Browsing by Research Sector "สาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)"
Now showing items 21-32 of 32
-
ศึกษาระเบียบและแนวทางปฏิบัติในการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อสนับสนุน การประเมินราคาที่ดินรายแปลง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-30)
โครงการศึกษาระเบียบและแนวทางปฏิบัติในการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อสนับสนุนการประเมินราคาที่ดินรายแปลงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ปัจจุบันและเกิดความเป็นธรรม การดำเนินโครงการฯ คณะวิจัยได้ทบทวนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องและจัดประชุมร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน เพื่อรับฟังความเห็นวิธีการดำเนินงานที่ควรปรับปรุงให้เหมาะสมและถูกต้อง โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ง ... -
ศึกษาวิจัยทิศทางการจ้างงานของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เห็นชอบให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี เพื่อใช้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกลไกประชารัฐ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ประชาชนอยู่ดีมีสุข ได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนา การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเริ่มตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรม 1.0 ที่เน้นภาคเกษตร ยุคอุตสาหกรรม 2.0 ... -
ศึกษาและสำรวจทรัพยากรเพื่อการเตือนภัย
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้แก่ ฝนตกหนัก วาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว และสึนามิ เป็นต้น ซึ่งสร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสาธารณะอย่างมากมายรวมทั้งความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมซึ่งรัฐบาลต้องใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู และบูรณะทรัพย์สินที่เสียหาย เป็นจำนวนมาก ภัยธรรมชาติดังกล่าว ... -
สำรวจภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ปีงบประมาณ 2562
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)
การสำรวจภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)ปีงบประมาณ 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) ผู้ใช้บริการทางพิเศษ (2) ภาครัฐในฐานะเจ้าของ (3) เจ้าหน้าที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (4) ผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน (5) คู่ค้า (6) ชุมชนรอบเขตทางพิเศษ และ (7) สังคม เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการประเมินผลลัพธ์ในการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และพัฒนาเป็นแนวทางในการส่งเสริมภาพลักษณ์ต่อดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ ... -
ส่งเสริมการมีรายได้และการมีงานทำของผู้สูงอายุ ตามนโยบายประชารัฐเพื่อสังคม (E6)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-30)
ประเทศไทยเป็นสังคมของผู้สูงอายุ โดยในปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยมีประชากรที่อายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไปประมาณ 10,225,322 คน คิดเป็นร้อยละ 15.82 ของประชากรทั้งหมด มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (2558) คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด) ในปี พ.ศ.2564 และในปี พ.ศ.2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด การจ้างงานผู้สูงอายุเป็นมาตรการที่สำคัญของประเทศที่เป็นสังคมผู้สูงอายุ ... -
ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพชุมชน และเศรษฐกิจชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลเมืองมาบตาพุดเป็นชุมชนอุตสาหกรรมที่ประกอบไปด้วยนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการผลิตที่ก่อมลพิษสูง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชุมชนดั้งเดิมทั้งในด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ส่งผลต่อความเสี่ยงในด้านคุณภาพชีวิตของชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ในปัจจุบันได้มีมาตรการปกป้องคุ้มครองพื้นที่ในด้านการลดผลกระทบของมลพิษจากกิจการอุตสาหกรรมโดยการประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ แต่ยังไม่มีมาตรการใดๆ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านประเพณี วัฒนธรรมของท้องถิ่น เทศบาลเมืองมาบตาพุดได้ตระหนักถึงความจำเป็นในเรื่องนี้ซึ่งเป็นหน ... -
หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคกลาง ปีงบประมาณ 2564
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-01-18)
โครงการหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ประจำพื้นที่ภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน สถานการณ์ปัญหา และศักยภาพของชุมชนพื้นที่เป้าหมายในเขตภาคกลาง บ่มเพาะและส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจเชิงนวัตกรรมให้สามารถต่อยอดผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนสร้างเครือข่ายระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคมและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาองค์กรธุรกิจและวิสาหกิจเพื่อสังคมสำหรับการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชนเป้าหมายได้อย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการดำเนินงานผ่านกระบวนการบ่มเพาะให้คำปรึกษาและสนับสนุนการพัฒนาแนวคิดผลงานนวัตกร ... -
อนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า : กำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่ากลุ่มที่ 2 (เมืองเก่าราชบุรี เมืองเก่าสุรินทร์ เมืองเก่าภูเก็ต และเมืองเก่าระนอง)
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
เมืองเก่าเป็นเมืองที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแห่งสืบต่อมาแต่กาลก่อน และมีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือมีรูปแบบผสมผสานของสถาปัตยกรรมท้องถิ่น หรือมีลักษณะของรูปแบบวิวัฒนาการทางสังคมที่สืบต่อมาของยุคต่างๆ ซึ่งมีคุณค่าในทางศิลปะ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ และยังมีการใช้สอยในลักษณะเมืองที่ยังมีชีวิตอย่างต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน เช่น กรุงรัตนโกสินทร์ เมืองเก่าเชียงใหม่ เมืองเก่าสงขลา เมืองเก่าน่าน เป็นต้น ปัจจุบันเมืองเก่าได้ถูกความเจริญและการขยายตัวของตัวเมืองอย่างไร้ทิศทาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลายกิจกรรม ทั้งภาคราชการและเอกชน ... -
เพื่อประเมินมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมจากภารกิจ ของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ประจำปี 2561
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-20)
จากการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) มีการสร้างมูลค่ารวมทั้งหมด 2,691.72 ล้านบาท ซึ่งเป็นการประมาณการจากโครงการจำนวน 30 โครงการ แบ่งตามยุทธศาสตร์ได้ดังนี้ 1. มูลค่าที่เกิดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ 1 เท่ากับ 108.24 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.01 2. มูลค่าที่เกิดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ 2 เท่ากับ 32.06 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.19 3. มูลค่าที่เกิดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ 3 เท่ากับ 2,395.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 89.01 4. มูลค่าที่เกิดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ 4 เท่ากับ 83.32 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ... -
เสริมสร้างประสิทธิภาพความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นโดยผ่านกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาท้องถิ่น
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)
Putting into practice with current budgeting system still lacks integration and connection between central ministry/department, provincial and local administration. Moreover, community organization and civil society cannot link its plan to the governmental plan explicitly. Office of The National Economic and Social Development Board, therefore, initiates the project of improving efficiency in the connection between the central, regional and local administration through the process of designing provincial and local plan. To achieve its purposes, ... -
แผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สิน ระยะที่ 2
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-02)
ด้วยกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรับปรุงแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ องค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เห็นว่าควรมีการปรับปรุงระบบแผนที่ภาษีเดิมให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งเมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยตามโครงการแล้ว จะทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินต่าง ๆ ของประชาชนที่เป็นปัจจุบันไว้ใช้สำหรับการจัดเก็บภาษี (ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีป้าย รวมทั้งค่าธรรมเนี ... -
โครงการศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรองรับการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น (ระยะที่ 1) : รายงานฉบับสมบูรณ์
(สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2008)
Purposes of the study are to evaluate efficiency and effectiveness of rural road maintenance being in charge of local administrative agencies in B.E. 2546-2549, to assess perception on authority transfer of rural roads responsibility from Department of Rural Roads to the local administrative agencies, to appraise potential of the local administrative agencies to be responsible for more new roads in B.E. 2552-2553, and to set up a guideline for strategic planning to strengthen the local agencies.