Now showing items 21-34 of 34

    • type-icon

      พัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมผ่านรถไฟรางคู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีความคาดหวังว่าจะมีการขนส่งสินค้าผ่านประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลมีโครงการที่สนับสนุนด้านการคมนาคมขนส่งหลากหลายโครงการ หนึ่งในนั้น คือ การก่อร้างรถไฟรางคู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะส่งผลต่อการลดต้นทุนการขนส่งได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การขนส่งสินค้ามีโซ่อุปทานเริ่มจากแหล่งเพาะปลูกไปยังโรงงานแปรรูปส่งต่อไปยังผู้บริโภค ซึ่งการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิต มักใช้เส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มักไม่มีการออกแบบเพื่อรองรับการบรรทุกหนักส่งผลต่อการเสื่อ ...
    • type-icon

      พัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพาน ระยะที่ 1 

      กฤดายุทธ์ ชมพูมิ่ง; สายันต์ ศิริมนตรี; บุรฉัตร ฉัตรวีระ; นรินทร์ วัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ในปัจจุบันโครงสร้างสะพานขนาดใหญ่หลายแห่งได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้สภาพการใช้งานของโครงสร้างมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากสภาวะหรือเงื่อนไขที่พิจารณาในการออกแบบและก่อสร้างสะพาน นอกจากนี้สะพานยังเกิดการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้นและมีความชำรุดเสียหาย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการใช้งาน (Serviceability) และความมั่นคงแข็งแรง (Strength) ตลอดจนอายุการใช้งานหรือความทนทานของสะพาน (Durability) รวมถึงความปลอดภัยและความพอใจของผู้ใช้สะพาน (Public Safety and Comfort) จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์คว ...
    • type-icon

      พัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพาน ระยะที่ 2 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ในปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทหลายแห่งได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและรองรับปริมาณการจราจรและน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จึงทำให้โครงสร้างสะพานเกิดการเสื่อมสภาพและมีความชำรุดเสียหาย การตรวจสอบและประเมินความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพานเหล่านี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายและความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างในสภาพปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบทซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาสะพานจึงได้ริเริ่มและดำเนินโครงการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบ ...
    • type-icon

      พัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพาน ระยะที่ 3 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      ในปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทหลายแห่งได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและรองรับปริมาณการจราจรและน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จึงทำให้โครงสร้างสะพานเกิดการเสื่อมสภาพและมีความชำรุดเสียหาย การตรวจสอบและประเมินความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพานเหล่านี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายและความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างในสภาพปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบทซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาสะพานจึงได้ริเริ่มและดำเนินโครงการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบต ...
    • type-icon

      ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทย (ช่วงส่วนต่อขยาย) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-01-30)

      โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทย (ช่วงส่วนต่อขยาย) มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการพัฒนาสายทางเพื่อรองรับและสนับสนุนการท่องเที่ยวในบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย และเพื่อกระจายรายได้และก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น โดยกรมทางหลวงชนบท พื้นที่ศึกษาของโครงการครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท กรมทางหลวง และถนนส่วนท้องถิ่น การศึกษาดังกล่าว ...
    • type-icon

      ศึกษารูปแบบและความเหมาะสมในการใช้ระบบตรวจสอบสภาพจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจรบนทางหลวงชนบทในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานของกรมทางหลวงชนบท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่พบว่า มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจนับปริมาณจราจรและระบบการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานดังกล่าว งานศึกษานี้ยังพบว่า เทคโนโลยีตรวจนับปริมาณจราจร Microwave radar หรือ Video image processing และระบบการสื่อสารแบบมีสาย มีความเหมาะสมกับโครงข่ายถนนและสะพานในพื้นที่ศึกษานี้นอกจากนี้กรมทางหลวงยังควรพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์เฝ้ามองการจราจร ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการบูรณะสะพานกรุงเทพ 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-01-16)

      สะพานกรุงเทพเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2500 มีการใช้งานที่ยาวนานอย่างต่อเนื่องกว่า 60 ปี เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างเขตบางคอแหลม (ฝั่งพระนคร) กับเขตธนบุรี (ฝั่งธนบุรี) มีลักษณะเป็นสะพานโครงถักเหล็กจำนวน 5 ช่วง โดยมีช่วงกึ่งกลางสะพานที่สามารถเปิด-ปิดได้เพื่อให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่าน ปัจจุบันโครงสร้างสะพานมีความชำรุดเสียหายและเสื่อมสภาพไปมาก ส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน กรมทางหลวงชนบทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายของสะพาน การเสื่อมสภาพของ ...
    • type-icon

      ศึกษาแนวทางการพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคลกรมทางหลวงชนบท 

      พรพิมล จงไพศาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และยุทธศาสตร์ตามกรอบนโยบายของรัฐบาลภายใต้แนวคิด “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ส่งผลให้กรมทางหลวงชนบทต้องมีการปรับบทบาทและภารกิจองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนั้น กรมฯ ยังมีอัตรากำลังบุคลากรไม่สอดคล้องกับปริมาณงานจำนวนมาก ทำให้การปฏิบัติงานไม่อาจตอบสนองต่อการให้บริการงานทางของประเทศ ส่งผลให้งานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย กรมทางหลวงชนบท โดยกองแผนงาน จึงได้มีการดำเนินโครงการจัดทำแผนอัตรากำลังของบุคลากรกรมทางหลวงชนบท เพื่อประเมินกำลังคนที่คาดว่าจะต้องการในอนาคตกับกำลังคนที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งได้มีการพัฒ ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...
    • type-icon

      ศึกษาแผนพัฒนาสายทางเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าและบริการผ่านรถไฟทางคู่สายลพบุรี-ปากน้ำโพ และสายนครปฐม-หัวหิน 

      วีริศ อัมระปาล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562)

      ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขนส่งหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) เพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนในการขนส่ง ซึ่งหนึ่งในโครงการที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่สายลพบุรี – ปากน้ำโพ และ สายนครปฐม – หัวหิน อย่างไรก็ตาม พบว่าความสามารถในการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างแหล่งเพาะปลูกสินค้า แหล่งกองเก็บ จุดขนถ่ายสินค้า และสถานีรถไฟ รวมไปถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเส้นทางของกรมทางหลวงชนบท ที่มีศักยภาพรองรับการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ...
    • type-icon

      เก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (กลุ่มที่ 2) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      การจัดเก็บข้อมูลทรัพย์สินงานทางและสะพานเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านงานทาง การก่อสร้าง และงานบำรุงรักษาทางภายในความรับผิดชอบของหลวงชนบท เพื่อให้มีโครงข่ายทางหลวงชนบทที่สมบูรณ์ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการเดินทาง โดยโครงการนี้มีการใช้เครื่องมือสำรวจและจัดทำแผนที่แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Mapping System, MMS) ชนิด Image Processing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุด ส่งผลให้สามารถจัดทำข้อมูลเชิงภาพ (Image Data) และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Data Creation) ที่มีความละเอียดถูกต้อง และรวดเร็ว ...
    • type-icon

      แนวทางการบูรณะโครงสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-05)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาสำรวจ วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการบูรณะปรับปรุงโครงสร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า โดยการดำเนินงานประกอบด้วย 1) การสำรวจความเสียหาย (Visual Inspection) ของโครงสร้างสะพาน 2) การสำรวจค่าพิกัด (Alignment) และระดับ (Profile) ของโครงสร้างสะพาน และการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างสะพาน 3) การตรวจสอบพฤติกรรมการรับน้ำหนักของโครงสร้างสะพานภายใต้น้ำหนักบรรทุกทดสอบและภายใต้การจราจรปกติ (Bridge Load Test and Behavior Measurement) 4) การวิเคราะห์พฤติกรรมและการประเมินความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพาน ...
    • type-icon

      แผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กลุ่มที่ 8 

      ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      โครงการจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม ประจำปีงบประมาณ 2562 กลุ่มที่ 8 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ในวิจัยครั้งนี้ คือการดำเนินการจัดทำแผนแม่บทของกรมทางหลวงชนบทตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนการปฏิรูปประเทศ การศึกษาดังกล่าวได้ใช้วิธีการศึกษาการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ถึงแนวทางการดำเนินการด้านต่างของกรมทางหลวงชนบทในอนาคตและแล้วนำมาจัดลำดับเรียงความสำคัญ ซึ่งผลการดำเนินการดังกล่าวสามารถสรุปความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นแผนแม่บทสนับสนุนการพัฒนาถนนผังเมือง, แผนแม่บทส่งเสริมวิชาการด้านงานทางให้แก่อ ...
    • type-icon

      แผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 

      ทัศฐา ศรีวาลัย (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-30)

      เพื่อศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ในกรณีถนนสายรองของกรมทางหลวงชนบท (Feeder Road) ให้สามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่ใหม่และแก้ไขปัญหาปริมาณจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคตของกรมทางหลวงชนบท ให้เชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่น ๆ และเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง จากการวิเคราะห์ระดับบริการของสายทางในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยแบบจำลองด้านการจราจรและขนส่งในปีอนาคตที่ พ.ศ. 2565- 2585 จำนวนทั้งสิ้น 130 สายทาง ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา 30 สายทาง จังหวัดชลบุรี 55 สายทาง ...