Browsing by Research Sector "สาขาประชากร (Population sector : PO)"
Now showing items 21-33 of 33
-
พัฒนาแอปพลิเคชั่นส่งเสริมพัฒนาการเด็กบ้านอุ่นรัก ของ บริษัท แอคทิวิที วิลเลจ จำกัด
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)
ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก “บ้านอุ่นรัก” เป็นศูนย์กระตุ้นพัฒนาการสำหรับเด็กออทิสติกเพื่อให้เด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้จดทะเบียนธุรกิจในนาม บริษัท แอคทิวิทีวิลเลจ จำกัด ตั้งแต่ปี 2559 โดยที่ผ่านมาบ้านอุ่นรักได้มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้บริษัท ซัมซุงได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น LOOK AT ME สำหรับการฝึกพัฒนาการสำหรับเด็กโดยเฉพาะแต่จากการค้นหาข้อมูลในประเทศไทยนั้นยังไม่มีการพัฒนาโปรแกรม หรือ แอปพลิเคชั่นในรูปแบบนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นด้วยประสบการณ์ให้บริการและการสอ ... -
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคการหลอมรวมเทคโนโลยี
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)
โครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) สำนักงาน กสทช. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 เพื่อนำไปสู่การกำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสให้สามารถเข้าถึง รู้เท่าทัน และใช้ประโยชน์จากสื่อใหม่ ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยี คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษา ระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 - พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ... -
รายงานสถานการณ์ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยในระดับเมืองและชนบท : รายงานฉบับสมบูรณ์ เล่มที่ 1
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2010)
Green and Happiness Society Model is designated by Office of the National Economic and Social Development Board to be state of the nation and to be the direction of national strategic development. In this report, the current condition of well-being and common happiness of Thai society in both of urban and rural areas is considered. Key indicators which are used for measuring the mentioned condition comprise of significant factors, i.e. health, employment, income, housing, and social security, and other relevant factors, e.g. democracy and good ... -
ศึกษาการคาดประมาณความต้องการที่อยู่อาศัยของประเทศไทย ปี 2560 - 2580
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
การศึกษานี้ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องพัฒนาแบบจำลองและแนวคิดการศึกษาการคาดประมาณความต้องการที่อยู่อาศัยในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2580 ทั้งในระดับภาพรวมของประเทศ และจำแนกตามเขตการปกครองระดับจังหวัด โดยจำแนกความต้องการที่อยู่อาศัยตามระดับรายได้ของครัวเรือน เพื่อนำไปปรับใช้กำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2580) การศึกษานี้ได้พัฒนาจากแบบจำลองการศึกษาที่ผ่านมา โดยพัฒนาจากปัจจัยและวิธีการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างรอบคอบและรอบด้าน ... -
ศึกษาวิจัยที่อยู่อาศัยประเภทเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
ผู้มีรายได้น้อยมีความต้องการที่อยู่อาศัยแต่มีข้อจำกัดด้านกำลังซื้อ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย ทางออกสำคัญประการหนึ่งคือ ที่อยู่อาศัยประเภทเช่า ที่ตอบสนองผู้มีรายได้น้อยทั้งที่เป็นแรงงานย้ายถิ่น หรือผู้ที่ประสงค์จะเช่าอยู่อาศัยด้วยเหตุผลแตกต่างกัน โครงการที่อยู่อาศัยประเภทเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย เป็นโครงการที่การเคหะแห่งชาติ สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย เพื่อตอบโจทย์ของประเทศในด้านที่อยู่อาศัยประเภทเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย โครงการนี้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม เช่น สภาพความเป็นจริง ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทั้งด้านกา ... -
ศึกษาวิจัยมาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ รวมถึงศึกษามาตรการกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุที่เหมาะสมในสังคมไทย และแนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมกับสังคมไทยในการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการเพื่อช่วยป้องกันและลดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ โดยดำเนินการ ... -
ศึกษาวิจัยแนวทางการวางแผนการศึกษาและการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศอาเซียน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)
โครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์สถานการณ์แนวโน้ม โอกาสและผลกระทบของการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนต่อประเทศไทย เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน และเปรียบเทียบกับประเทศไทย และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการวางแผนการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยโครงการวิจัยนี้ เน้นการวิจัยเอกสาร ซึ่งประกอบด้วยงานวิจัย หนังสือ บทความ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านอาเซียนและประเทศส ... -
ศึกษาแผนแม่บทผังวิสัยทัศน์ย่านการเรียนรู้ด้านคนพิการในพื้นที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-04-26)
จากข้อมูลทางสถิติของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ด้านการสำรวจจำนวนคนพิการในประเทศไทย ปี 2562 พบว่า มีจำนวนคนพิการทั้งสิ้น จำนวน 1,995,767 คน คิดเป็นร้อยละ 3.01 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในแต่ละปีจำนวนคนพิการได้เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่กลุ่มคนพิการยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ การเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทำให้เกิดความจำเป็นอย่างยิ่งต่อขับเคลื่อน พัฒนา และขยายผลเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ ส่งผลให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น และเกิดความเท่าเทียมกับคนทุกคนในสังคม ... -
สำรวจสถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจ
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
โครงการวิจัยการสำรวจสถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจ ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันด้านการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ผ่านกิจกรรมโครงการกำลังใจฯ ใน 3 รูปแบบกิจกรรมหลัก ในมิติเชิงคุณภาพเป็นตัวหลัก และเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมของโครงการกำลังใจฯ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวกและแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังอย่างเหมาะสม ในบริบทของผู้ต้องขังที่ผ่านโครงการกำลังใจฯ 3 รูปแบบกิจกรรมหลัก อันประกอบด้วย 1. โครงการแม่และเด็กภายใต้โครงการกำลังใจในพระดำริฯ ... -
หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคกลาง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-03-23)
โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมประจำพื้นที่ภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท ชุมชน สถานการณ์ปัญหา และศักยภาพของชุมชนพื้นที่เป้าหมายในเขตภาคกลาง ตลอดจนบ่มเพาะและส่งเสริมเยาวชนและกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเชิงนวัตกรรมให้สามารถต่อยอดผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชุมชนเป้าหมาย สร้างเครือข่ายระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคมและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนานวัตกรสังคมและวิสาหกิจเริ่มต้นเพื่อสังคมสำหรับการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเป้าหมายได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการดำเนินงานผ่านกระบวนการบ่มเพาะให้คำปรึกษาและสนับสนุนการพั ... -
เสริมสร้างกลไกสามเหลี่ยมแห่งการเปลี่ยนแปลง (THE TRIANGLE OF CHANGE)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560)
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาการเสริมสร้างกลไกการเปลี่ยนแปลงและสร้างเครือข่ายการทำงานให้กับนักบริหารระดับสูง (Change Leader) นักบริหารระดับอำนวยการ (Change Agent) และกลุ่มบุคลากรรุ่นใหม่ที่พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (Change Star) ภายในกระทรวงการคลัง จากการนำเสนอของกลไกการเปลี่ยนแปลงทั้ง 3 ระดับ สะท้อนให้เห็นภาพรวมของแนวทางการสร้างการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงการคลัง ดังนี้ 1) การบูรณาการข้ามกรมทั้งในด้านกระบวนการ กฎระเบียบ นโยบาย ข้อมูล และบุคลากร 2) การพัฒนาฐานข้อมูลและการปรับปรุงการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการให้บริการที ... -
แนวทางการลดอัตราการตายและบาดเจ็บของการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)
สำหรับประเทศไทยการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งอุบัติเหตุจราจรทางถนนถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นเสนอแนะแนวทางการลดอัตราการตายและบาดเจ็บของการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน โดยทำการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทั้ง 3 ระดับ คือ 1) ระดับเมือง: รวบรวมข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากข้อมูล 3 ฐาน (จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (POLIS)) กระทรวงมหาดไทยและ ... -
โครงการนำร่องเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม (ศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม) : รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (final report)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2010)
รายงานการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาออกแบบและจัดทำข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคมให้เป็นกลไกสำคัญของงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตสำหรับการแก้ไขปัญหาสังคมไทยในภาพรวม เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ การจัดประชุมกลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลภาคสนามจากจังหวัดนำร่อง 4 จังหวัดในทุกภาค ผลที่ได้จากการศึกษานำไปออกแบบระบบ แผนยุทธศาสตร์และตัวชี้วัดงานเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม