Now showing items 41-60 of 449

    • Thumbnail

      การปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ (Strategic Position) และการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศของกรุงเทพมหานครในบริบทเมืองมหานครแห่งเอเชีย ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) 

      จิตติภัทร พูนขำ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-02-08)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • type-icon

      การพัฒนาย่านนวัตกรรมพัทยา (Pattaya Innovation District Development) 

      นิจ ตันติศิรินทร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-01-21)

      ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลและเมืองพัทยา รวมถึงภาคธุรกิจและภาคประชาชนในท้องถิ่นต่างมีความเห็นร่วมกันในการพัฒนาเมืองพัทยา โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ จากการเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวสีเทา ให้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่ดี ในระดับภูมิภาคและระดับโลก สำหรับนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งชาวไทยและต่างชาติ นอกจากนี้การพัฒนาให้เมืองพัทยาเป็นเมืองที่สามารถดึงดูดการลงทุน เป็นที่ตั้งของธุรกิจที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความเป็นย่านนวัตกรรม เพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร ...
    • type-icon

      การพัฒนาสิทธิประโยชน์ประกันการจ้างงาน เพื่อพัฒนากำลังแรงงานอย่างยั่งยืน 

      ธีระ สินเดชารักษ์ (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-12-23)

      สถานการณ์การจ้างงานในประเทศไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงอัตราการว่างงานของแรงงานในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี การสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับแรงงานไทยจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาสู่การศึกษาเพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์ประกันการจ้างงานเพื่อการพัฒนาแรงงานอย่างยั่งยืนนี้มีวัตถุประสงค์หลักสำคัญ คือ 1) เพื่อพัฒนา/ขยายสิทธิประโยชน์การว่างงานแต่เดิมที่มีให้ครอบคลุมการประกันการจ้างงานด้วย 2) เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่เป็นทางเลือก ทั้งในการกำหนดแหล่งที่มา รูปแบบการจ่ายเงินสมทบ ...
    • type-icon

      การพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย : เฟสที่ 2 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง Computer Based 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อความชุดทดสอบในรูปแบบแอปพลิเคชันบนแท็บเลตเสร็จสิ้น โดยนำแอปพลเคชันที่พัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัครกลุ่มปกติจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 60 ราย และกลุ่มเสี่ยงจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีก 50 ราย (ภายใต้เอกสารรับรองโครงการวิจัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หมายเลขที่ 448/61) ข้อมูลเสียงพูดที่เก็บรวบรวมจากอาสาสมัครถูกนำมาวิเคราะห์ โดยการสลัดลักษณะเด่น 988 ลักษณะเด่นจากเสียงพูดโดยใช้โปรแกรม openSMILE และสร้างแบบจำลองโดยใชhโปรแกรม Weka โดยใช้วิธีการตรวจสอบไขว้ 5 ส่วน พบว่าสำหรับการว ...
    • type-icon

      การพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ตามบทบัญญัติมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 

      สุปรียา แก้วละเอียด (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-13)

      มาตรา 144 ของรัฐธรรมนญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแปรญัตติเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการ ในร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย และห้ามมิให้มีการเสนอการแปรญัตติหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการวิสามัญที่พิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งได้กำหนดมาตรการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติ และมาตรการในการเยียวยาความเสียหายแก่รัฐไว้ด้วย โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาวิน ...
    • type-icon

      การยกระดับประกันสังคมสู่ระบบประกันสังคมถ้วนหน้า 

      ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-27)

      การขยายตัวของแรงงานอิสระสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง ซึ่งแม้จะทำให้เกิดการสะสมทุนของกลุ่มทุนง่ายขึ้น และไวขึ้นแต่ก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ รายงานวิจัยฉบับนี้ได้ทำการศึกษาข้อเสนอการยกระดับประกันสังคมสำหรับกลุ่มแรงงานอิสระภาคสมัครใจ หรือมาตรา 40 ให้เป็นรูปแบบประกันสังคมแบบถ้วนหน้า ตามข้อเสนอของเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม We Fair โดยมีหัวใจหลักคือ เป็นระบบถ้วนหน้า ไม่แบ่งกลุ่มอาชีพ ไม่ตัดสิทธิสวัสดิการจากประกันสังคมมาตราอื่น หรือราชการ ไม่ได้เป็นระบบสมัครใจ โดยรัฐเป็นผู้อุดหนุนส่วนการสมทบ ร้อยละ 90 ของการสมทบโด ...
    • type-icon

      การยกระดับผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดโลก 

      มานิต สาธิตสมิตพงษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-04-28)

      โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในด้านการตลาดให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถจำหน่ายสินค้า ทดสอบตลาด และสร้างการรับรู้ในตราสินค้าของสมาชิกคลัสเตอร์ภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยดำเนินการจัดอบรมออนไลน์ ในหัวข้อ “การตลาดออนไลน์ในยุค New Normal” เพื่อยกระดับการพัฒนาองค์ความรู้ การคิดเชิงกลยุทธ์ การตลาด และการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โครงการดังกล่าวดำเนินการจัดอบรมออนไลน์ให้กับสมาชิกคลัสเตอร์ภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กลุ่มเครื่องสำอาง ธุรกิจความงามและสุขภาพ ...
    • type-icon

      การรณรงค์เผยแพร่คุณธรรม จริยธรรม และการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 

      สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-05)

      โครงการรณรงค์เผยแพร่คุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ หรือโครงการ จำขึ้นใจ เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักงาน ก.พ. จัดทำขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการ โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีทางด้านสื่อสารมวลชน เป็นกรอบของการทำงาน อันประกอบด้วย 1. ทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม (KAP) ที่อธิบายว่าเมื่อผู้รับสารได้รับข้อมูลข่าวสารจะก่อให้เกิดความรู้ เมื่อเกิดความรู้จะส่งผลให้เกิดทัศนคติ จนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการลงมือปฏิบัติตามที่ผู้ส่งสารคาดหวังไว้ 2. แนวคิดการรณรงค์ (Campaign) ...
    • type-icon

      การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระบบธนาคารหน่วยกิตและกลไกขับเคลื่อน ความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษากับภาคแรงงาน/ภาคประกอบการ 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-06)

      พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับ ที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 8 กำหนดให้การจัดการศึกษายึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน โดยให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมาตรา 15 ระบุให้การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยสถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือทั้ง 3 รูปแบบก็ได้ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสะสมผลการเรียนไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกัน หรือต่างรูปแบบได้ ...
    • Thumbnail

      การวิเคราะห์ผลลัพธ์และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return On Investment) โครงการการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริ ในพื้นที่ที่มีปัญหาการค้าและการลำเลียงยาเสพติด บริเวณชายแดนภาคเหนือ 

      เศรษฐภูมิ บัวทอง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-11-03)

      รายละเอียดตามไฟล์แนบ
    • type-icon

      การวิเคราะห์สถานการณ์การคลังของประเทศและข้อเสนอแนะการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 

      ภาวิน ศิริประภานุกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-26)

      สามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของสถาบันพระปกเกล้า http://kpi.ac.th/knorledge/research/data/936
    • Thumbnail

      การศึกษาการยกระดับการมีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 

      วสันต์ เหลืองประภัสร์ (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-01-13)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • type-icon

      การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำอ้อยระหว่างการเก็บรักษา 

      สุธีรา วัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-03-16)

      การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำอ้อยระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า - ผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยแบบ A เมื่อเก็บนานขึ้นแนวโน้มความชอบจึงมีการลดลง มีคะแนนเฉลี่ยความชอบเท่ากับ 4.8 คือไม่ชอบผลิตภัณฑ์เพียงเล็กน้อย เนื่องจากสีเข้มขึ้น เกิดการแยกชั้น มีตะกอน และมีเส้นใย และเนื้อสัมผัสภายในปากหรือความมีบอดี้ที่หนักขึ้น และมีร้อยละของการยอมรับผลิตภัณฑ์เท่ากับ 47.1 - ส่วนผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยแบบ B เมื่อเก็บนานขึ้นแนวโน้มความชอบจึงมีการลดลง มีคะแนนเฉลี่ยความชอบเท่ากับ 5.7 คือชอบผลิตภัณฑ์เพียงเล็กน้อย ผู้ทดสอบให้ความคิดเห็นว่า ...
    • type-icon

      การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

      ภุชงค์ เสนานุช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-10-07)

      ผู้สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลงานวิจัยได้ที่ http://kpi.ac.th/knowledge/research/data/1191
    • type-icon

      การศึกษาผลกระทบของแรงลมต่อผู้ใช้และผู้สัญจรรอบอาคารโครงการ Park Silom 

      วิโรจน์ บุญญภิญโญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-09-10)

      รายงานฉบับนี้เป็นรายงานฉบับสุดท้ายเรื่องการศึกษาผลกระทบของแรงลมต่อผู้ใช้และผู้สัญจรรอบอาคาร โครงการ Park Silom โดยการทดสอบในอุโมงค์ลม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของมนุษย์ต่อแรงลม บริเวณช่องอุโมงค์ทางเดิน โดยการทดสอบในอุโมงค์ลม 3 รูปแบบ คือ • Option01 (denote as P1xx) Tunnel walkway open as the original design • Option02 (denote as P2xx) Put sutter door with the clear head 2.5 meter height in side tunnel walkway • Option03 (denote as P3xx) Put the partition inside the tunnel walkway, โดยการพิจารณาสถานที่จุดวัด ...
    • type-icon

      การศึกษาผลการดำเนินงานการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด สู่ความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

      ระพีพรรณ คำหอม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-14)

      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ต่อผลการดำเนินงานการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และการเตรียมความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดระหว่างกรมกิจการเด็กและเยาวชนกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ระเบียบวิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed methods) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งหมด 7,852 แห่ง ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 1,135 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสนทนากลุ่มย่อย ...
    • type-icon

      การศึกษารูปแบบและกลไกการสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนที่ตอบสนองการพัฒนาประเทศ โดยวิธีเฉพาะเจาะจง 

      ศุภชัย ศรีสุชาติ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-27)

      การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบหลายฝ่ายให้เป็นไปตามข้อกำหนดของแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เริ่มจากการทบทวนบทเรียนระหว่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจัดสนทนากลุ่มโฟกัส 5 กลุ่มที่ 5 จังหวัดในประเทศไทยเพื่อแบ่งปันบทเรียนที่ได้เรียนรู้ตลอดจนร่วมกันพัฒนากรอบการทำงานร่วมกันที่เหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ชาญฉลาดในท้องถิ่นมีสาระสำคัญ 5 ประการ จากการทบทวนวรรณกรรมระหว่างประเทศ ประการแรกการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมจำเป็นต้องมีเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน ประการที่สองเป้าหมายการเรียนรู้ของแต่ละท้องถิ่น ...
    • type-icon

      การศึกษาวิจัยประสิทธิผล ปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 

      ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-27)

      การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการบังคับใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เกิดโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง เพื่อให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้เหมาะสมและทันสมัยโดยเฉพาะหลักเกณฑ์การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ โรคติดต่ออุบัติใหม่ หรือโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง โดยใช้ประสบการณ์จากการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นหลักวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ ...
    • type-icon

      การศึกษาวิเคราะห์ผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment : LPA) 

      ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-08)

      การประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment: LPA) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพภาคบังคับที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งต้องได้รับการประเมินเป็นประจำทุกปีไม่ใช่โครงการประกวดเพื่อรับรางวัล จึงทำให้ LPA เป็นการประเมินประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศที่มีความต่อเนื่อง สามารถสะท้อนจุดอ่อนในการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง อันจะทำให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดแนวทาง ...
    • type-icon

      การศึกษาเชิงนโยบายเกี่ยวกับศักยภาพของรถโดยสารไฟฟ้าโทรลลีล้อยาง กรณีศึกษาเมืองพัทยา 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      แผนการพัฒนาระบบการสัญจรในประเทศไทยนั้นที่ได้มีการดำเนินการในการกระตุ้นจากภาครัฐผ่านกรอบนโยบายระดับต่าง ๆ ทั้งความเป็นไปได้ในเชิงของเทคโนโลยี จนถึงความสนใจของผู้ประกอบการและหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาและวิเคราะห์ด้านความคุ้มทุนในเชิงของนโยบายและการนำไปใช้ให้เกิดขึ้นจริงและชัดเจนในปัจจุบัน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากรอบนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนเมือง การคมนาคมขนส่ง การอนุรักษ์พลังงานสิ่งแวดล้อม และสถานการณ์การพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อความเป็นไปได้ในการใช้รถโดยสารไฟฟ้าโท ...