไว้ในหมวด ๑-๑๐ ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ( ICCS version 1.0) ประการที่สอง ...
    • type-icon

      จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 4 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-29)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ (ICCS version 1.0) ประการที่สอง หาแนวทางที่มีประสิทธิภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาหากมีในการจัดทำหมวดอื่นที่เหลือของมาตรฐานระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา (๑) ศึกษาวิจัยเอกสาร ตำรา และแนววินิจฉัยของศาลฎีกา และข้อมูลกฎหมายทางเวปไซด์ ที่เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่อาชญากรรมตามมาตรฐานระหว่างประเทศ ...
    • type-icon

      พัฒนาระบบสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบและคดีค้ามนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      รายงานวิจัยเรื่อง โครงการพัฒนาระบบการสอบสวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิขอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรก เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการดำเนินงานของพนักงานสอบสวนและพนักงานไต่สวนในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และคดีค้ามนุษย์ว่ามีความสอดคล้องกับกระบวนพิจารณาคดีในระบบไต่สวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ. 2559 และประการที่สอง ...
    • type-icon

      ร่างกฎหมายลำดับรอง (เฉพาะมาตราเร่งด่วน) 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

      โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎหมายลำดับรองเพื่ออนุวัตน์ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 จำนวน 13 มาตรา และแบบของประกาศ ระเบียบหรือข้อบัญญัติ และหลักเกณฑ์ วิธีการ จำนวน 5 มาตรา (รวม 18 มาตรา) ที่ออกตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 สามารถนำไปใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและจัดทำต้นแบบคู่มือการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 สำหรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่และประชาชนสามารถเข้าใจได้โดยง่าย ไม่ยุ่งยาก และผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติได้ รวมทั้งให้มีต้นแบบเอก ...
    • Thumbnail
    • type-icon

      ศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และยกร่างอนุบัญญัติในส่วนที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร่างกฎหมายตามมาตรา 78 และร่างประกาศกระทรวงตามมาตรา 81) 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-01-15)

      งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาแนวคิด หลักเกณฑ์เพื่อยกร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 78 และร่างประกาศกระทรวงตามมาตรา 81 ของพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 โดยมีวิธีการศึกษาวิจัยเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูล รับฟังความเห็นของผู้มีส่วนไดเสีย ผู้ทรงคุณวุฒิ และพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งในภูมิภาคและในกรุงเทพมหานคร และดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเมษายน 2563 ผลการศึกษา คณะที่ปรึกษานำแนวคิดในการอนุรักษ์ จัดการ และคุ้มครองแหลงน้ำสาธารณะในประเทศสาธารณรัฐเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีหลักเกณฑ์ใกล้เคียงกับประเทศไทยมาปรับใช้ ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการยกร่างกฎหมายขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-04)

      โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ สามประการ คือ ประการแรก เพื่อศึกษา วิเคราะห์ กฎหมายไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวกับการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลเพื่อนำมาจัดทำแนวทาง มาตรการส่งเสริม ป้องกันการเลือกปฏิบัติต่อบุคคล และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลประการที่สอง เพื่อรับฟังความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย รวมทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ...
    • Thumbnail

      แนวทางปฏิบัติงานการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วม และการดำเนินงานของศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

      ตามไฟล์แนบ