Now showing items 1-7 of 7

    • type-icon

      การพัฒนาสมบัติของต้นแบบแผ่นเส้นใยนาโนย่อยสลายได้ทางชีวภาพของวัสดุเสริมองค์ประกอบระดับนาโนจากการผสมพอลิแลคติกแอซิดและพอลิบิวทิลีนซัคซิเนต/นาโนซิงค์ออกไซด์ดัดแปรสำหรับหน้ากากป้องกันแบบใช้แล้วทิ้ง 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      อิเล็กโตรสปินนิง เป็นวิธีการขึ้นรูปแผ่นของเส้นใยโดยใช้ศักย์ไฟฟ้ากำลังสูง ทำให้ได้แผ่นของเส้นใยที่มีขนาดเส้นใยเล็กระดับนาโน ส่งผลให้การนำไปใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากพื้นที่ผิวสัมผัสของแผ่นเส้นใยมีปริมาณมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมบัติของแผ่นเส้นใยนาโนย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จากการผสมพอลิแลกติกแอซิดและพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตและดัดแปรโครงสร้างด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์หรือนาโนซิงค์ออกไซด์เจืออะลูมิเนียมอัตราส่วนแตกต่างกัน ได้แก่ร้อยละ 0.5, 1, 3 และ 5 โดยน้ำหนัก โดยทำการเตรียมแผ่นของเส้นใยด้วยวิธีอิเล็กโตร สปินนิง จากสารละลายไดคลอโรมีเทนและเอทานอล ...
    • type-icon

      การห่อหุ้มสารสกัดจากโล่ติ๊นลงในฟิล์มพอลิแลคติคแอซิดป้องกันแมลง:เชิงโครงสร้างและเชิงสภาวะจลศาสตร์ 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      น้ำมันโล่ติ๊นเป็นสารที่ได้จากผลของเมล็ดโล่ติ๊น ซึ่งนิยมนำมาใช้งานด้านเกษตรอินทรีย์และด้านการแพทย์ สำหรับงานวิจัยนี้ได้นำเสนอผลของการห่อหุ้มน้ำมันสกัดจากเมล็ดโล่ติ๊นด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพคือ พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ กัมอะราบิก เวย์โปรตีนไอโซเลท/มอลโตเดกซ์ตริน ที่อัตราส่วนของน้ำมันโล่ติ๊นต่อสารห่อหุ้มที่ 1:2 และ 1:3 โดยใช้เทคนิคสังเคราะห์ไมโครแคปซูลแบบการอบแห้งแบบพ่นฝอย และทำการศึกษาผลฟิล์มกรดพอลิแลคติกเคลือบด้วยไมโครแคปซูลเพื่อเป็นฟิล์มป้องกันแมลง จากการศึกษาผลกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าไมโครแคปซูลมีลักษณะทรงค่อนข้างกลม ผลการวิเคราะห์หมู่ฟัง ...
    • type-icon

      การเตรียมและการทดสอบฟิล์มต้านจุลินทรีย์จากพอลิโพรพิลีน/พอลิแลคติกแอซิดฐานนาโนไททาเนียมไดออกไซด์สำหรับต้นแบบถุงระบายปัสสาวะ 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      งานวิจัยนี้ประกอบด้วยสองส่วนซึ่งประกอบด้วยการศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างพอลิโพรพิลีนกับพอลิแลคติกแอซิดต่อสมบัติของฟิล์มพอลิเมอร์ผสม และการศึกษาอิทธิพลของปริมาณ นาโนไททาเนียมไดออกไซด์ที่มีต่อสมบัติของฟิล์มนาโนคอมพอสิท การเตรียมฟิล์มพอลิเมอร์ผสมกับฟิล์มนาโนคอมพอสิทถูกขึ้นรูปผ่านกระบวนการผสมแบบหลอมเหลวและการอัดรีดขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์ม ในระบบพอลิเมอร์ผสมระหว่างพอลิโพรพิลีนกับพอลิแลคติกแอซิดมีการใช้พอลิโพรพิลีน กราฟต์มาเลอิคแอนไฮไดร์เป็นสารเพิ่มความเข้ากันได้เพื่อปรับปรุงความเข้ากันระหว่างพอลิโพรพิลีนกับพอลิแลคติกแอซิด เมื่อปริมาณของพอลิแลคติกแอซิดเพิ ...
    • type-icon

      พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ประเภทบรรจุภัณฑ์ 

      ศรุต อำมาตย์โยธิน; ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      งานวิจัยนี้ได้นำเศษผ้าฝ้ายมาสกัดเป็นไมโครเซลลูโลสเพื่อประยุกต์ใช้ในการเตรียมถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสเป็นวัสดุบรรจุสำหรับไมโครเวฟ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน (1) การสกัดไมโครเซลลูโลสจากเศษผ้าฝ้ายด้วยกรดไฮโดรคลอริก (2) การผลิตเม็ดพลาสติกคอมพอสิทของไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลสในปริมาณที่ต่างกัน คือ 5, 10 และ 20 phr ทั้งที่เติมและไม่เติมสารประสานมาเลอิคแอนไฮไดรด์กราฟต์พอลิพอพริลีน ขึ้นรูปถาดไอโซแทคติกพอลิพอพริลีนเสริมแรงด้วยไมโครเซลลูโลส ด้วยเครื่องฉีด พร้อมทั้งทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานภายใต้ตู้อบไม ...
    • type-icon

      พัฒนาสูตรคอมพาวนด์พลาสติก โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากการเกษตร 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติของถ่านกัมมันต์จากขยะชีวมวลจากข้าวจากการกระตุ้นด้วยสารละลายกรด (กรดไฮโดรคลอริก, กรดซัลฟูริก) สารละลายด่างด่าง (โซเดียมไฮดรอกไซด์, โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์) และสารละลายโลหะคลอไรด์ (ซิงค์คลอไรด์, แมกนีเซียมคลอไรด์) โดยวิธีการทดลองประกอบด้วยกระบวนการคาร์บอไนเซชันและกระบวนการกระตุ้น ซึ่งในกระบวนการกระตุ้นมีการผันแปรอุณหภูมิในช่วง 400, 500, 600 และ 700 องศาเซลเซียส อัตราส่วนของสารละลายในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 ซึ่งพบว่า ภาวะที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อัตราส่วนถ่านชาร์ต่อกรดซัลฟูริกเท่ากับ ...
    • type-icon

      เตรียมโฟมพอลิเมอร์เชิงประกอบจากพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตกับเส้นใยไมซีเลียมสังเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้เป็นถ้วยและฝาปิดสำหรับเครื่องดื่มร้อน 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมและการวิเคราะห์วัสดุเชิงประกอบมัลติวอลล์คาร์บอนนาโนทิวบ์/ไททาเนียมไดออกไซด์ โดยการสังเคราะห์วัสดุเชิงประกอบด้วยวิธีการโซลเจล (sol-gel) เพื่อนำไปปรับปรุงขั้วไฟฟ้าใช้งานที่ขึ้นรูปด้วยวิธีพิมพ์สกรีน ซึ่งการสังเคราะห์ใช้อัตราส่วนของมัลติวอลล์คาร์บอนนาโนทิวบ์/ไททาเนียมไดออกไซด์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ 1:1 1:2 และ 2:1 จากนั้นเผาที่อุณหภูมิ 450 500 550 600 650 องศาเซลเซียส และศึกษาการนำไฟฟ้าด้วยวิธีไซคลิกโวแทมเมตรี โดยจะเปรียบเทียบขั้วไฟฟ้าที่ปรับปรุงด้วยวัสดุเชิงประกอบกับขั้วไฟฟ้าเปล่า และขั้วไฟฟ้าที่ปรับปรุงด้ ...
    • type-icon

      ไบโอเซ็นเซอร์ตรวจคัดกรองโรคเก๊าท์แบบพกพาสำหรับระบบสาธารณสุขไทย 

      ชิราวุฒิ เพชรเย็น (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเตรียมโฟมพอลิเมอร์เชิงประกอบจากพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิบิวทิลีนซัคซิเนตเสริมแรงด้วยเส้นใยเซลลูโลส โฟมพอลิเมอร์เชิงประกอบนี้เตรียมด้วยกระบวนการหลอมผสมด้วยเครื่องอัดรีดแบบเกลียวหนอนคู่ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสมบัติเชิงกายภาพ สมบัติเชิงเคมี สมบัติเชิงความร้อน และสมบัติเชิงกล จากผลการทดสอบการไหลของพอลิเมอร์ พบว่าการเติมเส้นใยเซลลูโลส พบว่าการไหลของพอลิ-เมอร์ผสมเพิ่มขึ้นจากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่าการเติมเส้นใยเซลลูโลสในพอลิแลคติกแอซิดผสมพอลิ-บิวทิลีนซัคซิเนต ทำให้ค่าความทนต่อแรงดึง ค่ามอดูลัส และร้อยละการยืด ณ จุดขาดเพิ่มขึ้น ...